สงครามครูเสด
สงครามครูเสด

สงครามครูเสด

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งครั้งที่ 1ครูเสดนอร์เวย์ครั้งที่ 2ครั้งที่ 3
ครูเสดลิโวเนียครูเสดเยอรมันครั้งที่ 4
ครูเสดแอลบิเจนเซียนครูเสดเด็กครั้งที่ 5
ครูเสดปรัสเซียครั้งที่ 6ครั้งที่ 7
ครูเสดคนเลี้ยงแกะครั้งที่ 8ครั้งที่ 9
ครูเสดอารากอนครูเสดอเล็กซานเดรีย
ยุทธการนิโคโปลิสครูเสดตอนเหนือสงครามฮุสไซต์
ครูเสดวาร์นาออตโตมันรุกรานโอตรันโต
สงครามออตโตมัน-ฮังการีสงครามออตโตมัน-ฮับส์บูร์ก
สงครามครูเสด (อังกฤษ: Crusades; อาหรับ: الحروب الصليبية‎, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)[1] ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ ค.ศ. 1071 และตัดการเข้าถึงเยรูซาเล็มของคริสเตียน จักรพรรดิไบแซนไทน์ อเล็กซิสที่ 1 ทรงเกรงว่าเอเชียไมเนอร์ทั้งหมดจะถูกบุกรุก พระองค์จึงทรงเรียกร้องผู้นำคริสเตียนตะวันตกและสันตะปาปาให้มาช่วยเหลือโดยไปจาริกแสวงบุญหรือสงครามศาสนาเพื่อปลดปล่อยเยรูซาเล็มจากการปกครองของมุสลิม[2] อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการทำลายล้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคริสเตียนเป็นจำนวนมากและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนภายใต้อัล-ฮาคิม กาหลิปราชวงศ์ฟาติมียะห์นักรบครูเสดประกอบด้วยหน่วยทหารแห่งโรมันคาทอลิกจากทั่วยุโรปตะวันตก และไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชารวม สงครามครูเสดชุดหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พุ่งเป้าต่อมุสลิมในเลแวนต์ (Levant) เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1095 ถึง 1291 นักประวัติศาสตร์ให้ตัวเลขสงครามครูเสดก่อนหน้านั้นอีกมาก หลังมีความสำเร็จในช่วงแรกอยู่บ้าง สงครามครูเสดช่วงหลังกลับล้มเหลว และนักรบครูเสดถูกบังคับให้กลับบ้าน ทหารหลายแสนคนกลายเป็นนักรบครูเสดโดยการกล่าวปฏิญาณ[3] สมเด็จพระสันตะปาปาให้การไถ่บาปบริบูรณ์ (plenary indulgence) แก่ทหารเหล่านั้น สัญลักษณ์ของนักรบเหล่านี้ คือ กางเขน คำว่า "ครูเสด" มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง การยกกางเขนขึ้น ทหารจำนวนมากมาจากฝรั่งเศสและเรียกตนเองว่า "แฟรงก์" ซึ่งกลายเป็นคำสามัญที่มุสลิมใช้[4]คำว่า "ครูเสด" ยังใช้อธิบายการทัพที่มีเหตุจูงใจทางศาสนาที่ดำเนินระหว่าง ค.ศ. 1100 และ 1600 ในดินแดนนอกเหนือไปจากเลแวนต์ โดยมักเป็นสงครามกับพวกนอกศาสนา นอกรีตและประชาชนภายใต้การห้ามบัพพาชนียกรรม (excommunication) ด้วยเหตุผลด้านศาสนา เศรษฐกิจและการเมืองผสมกัน การแข่งขันกันระหว่างคริสเตียนและมุสลิมยังนำไปสู่พันธมิตรระหว่างกลุ่มแยกศาสนาต่อคู่แข่งของตน เช่นคริสเตียนเป็นพันธมิตรกับรัฐสุลต่านรูมที่นับถืออิสลามระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ห้าสงครามครูเสดส่งผลกระทบใหญ่หลวงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมต่อยุโรปตะวันตก มันส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่นับถือคริสต์อ่อนแอลงมาก และเสียให้แก่เติร์กมุสลิมในอีกหลายศตวรรษต่อมา เรกองกิสตา สงครามอันยาวนานในคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งกำลังคริสเตียนพิชิตคาบสมุทรคืนจากมุสลิม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสงครามครูเสด

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด