ชีวิตส่วนพระองค์ ของ สุลัยมานผู้เกรียงไกร

เฮอร์เรมสุลต่าน

เฮอร์เรมสุลต่าน (ร็อกเซลานา)

สุลต่านสุลัยมานทรงเสกสมรสอย่างเป็นทางการกับร็อกเซลานา ทรงหลงรักเฮอร์เรมสุลต่านอย่างถอนพระองค์ไม่ขึ้น เฮอร์เร็มสุลต่านเดิมเป็นสตรีในฮาเร็มชาวรูเธเนียน นักการทูตชาวต่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่าข่าวซุบซิบกันในราชสำนักเรียกพระองค์ว่า “รัสเซลลาซี” หรือ “ร็อกเซลานา” ซึ่งเป็นการพาดพิงไปถึงที่มาของพระองค์[48] ร็อกเซลานาเป็นลูกสาวของบาทหลวงอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ชาวยูเครน[28] ผู้ถูกจับมาเป็นทาสและในที่สุดก็ถูกขายให้แก่ฮาเร็มของสุลต่านสุลัยมาน ในที่สุดก็ได้เลื่อนฐานะขึ้นมาจนกระทั่งกลายมาเป็นพระอัครมเหสีคนที่ทรงโปรดปรานมากที่สุด และในที่สุดพระองค์ก็ทรงยกฐานะให้เป็นพระชายาตามกฎหมายซึ่งเป็นการขัดต่อประเพณีที่เคยทำกันมาก่อนหน้านั้น[28] และเป็นที่สร้างความประหลาดใจแก่ทั้งในบรรดาผู้สังเกตการณ์และประชาชน[49] นอกจากนั้นแล้วก็ยังพระราชทานพระราชานุญาตให้ร็อกเซลานามาประทับในพระราชวังร่วมกับพระองค์จนตลอดชีวิต ตามประเพณีตามปกติแล้วเมื่อรัชทายาทบรรลุนิติภาวะทั้งพระรัชทายาทและพระมารดาหรือพระชายาของสุลต่านก็จะถูกส่งไปปกครองอาณาบริเวณที่ไกล ๆ ออกไปภายในราชอาณาจักรและจะไม่ถูกเรียกตัวกลับมายังอิสตันบุลนอกจากในกรณีที่ว่าพระราชโอรสได้ขึ้นครองราชสมบัติ[50]

สุลต่านสุลัยมานพระราชนิพนธ์โดยใช้นามปากกาแก่ร็อกเซลานา:

“Throne of my lonely mihrab, my wealth, my love, my moonlight

My most sincere friend, my confidant, my very existence, my Sultan, my one and only love
The most beautiful among the beautiful…
My springtime, my merry faced love, my daytime, my sweetheart, laughing leaf…
My plants, my sweet, my rose, the one only who does not distress me in this world…
My Istanbul, my Karaman, the earth of my Anatolia
My Badakhshan, my Badhdad and Greater Khorasan
My woman of the beautiful hair, my love of the slanted brow, my love of eyes full of mischief…
I'll sing your praises always

I, lover of the tormented heart, Muhibbi of the eyes full of tears, I am happy.”[51]

อิบรอฮิม ปาชา

งานภาพพิมพ์โดยอากอสติโน เวเนซิอาโนของสุลต่านสุลัยมานมหาราช[52] ดูมงกุฏสี่ชั้นที่ทรงสั่งทำจากเวนิสซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจและเหนือมงกุฎพระสันตะปาปาสามชั้น[53] มงกุฏลักษณะนี้ใช้สำหรับสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันแต่คงมิได้ใช้สวมแต่วางไว้ข้างพระที่นั่งขณะที่ทรงรับผู้เข้าเฝ้าโดยเฉพาะราชทูต[54]ภาพเหมือนของสุลต่านสุลัยมานโดยไนการิในปลายรัชสมัยราวปี ค.ศ. 1560

ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาเป็นพระสหายของสุลต่านสุลัยมานมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ อิบราฮิมเดิมนับถือคริสต์ศาสนา และเมื่อยังเด็กได้รับการศึกษาในโรงเรียนในพระราชวังภายใต้ระบบ “Devşirme” ที่เป็นสถานศึกษาสำหรับเด็กคริสเตียนผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามให้เป็นนายทหาร เมื่ออิบราฮิมเข้ารับราชการสุลต่านสุลัยมานทรงแต่งตั้งให้เป็นนายเหยี่ยวหลวง (Falconer) และต่อมาก็ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นให้เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทม[55] ในที่สุดอิบราฮิม ปาชาได้รับเลื่อนให้เป็นมหาเสนาบดีในปี ค.ศ. 1523 และผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทุกกองทัพในที่สุด และยังพระราชทาน “Beylerbey of Rumelia” ให้แก่ปาชาด้วยซึ่งเท่ากับเป็นการมอบอำนาจให้เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในดินแดนตุรกีต่าง ๆ ในยุโรปและในการเป็นแม่ทัพในยามสงครามที่จะเกิดขึ้น ตามคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อิบราฮิมทูลห้ามไม่ให้สุลต่านสุลัยมานเลื่อนฐานะของตนให้สูงส่งนักเพราะกลัวอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ตนเอง แต่สุลต่านสุลัยมานก็ประทานสัญญาว่าภายในรัชสมัยของพระองค์แล้วอิบราฮิมก็จะไม่ถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตไม่ว่าจะด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น[56]

แต่จะอย่างไรก็ตามในที่สุดอิบราฮิมก็หลุดจากความเป็นคนโปรดของสุลต่านสุลัยมาน การที่ได้ตำแหน่งสูงมาอย่างรวดเร็วและความมั่งคั่งที่เกิดจากการมีอำนาจในระหว่างสิบสามปีที่เป็นมหาเสนาบดี ทำให้อิบราฮิมมีศัตรูมากมายในราชสำนัก ในที่สุดก็มีข่าวลือจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการรณรงค์ในอาณาจักรซาฟาวิยะห์ของจักรวรรดิเปอร์เซีย เมื่ออิบรอฮิมใช้ตำแหน่ง “Serasker sultan” ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่เท่ากับเป็นการหมิ่นพระบรมราชานุภาพ[57]

สุลต่านสุลัยมานมีความสงสัยในตัวอิบราฮิมมากยิ่งขึ้นเมื่ออิบราฮิมมีปากมีเสียงกับองคมนตรีคลังอิสเค็นเดอร์ เชเลบี ที่จบลงด้วยการที่อิบราฮิมถวายคำแนะนำให้สุลต่านสุลัยมานประหารชีวิตอิสเค็นเดอร์ เชเลบี แต่ก่อนที่เชเลบีจะเสียชีวิตก็ได้กล่าวหาว่าอิบราฮิมมีแผนการร้ายต่อสุลต่าน[57] คำพูดสุดท้ายของเชเลบีทำให้พระองค์ยิ่งทรงเพิ่มความระแวงในความจงรักภักดีของอิบราฮิมมากยิ่งขึ้น[57] และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1536 ก็มีผู้พบร่างอันปราศจากชีวิตของอิบราฮิมในพระราชวังโทพคาปิ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุลัยมานผู้เกรียงไกร http://www.bartleby.com/67/794.html http://www.bartleby.com/67/795.html http://www.malta.com/about-malta/history-of-malta.... http://uk.encarta.msn.com/encyclopedia_761575054_2... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9B0... http://www.paradoxplace.com/Perspectives/Genl%20Im... http://www.saudiaramcoworld.com/issue/196402/.sule... http://www.saudiaramcoworld.com/issue/198704/the.g... http://www.sinanasaygi.com/en/eserler.asp?action=e... http://www.womeninworldhistory.com/sample-10.html