ภายใต้สหพันธรัฐ ของ อเล็กซานเดอร์_แฮมิลตัน

ในการก่อตั้งประเทศในช่วงแรกยังอยู่ในสถานะ สหพันธรัฐ (A confederation) อันหมายถึงกลุ่มของชุมชนหรือรัฐ สรรสร้างขึ้นด้วยข้อตกลง โดยมีรัฐธรรมนูญร่วมกัน สหพันธรัฐมีแนวน้าที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์วิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น มารวมตัวกันเพื่อการป้องกันประเทศร่วมกัน เพื่อการต่างประเทศ การค้าขายระหว่างประเทศ การกำหนดค่าเงินร่วมกัน โดยมีรัฐบาลกลางเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนสมาชิกชุมชนหรือรัฐ ในช่วงการเกิดประเทศสหรัฐอเมริกามีลักษณะที่ยังไม่มีความเป็นประเทศดังที่เป็นในปัจจุบัน

แฮมิลตัน เข้าสู่สภา

หลังจากงานในหน้าที่ของเขาที่ Yorktown เขาได้ลาออกจากหน้าที่และเข้าสู่การเมือง โดยได้รับเลือกเป็นสมาชิกจาก New York ในคณะ Continental Congress ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1782 ในขณะที่เขาทำงานเป็นทีมงานการทหารให้กับนายพลวอชิงตัน เขาอึดอัดกับธรรมชาติของสภาฯ (Continental Congress) ที่มีลักษณะการกระจายอำนาจที่ไม่มีความสะดวกในการบริหารการเงินที่จะใช้ใน กิจกรรมสงคราม สภาฯในช่วงปฏิวัติไม่มีอำนาจในการเรียกเก็บภาษี หรือไม่มีเงินจากแต่ละรัฐมาช่วย และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดการขาดแคลนการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุน ในเกือบจะทุกด้าน ทั้งเงินเดือนทหาร เสบียงกรัง ดังนั้นเมื่อเขาเข้าสู่สภาฯ เป้าหมายของเขาคือการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลกลาง และการทำให้รัฐบาลกลางที่ต้องอยู่ในสถานะสู้รับได้มีความเป็นอิสระในทางการ เงินมากขึ้น

สำหรับคนอื่น รวมถึง James Madison เป็นส่วนที่ต้องการให้มีมาตรการทางการเงินที่จะให้รัฐบาลกลาง (Federal government) มีความเป็นอิสระในการจัดการด้านการเงิน และในเรื่องดังกล่าว Madison ได้ร่วมกับ แฮมิลตัน ในการผลักดันให้มีการจัดเก็บภาษีเข้าสู่รัฐบาลกลางได้ร้อยละ 5 จากการนำสินค้าเข้าในทุกรายการ ภาษีนี้ไม่เคยไดรับการอนุมัติอย่างเต็มที่ และดังนั้นจึงยังไม่ได้เป็นกฎหมาย แฮมิลตัน และ Madison ยังได้ร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลกลางสามารถมีกฎหมายที่ต้องอยู่เหนือกฎหมายของ แต่ละรัฐ (Individual states)

ในรัฐสภาและกองทัพ

สำหรับเพื่อนร่วมงานในแนวทางเดียวกับ แฮมิลตัน ที่สำคัญได้แก่ ผู้ดูแลด้านการเงิน (superintendent of finance) ชื่อ Robert Morris, และผู้ช่วยของเขาชื่อ Gouverneur Morris ได้พยายามผลักดันให้เกิดแหล่งเงินที่เป็นอิสระเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง รัฐบาลกลาง (Federal government) เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค้างจ่ายเบี้ยบำนาญสำหรับคนที่ไปทำหน้าที่เป็นทหาร เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มคนดังกล่าวที่จะผลักดัน โดยอาศัยความไม่พอใจของบรรดาทหาร ดังในกรณีของ Newburgh conspiracy เพิ่มแรงผลักดันให้ใช้บังคับในทั้งสองกรณี ในวันที่ 15 มีนาคม วอร์ชิงตันได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ โดยในช่วงหลังจากนั้นเขาได้เขียนจดหมายถึง แฮมิลตัน ตำหนิในสิ่งที่เขาคิดว่า แฮมิลตัน ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าวในที่สุดสภาฯ ได้ผ่านกฎหมายที่เป็นข้อตกลงด้านเบี้ยบำนาญและการจ่ายเงินเดือนให้ 5 ปีสำหรับเงินเดือนและค่าจ้างในการเป็นทหาร และอีกครั้งหนึ่งที่รัฐไม่ได้ให้การอนุมัติตามมาตรการที่เสนอ ทหารจำนวนมากไม่ได้รับเงินบำนาญทีค้างจ่าย สภาฯได้มีคำสั่งเลิกทัพและไม่มีการจ่ายเงินบำนาญในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1783

