การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของ อเล็กซานเดอร์_แฮมิลตัน

ประธานาธิบดี George วอชิงตัน ได้แต่งตั้งให้ แฮมิลตัน ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นคนแรก (Secretary of the Treasury) ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1789 และเขาได้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1795 ซึ่งโครงสร้างของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐได้มีการดำเนินการไปมากแล้วในช่วง เวลา 5 ปีดังกล่าว เริ่มตั้งแต่โครงสร้างคณะรัฐมนตรี (Cabinet) มีคนที่ไม่เห็นด้วยวิจารณ์ว่าสำนักงานกระทรวงการคลังนี้มีลักษณะคล้ายกับ ระบบ Chancellor of the Exchequer และ แฮมิลตัน ทำหน้าที่ของเขาคล้ายกับนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ดูแลคณะทำงานของเขาให้กับประธานาธิบดี George วอชิงตัน เพราะท่านมักจะเรียกใช้ แฮมิลตัน นอกขอบข่ายของกระทรวงการคลัง (Treasury Department.)

แฮมิลตัน เป็นคนทำงานมีประสิทธิภาพ ภายในหนึ่งปี เขาได้ส่งรายงาน 5 เรื่องที่สำคัญและเป็นรากฐานดังต่อไปนี้

  • รายงานสถานะการเงิน (First Report on the Public Credit) รายงานต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1790
  • การดำเนินการด้านจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้า (Operations of the Act Laying Duties on Imports:) ต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1790
  • รายงานสถานะการเงินของสาธารณรัฐครั้งที่ 2 (Second Report on Public Credit) รายงานต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1790
  • รายงานการจัดตั้งโรงกษาปน์ (Report on the Establishment of a Mint) สื่อสารต่อสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1791
  • รายงานด้านการดำเนินการด้านระบบอุตสาหกรรม (Report on Manufactures) สื่อสารต่อสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791

รายงานสถานการเงิน

ใน รายงานด้านการเงิน (Public Credit) ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไดเสนอให้รัฐบาลกลาง (Federal Government) มีหน้าที่รับผิดชอบต่อหนี้ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ (ค.ศ. 1776) ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการรับผิดชอบด้านการเงิน แทนที่จะเป็นรัฐบาลของแต่ละรัฐ (Stae governments)คำวิพากษ์ในแผนงานนี้มาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ในคณะรัฐบาลเอง ซึ่งคือ Thomasเจฟเฟอร์สัน และตัวแทนจากรัฐในขณะนั้นคือ James Madison เนื่องด้วยรัฐบางรัฐดังเช่น Virginia ที่เจฟเฟอร์สัน เคยเป็นผู้ว่าการฯ มาก่อนนั้นได้จ่ายหนี้นี้ไปครึ่งหนึ่งแล้ว และเห็นว่าผู้เสียภาษีไม่ควรต้องไปเสียภาษีซ้ำ และในอีกด้านหนึ่งเห็นว่าสิ่งที่เสนอนั้นจะไปก้าวล่วงเกินที่รัฐธรรมนูญได้ กำหนดส่วน Madison ได้วิจารณ์ข้อเสนอของ แฮมิลตัน เห็นว่าควรจะลดอัตราดอกเบี้ย และควรเลื่อนการจ่ายเงิน หรือเห็นว่าไม่ควรต้องจ่ายเต็มตามจำนวน และเขาเห็นว่าจะทำให้เกิดการคาดการณ์ผลประโยชน์ต่างๆที่จะตกอยู่กับคน บางกลุ่ม ส่วนเงินหนี้ที่ได้ใช้ไปในสงครามนั้นจะไปตกกับทหารผ่านศึก ซึ่งสภาภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ในขณะนั้นจะไม่มีเงินจ่าย เพราะเงินหนี้สินนั้นความจริงมิได้สูงมากนัก แต่ด้วยดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทำให้เกิดภาระที่ต้องบานปลาย

ส่วน Samuel Livermore จาก New Hampshire หวังว่าควรจะมีการสกัดพวกเก็งกำไร และทำให้ภาระเสียภาษีลดลง โดยมีการจ่ายเพียงบางส่วนของเงินพันธบัตรที่รัฐบาลได้ค้ำประกันไปแล้ว ความไม่เห็นด้วยระหว่าง Madison และ แฮมิลตัน ได้กลายเป็นความเห็นที่แตกต่างระหว่างฝ่ายเจฟเฟอร์สัน และ แฮมิลตัน ที่ได้ยืดยาวไปสู่ส่วนอื่นๆที่มีการเสนอต่อรัฐสภา (Congress) ฝ่าย แฮมิลตัน ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้สนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง (Federalists) และฝ่ายเจฟเฟอร์สัน ถือเป็นฝ่าย “สาธารณรัฐ (Republicans)ความ แตกต่างระหว่าง แฮมิลตัน และเจฟเฟอร์สัน นั้นเป็นความแตกต่างกันทั้งทางด้านแนวคิด การดำเนินการ และพื้นฐานดั้งเดิม แฮมิลตัน เป็นฝ่ายที่ต้องปฏิบัติงานที่เขาประสบกับความขัดสนของกองทัพที่ไม่สามารถได้ รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ และขณะเดียวกันต้องเริ่มกองทัพที่มีแต่เด็กหนุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทางการ ทหารมาก่อน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายรัฐสภา ที่มีตัวแทนมาจากทางรัฐแต่ละรัฐที่เป็นผู้มีพื้นฐานจากชนชั้นสูง มีการศึกษา มีฐานะทางครอบครัวที่ดี และไม่ได้เป็นฝ่ายไปรบในสงคราม ไม่ได้เห็นปัญหาทีได้เกิดขึ้นในภาคสนาม แฮมิลตัน เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย ฉลาด เรียนมาสูง สู้ชีวิตจากครอบครัวที่ยากจน ปากกัดตีนถีบ แต่เจฟเฟอร์สัน เป็นคนฉลาดอย่างมากเช่นกัน เรียนมาสูง คิดอย่างปรัชญา แต่ไม่ได้ลงปฏิบัติในสนามรบเหมือนกับ George วอชิงตัน หรือ แฮมิลตัน

แฮมิลตัน แม้เป็นฝ่ายกำลังทหารต่อสู้กับอังกฤษ แต่ชื่นชอบระบบการปกครองและแนวทางแบบอังกฤษ ส่วนเจฟเฟอร์สัน ในฐานะทำงานการทูตและการต่างประเทศ ได้เห็นและชื่นชอบระบบของฝรั่งเศส

แม้ ในท้ายสุดทุกฝ่ายจะเห็นด้วยในความจำเป็นต้องมีเมืองหลวง (Capital City) เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการบริหาร แต่ฝ่าย แฮมิลตัน ก็ต้องเจรจาและยอมตามเจฟเฟอร์สัน ที่ต้องการให้เมืองหลวงตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำ Potomac และเจฟเฟอร์สัน ก็เป็นฝ่ายชักจูงส่วนอื่นๆให้ยอมรับแผนงานด้านการจัดตั้งรัฐบาลกลาง การแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลกลาง และการผลักดันให้มีนิติบัญญัติขึ้นมารองรับ และผ่านร่างไปในที่สุดในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1790

การจัดตั้งโรงกษาปณ์

แฮมิลตัน ได้ผลักดันให้เกิดระบบโรงกษาปณ์ (United States Mint) ธนาคารแห่งชาติ (first national bank) และเพื่อให้สามารถมีอำนาจบังคับด้านการเสียภาษี จึงได้มีหน่วยงานที่เรียกว่า Revenue Cutter Service ทำหน้าที่โดยมีกองเรือติดอาวุธ มีหน้าที่สมบูรณ์ในการตรวจจับผู้ลักลอบน้ำเข้าหรือส่งออกสินค้า โดยหลีกเลี่ยงหรือหนีภาษี ในระยะต่อมา หน่วยงานนี้ได้เปลี่ยนเป็น United States Coast Guard ซึ่งในช่วงแรกมีหน้าที่ในการบังคับการดำเนินการด้านภาษีสินค้าน้ำเข้าและส่ง ออก ระบบที่นำเสนอโดย แฮมิลตัน ลดความสับสนของระบบการเงิน สร้างเสถียรภาพ ทำให้ประเทศมีเครื่องมือที่จะใช้ในการค้าขายทั้งภายในและระหว่างประเทศ สร้างความั่นใจให้กับนักลงทุนด้วยการมีพันธบัตรรับประกันโดยรัฐบาลกลาง (Government bonds)

แหล่งของการเงิน

แหล่งการเงินที่จะมีขึ้นให้กับรัฐบาลกลาง คือการจัดเก็บอากรเหล้า (excise tax on whiskey) ฝ่ายที่ต่อต้านการจัดเก็บภาษีเหล้าคือพวกที่เป็นผู้ผลิตฝ้าย (cottage producers) ในเขตชนบทห่างไกล เพราะคนกลุ่มดังกล่าวมองเห็นว่าการต้มเหล้าบริโภคกันเองนั้น คือเป็นสิทธิของประชาชนที่จะทำได้ จึงทำให้เกิดกบฏเหล้า (Whiskey Rebellion) ขึ้นในปี ค.ศ. 1794; ในแขตตะวันตกของรัฐเพนซิลเวเนีย (Western เพนซิลวาเนีย) และตะวันตกของเวอร์จิเนีย (western Virginia) ซึ่งในขณะนั้น เหล้าถือเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนที่เปรียบเหมือนทำหน้าที่แทนเงินในชุมชน แต่ในช่วงดังกล่าว ได้มีการระดมกำลังคนเพื่ออำนาจรัฐบาลกลาง ที่มากเสียยิ่งกว่าในการรบในสงครามประกาศอิสรภาพ ทัพที่นำโดยนายพล Henry "Light Horse Harry" Lee ที่ประธานาธิบดี George วอชิงตัน ได้ส่งไปนั้นเป็นการแสดงพลังของรัฐบาลกลาง และทำให้ฝ่ายกบฏต้องยอมสงบ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

ระบบอุตสาหกรรม

อนุสาวรีย์ แฮมิลตัน โดย Franklin Simmons, กำลังมองไปยัง Great Falls of the Passaic River ใน Paterson, รัฐ นิวเจอร์ซี. แฮมิลตัน มองว่าน้ำตกหรือพลังน้ำนี้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนโรงงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รายงาน ระบบอุตสาหกรรม (Report on Manufactures) ที่มีต่อรัฐสภา โดยไม่มีการอภิปรายกันมากนัก ยกเว้น Madison ได้อภิปรายในประเด็นเพื่อสวัสดิการทั่วไป ในขณะนั้น เขตอาณานิคม และเมื่อเป็นประเทศใหม่ อเมริกาก็ยังเป็นดินแดนชนบทที่ห่างไกลความเจริญ เป็นเขตการเกษตรที่ส่งผลผลิตไปขายยังยุโรปใน ค.ศ. 1791 แฮมิลตัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ทำงานในฐานะเอกชนที่จะจัดตั้ง “สมาคมก่อตั้งระบบอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์” (Society for the Establishment of Useful Manufactures) จัดเป็นวิสาหกิจเอกชนที่จะใช้อำนาจในการอุตสาหกรรมโดยตรง ในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากการปล่อยให้มีการเช่าที่ดินให้แก่คนที่จะนำไปทำโรงสีข้าว และพลังงานในโรงงานอื่นๆ ที่ส่งผลในช่วง 150 ปีต่อมา เมื่อสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนไปเป็นเมืองอุตสาหกรรมมากขึ้น

การเกิดพรรคใหม่

ประธานาธิบดี George วอชิงตัน เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอย่างไม่มีคู่ แข่ง และไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน ถือเป็นมติเอกฉันท์ แต่ในยุคต่อๆมา ก็เริ่มมีความแตกต่างทางความคิดทางการเมือง และนำไปสูการมีระบบพรรคการเมืองในระยะต่อมา

