สงครามครูเสดครั้งที่_2
สงครามครูเสดครั้งที่_2

สงครามครูเสดครั้งที่_2

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งลิแวนต์คาบสมุทรไอบีเรีย:คณะทหาร ครูเสดฝั่งตะวันตก (เรกองกิสตา)Wendish Crusadeฝั่งตะวันตก:Wends:Wendish allies:Roger II of Sicilyฝั่งตะวันตก:
Tashfin ibn Ali
Ibrahim ibn Tashfin
Ishaq ibn Ali
Abd al-Mu'min
Wends กับพันธมิตร:
Niklot
Pribislav of Wagria
Ratibor I of Pomeraniaครั้งที่ 1ครูเสดนอร์เวย์ครั้งที่ 2ครั้งที่ 3
ครูเสดลิโวเนียครูเสดเยอรมันครั้งที่ 4
ครูเสดแอลบิเจนเซียนครูเสดเด็กครั้งที่ 5
ครูเสดปรัสเซียครั้งที่ 6ครั้งที่ 7
ครูเสดคนเลี้ยงแกะครั้งที่ 8ครั้งที่ 9
ครูเสดอารากอนครูเสดอเล็กซานเดรีย
ยุทธการนิโคโปลิสครูเสดตอนเหนือสงครามฮุสไซต์
ครูเสดวาร์นาออตโตมันรุกรานโอตรันโต
สงครามออตโตมัน-ฮังการีสงครามออตโตมัน-ฮับส์บูร์ก
สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (อังกฤษ: Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด[2][3] ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี ค.ศ. 1148 ก็เข้าโจมตีดามาสคัสตามคำแนะนำอันไม่สมควร สงครามครูเสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยความล้มเหลวและชัยชนะของฝ่ายมุสลิม และเป็นสงครามที่นำไปสู่การเสียกรุงเยรูซาเลม และ สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12ความสำเร็จอย่างเดียวของสงครามครูเสดครั้งนี้เกิดขึ้นนอกบริเวณเมดิเตอเรเนียนเมื่อชนกลุ่มต่างๆ ที่กำลังเดินทางทางเรือไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อไปเข้าร่วมในสงครามที่รวมทั้งเฟล็มมิช, ฟริเชียน, นอร์มัน, อังกฤษ, สกอต และเยอรมันมีโอกาสหยุดช่วยฝ่ายโปรตุเกสจากการเสียเมืองลิสบอนจากการล้อมโดยชาวมัวร์ในปี ค.ศ. 1147ขณะเดียวกันในยุโรปตะวันออกสงครามครูเสดตอนเหนือครั้งแรกก็เริ่มขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนกลุ่มชนที่เป็นเพกันให้มารับนับถือคริสต์ศาสนาซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินต่อมาเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี

สงครามครูเสดครั้งที่_2

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่ค.ศ.1147–1150
สถานที่คาบสมุทรไอบีเรีย, ตะวันออกใกล้ (อานาโตเลีย, ลิแวนต์), อียิปต์
ผลลัพธ์อานาโตเลีย:

ลิแวนต์

คาบสมุทรไอบีเรีย:

  • ฝ่ายครูเสดชนะ
ดินแดน
เปลื่ยน
* ลิสบอนถูกยึดโดยชาวโปรตุเกส และทอร์โทซาถูกยึดโดยชาวคาตาลัน
  • Wagria และPolabiaถูกยึดโดยพวกครูเสดแห่งแซกซอน
สถานที่ คาบสมุทรไอบีเรีย, ตะวันออกใกล้ (อานาโตเลีย, ลิแวนต์), อียิปต์
ผลลัพธ์ อานาโตเลีย:

ลิแวนต์

คาบสมุทรไอบีเรีย:

  • ฝ่ายครูเสดชนะ
ดินแดนเปลื่ยน * ลิสบอนถูกยึดโดยชาวโปรตุเกส และทอร์โทซาถูกยึดโดยชาวคาตาลัน
  • Wagria และPolabiaถูกยึดโดยพวกครูเสดแห่งแซกซอน
วันที่ ค.ศ.1147–1150

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด