อักษรครันถะ

อักษรครันถะ (เทวนาครี ग्रन्थ หมายถึง "หนังสือ" หรือ "จารึก") หรือ อักษรคฤนถ์ [2] หรือ อักษรคฤณถ์ [3] พัฒนามาจากอักษรพราหมี เริ่มปรากฏเมื่อราวพ.ศ. 1043 อักษรส่วนใหญ่ที่ใช้ในอินเดียใต้ มาจากอักษรปัลลวะ และมีอิทธิพลต่ออักษรสิงหล และอักษรไทยด้วย ชาวทมิฬใช้อักษรนี้เขียนภาษาสันสกฤต และยังคงใช้ในโรงเรียนสอนคัมภีร์พระเวท ของศาสนาฮินดูในปัจจุบัน

อักษรครันถะ

ISO 15924 Gran
ช่วงยุค คริสต์ศตวรรษที่ 6–16[1]
ระบบแม่
ระบบลูก อักษรมลยาฬัม
อักษรสิงหล
อักษรตูลู
อักษรทมิฬ
ระบบพี่น้อง Vatteluttu
ชนิด อักษรสระประกอบ
ภาษาพูด ภาษาสันสกฤต
Manipravalam