กลุ่ม ในแนวทางของ แฮมิลตัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์ ของตนเองชัดเจนมากขึ้น และเรียกตัวเองว่าพวก Federalists อันเป็นกลุ่มสนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง มีระบบการเงินเป็นอิสระ และสนับสนุนให้มีกองทัพเป็นของส่วนกลางได้ และในขณะเดียวกันในรัฐสภา ก็ได้เกิดกลุ่มที่นำโดย James Madison และ William Giles ที่ต่อต้านแนวทางของกลุ่ม แฮมิลตัน และแนวทางด้านการเงินของเขา เมื่อเจฟเฟอร์สัน ได้กลับจากประเทศฝรั่งเศสจากงานด้านการทูต กลุ่มนี้เป็นฝ่ายเห็นตรงกันข้ามกับ แฮมิลตัน ในเกือบจะทุกกรณี และได้เรียกตัวเองว่า กลุ่มสาธารณรัฐ กลุ่มเจฟเฟอร์สัน ซึ่งได้รับคะแนนนิยมจากลุ่มประชาชนฐานราก และตัวแทนจากรัฐต่างๆ ที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และเห็นว่าบทบาทของรัฐบาลกลางควรมีอย่างจำกัด และด้วยความเห็นชอบของแต่ละรัฐเท่านั้น

เมื่อเป็นพรรคการเมืองในทางพฤตินัย ต่างก็มีกระบอกเสียงและสื่อที่เป็นของตนเอง ฝ่าย Federalists มีหนังสือพิมพ์ของตน โดยมี Noah Webster, John Fenno, และรวมถึง William Cobbett เป็นบรรณาธิการให้กับกลุ่ม ในทางการ George วอชิงตัน ไม่ได้อยู่ในกลุ่มการเมือง รวมทั้ง John Adams ก็ไม่ประกาศตัวเป็นส่วนของกลุ่มการเมือง แต่ในทางปฏิบัติ ก็ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม Federalists ดังกล่าว ซึ่งทำงานเพื่อความเข้มแข็งของส่วนรัฐบาลกลาง และทำให้งานของประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางง่ายขึ้น ส่วนฝ่ายตรงกันข้าม Benjamin Franklin Bache และ Philip Freneau เป็นฝ่ายของกลุ่มสาธารณรัฐ โดยมีหนังสือพิมพ์ “สาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republicans) ทั้งสองฝ่ายนอกจากจะเป็นการแสดงทัศนะทางการเมืองแล้ว ยังมีการกระทบกระทั่งกัน และมีการโจมตีเป็นการส่วนตัวไปด้วย

ในปี ค.ศ. 1801 แฮมิลตัน ได้จัดตั้งหนังสือพิมพ์ของตนเองขึ้นในนิวยอร์ก เรียกว่า New-York Evening Post โดยมี William Coleman เป็นบรรณาธิการ และจัดว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการนำเสนอต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดในสหรัฐ และในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ New York Post.[52]

The New York Post จัดเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดเป็นอันดับ ที่ 13 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพิมพ์ติดต่อเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ในประวัติศาสตร์หลังจากที่ได้มีการก่อตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน มีการหยุดำเนินการเป็นระยะด้วยปัญหาแรงงาน ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเจ้าของโดยกลุ่มของมหาเศรษฐีชาวออสเตรเลีย ชื่อ Rupert Murdoch จัดเป็นหนังสือพิมพ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของสหรัฐ ปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ที่ 1211 ถนนที่เรียกว่า Avenue of the Americas, ในเกาะ Manhattan เมืองนิวยอร์ก

ใกล้เคียง

อเล็กซานเดอร์มหาราช อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน อเล็กซ์ เรนเดลล์ อเล็กซ์ ออกซ์เลด-เชมเบอร์ลิน อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ อเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก อเล็กทีนิบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อเล็กซานเดอร์_แฮมิลตัน http://www.britannica.com/EBchecked/topic/253372/A... http://www.footnote.com/page/146 http://books.google.com/books?id=S4CoWxuxuFAC&q=al... http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://www.jewishpress.com/content.cfm?contentid=2... http://www.questia.com/library/book/alexander-hami... http://www.questia.com/library/book/the-age-of-fed... http://cdl.library.cornell.edu/cgi-bin/moa/moa-cgi... http://elections.lib.tufts.edu/aas_portal/index.xq http://press-pubs.uchicago.edu/founders/documents/...