ระบบอาศรม ของ อาศรม_4

ภายใต้ระบบอาศรมสี่ ชีวิตมนุษย์แบ่งออกเป็นสี่ช่วง[6][8] โดยเป้าหมายของแต่ละช่วงชีวิตคือการเติมเต็มและพัฒนาปัจเจก ในระบบอาศรมแบบคลาสสิก เช่นใน อาศรมอุปนิษัท, ไวขานสธรรมสูตร และใน ธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนขึ้นในยุคถัดมา มีการระบุช่วงอายุแนะนำในการเข้าสู่แต่ละระยะ ในขณะที่ระบบดั้งเดิมดังที่ปรากฏใน ธรรมสูตร ยุคแรก อาศรมทั้งสี่เป็นวิถีชีวิตทางเลือกสี่แบบ โดยไม่ปรากฏการระบุช่วงวัยที่ให้ปฏิบัติ[2][9]

ระบบอาศรมสี่
อาศรม / ช่วงชีวิตอายุ (ปี)[10]รายละเอียดพิธีเปลี่ยนผ่าน
พรหมจรรย์
(ผู้เรียน)
ถึง 25พรหมจรรย์ เป็นช่วงชีวิตแห่งการศึกษา และการดำรงตนเป็นพรหมจรรย์ (ละเว้นการร่วมประเวณี)[3] นักเรียนจะเดินทางไปคุรุกุล (ที่พำนักของคุรุ) และโดยทั่วไปยะอาศัยกับคุรุ (อาจารย์) เพื่อรับความรู้ แนวคิด ปรัชญา สัจธรรม และตรรกะ, ปฏิบัติตนตามครรลอง, ทำงานเพื่อได้รับทักษิณมาจ่ายให้กับคุรุ, เรียนรู้ที่จะมีชีวิตด้วยธรรมอุปนัยนะ เมื่อเข้า[11][12] สมาวรรตนะ เมื่อสิ้นสุด[13]
คฤหัสถ์
(ผู้ครองเรือน)
25–48หมายถึงช่วงชีวิตซึ่งได้สมรส, ดูแลเรือน, สร้างครอบครัว, เลี้ยงดูให้การศึกษาแก่ลูก มีชีวิตทางสังคมและทางธรรมโดยมีครอบครัวเป็นหลักกลางของชีวิต[3][14][15] ในทางสังคมวิทยา ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงแห่งการสร้างอาหารและความมั่งคั่ง ที่จะช่วยจุนเจือผู้ที่อยู่ในระยะอื่น ๆ ของระบบอาศรม รวมถึงสร้างลูกหลานขึ้นมาเพื่อสืบทอดมนุษยชาติ[3][5] และช่วงนี้เป็นช่วงที่มนุษย์เกิดความผูกพันทางโลกสูง[16]วิวาหะ เมื่อเข้า
วานปรัสถ์
(เกษียณ)
48–72ช่วงชีวิตหลังเกษียณ ส่งต่อภาระทางเรือนให้แก่ผู้คนในรุ่นถัดไป ละค่อย ๆ ถอนตัวออกจากชีวิตทางโลก[17][18] วานปรัสถ์เป็นช่วงชีวิตแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นซึ่งอรรถะ และ กามะ ไปสู่การมุ่งเน้นยังโมกษะ (การหลุดพ้น)[17][19]
สันยาส
(ละทิ้งทางโลก)
72+
(หรือเมื่อใดก็ได้)
เป็นช่วงชีวิตแห่งการละทิ้งความปราถนาทางวัตถุและทางโลก โดยทั่วไปคือปราศจากสิ่งครอบครองรวมถึงที่อยู่ ใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นโมกษะ, ความสันติ และชีวิตทางจิตวิญญาณที่เรียบง่าย[20][21] ผู้ใดก็ตามที่สิ้นสุดระยะพรหมจรรย์แล้วสามารถเข้าสู่ระยะนี้ได้ทุกเมื่อ[2]

ใกล้เคียง