อัศวินเทมพลาร์
อัศวินเทมพลาร์

อัศวินเทมพลาร์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
อัศวินเทมพลาร์
สมาคมในปัจจุบันทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งซาโลมอน (ละติน: Pauperes commilitones Christi Templique Solomonici) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัศวินเทมพลาร์ (อังกฤษ: Knights Templar) หรือ คณะแห่งพระวิหาร (ฝรั่งเศส: Ordre du Temple) เป็นคณะทหารคริสตชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด[1] เป็นองค์กรที่คงอยู่เกือบสองศตวรรษในสมัยกลางคณะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกราวปี ค.ศ. 1129 คณะกลายเป็นองค์การที่ได้รับบริจาคทรัพย์สินอย่างมากมายตลอดคริสตจักรและเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สมาชิกและอำนาจ ลักษณะพิเศษของอัศวินเทมพลาร์คือเสื้อคลุมไร้แขนสีขาวที่มีกางเขนสีแดงอยู่บนเสื้อ อัศวินเทมพลาร์นับเป็นหนึ่งในหน่วยรบที่มีฝีมือที่สุดในสงครามครูเสด[2] สมาชิกของคณะที่ไม่ได้เป็นทหารมีหน้าที่จัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ตลอดศาสนจักร สร้างสรรค์เทคนิคทางการเงินที่เป็นต้นแบบของธนาคาร[3][4] และสร้างป้อมปราการมากมายทั่วยุโรปและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์การดำรงอยู่ของเทมพลาร์เชื่อมโยงอย่างมากกับสงครามครูเสด เมื่อสูญเสียดินแดนศักดิ์สิทธิ์คณะก็ได้รับการสนับสนุนน้อยลง ข่าวลือเกี่ยวกับพิธีกรรมลับในการรับเข้าเป็นสมาชิกเทมพลาร์สร้างความหวาดระแวงและพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเป็นหนี้เทมพลาร์มหาศาลได้หาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ ในปี ค.ศ. 1307 สมาชิกของคณะหลายคนในฝรั่งเศสถูกจับกุม ทรมานให้ยอมรับสารภาพและถูกเผาที่หลักประหาร[5] ภายใต้การกดดันจากพระเจ้าฟิลิป สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5 ได้สั่งสลายคณะในปี ค.ศ. 1312 การหายไปของทันทีทันใดของส่วนหลักในโครงสร้างพื้นฐานของยุโรปก่อให้เกิดความคาดเดาไปต่าง ๆ นานาและกลายเป็นตำนานซึ่งทำให้ชื่อของ "เทมพลาร์" คงอยู่จนถึงทุกวันนี้

อัศวินเทมพลาร์

ขึ้นต่อ พระสันตะปาปา
รูปแบบ คณะทหารคริสตชนตะวันตก
สัญลักษณ์นำโชค 2 อัศวินขี่ม้าตัวเดียวกัน
คำขวัญ Non nobis Domine, non nobis, sed nomini tuo da gloriam
(ไม่ใช่เพื่อสตรีของเรา ไม่ใช่เพื่อตัวเรา แต่เพื่อจรรโลงชื่อของท่านให้รุ่งโรจน์)
ผู้อุปถัมภ์ นักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โว
ประจำการ c. 1119–1314
ผู้นำคนแรก อูกแห่งปาแย็ง
กองบัญชาการ เนินพระวิหาร กรุงเยรูซาเลม
บทบาท ปกป้องผู้แสวงบุญ
ปฏิบัติการสำคัญ สงครามครูเสด, ประกอบด้วย:
สงครามชิงเมืองอัสคาลอน (1153)
ยุทธการที่มองท์กิซาร์ด (1177)
ยุทธการฮัททิน (1187)
สงครามชิงเมืองเอเคอร์ (1189-1191)
ยุทธการที่อาร์ซุฟ (1191)
สงครามชิงเมืองเอเคอร์ (1291)
การพิชิตดินแดนคืน
สีหน่วย ผ้าคลุมขาวกางเขนแดง
สมญา คณะแห่งพระวิหาร
ผู้นำคนสุดท้าย ฌักแห่งมอแล
กำลังรบ 15,000–20,000 เมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด, 10% เป็นอัศวิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัศวินเทมพลาร์ http://journals.sfu.ca/loading/index.php/loading/a... http://urbanlegends.about.com/cs/historical/a/frid... http://www.freemasonrytoday.com/19/p07.php http://books.google.com/books?id=GEu58-OIT1MC&lpg=... http://www.imdb.com/title/tt0843844/ http://www.sacred-texts.com/sro/hkt/index.htm http://www.slate.com/id/2140307/ http://www.snopes.com/luck/friday13.asp http://www.templarhistory.com/praise.html http://www.uthscsa.edu/mission/spring96/shroud.htm