ในช่วงเดือนมิถุนายน ได้มีกลุ่มทหารอื่นๆจาก Lancaster, เพนซิลวาเนีย ได้ยื่นจดหมายเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินเดือนที่ค้างไว้ และเมื่อพวกเขาเริ่มเดินขบวนไปยัง Philadelphia สภาฯได้สั่งให้ แฮมิลตัน และคนอื่นๆอีก 2 คน ได้เข้าหยุดฝูงชน แฮมิลตัน ได้ขอกำลังทหารพราน (Militia) จากสภาบริหารสูงสุดแห่ง เพนซิลวาเนีย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ แฮมิลตัน ได้สั่งให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีสงคราม William Jackson ให้เข้าไปหยุดฝูงชน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ใน ที่สุดฝูงคนที่ไม่พอใจได้มาถึงเมือง Philadelphia และเข้ากดดันรัฐสภาเพื่อให้จ่ายค่าจ้าง ประธานรัฐสภาในขณะนั้น คือ John Dickinson ไม่มีความไว้วางใจกองทหารพรานจากรัฐ เพนซิลวาเนีย จึงปฏิเสธความช่วยเหลือ แฮมิลตัน ได้แนะนำให้ย้ายสภาฯ ไปอยู่ที่เมือง Princeton ในรัฐ นิวเจอร์ซี รัฐสภาได้ตอบตกลง และได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ เมืองดังกล่าว

ด้วยความ ที่อึดอัดในความอ่อนแอของรัฐบาลกลาง แฮมิลตัน ได้ร่างบางมาตราที่ว่าด้วยความเป็นสหพันธรัฐในขณะที่อยู่ที่เมือง Princeton คำร่างนั้นเป็นหลายๆส่วนของรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่ทำให้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง มีความสามารถในการจัดเก็บภาษีและการจัดตั้งกองทัพบกได้ รวมถึงการแบ่งอำนาจของสามสถาบัน อันได้แก่ ฝ่ายบริหาร (Executive), ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) และฝ่ายตุลาการ (Judicial branches)

กลับสู่นิวยอร์ก

แฮมิลตัน ได้ลาออกจากสภาฯ และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1783 ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของเนติสภาแห่งรัฐนิวยอร์ก (New York Bar) ทั้งนี้โดยเขาได้ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่หลายเดือน เขาได้เริ่มทำงานด้านกฎหมายที่เมืองนิวยอร์ก และเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง Tories และเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ Rutgers v. Waddington ที่เขาว่าความให้การเรียกร้องค่าเสียหายโรงกลั่นเหล้าของชาวอังกฤษที่ทาง ทหารได้เข้ายึดครองในช่วงสงคราม โดยเขาได้เสนอให้การตีความตามกฎหมายต้องให้ยึดหลักข้อคกลงตามข้อตกลงปารีส (1783 Treaty of Paris) ที่มีผลทำให้สงครามปฏิวัติได้ยุติลง

ในปี ค.ศ. 1784 เขาได้ก่อตั้งธนาคารแห่งนิวยอร์ก (Bank of New York) ซึ่งตราบถึงปัจจุบัน จัดเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา แฮมิลตัน ยังได้เป็นผู้กลับไปบูรณะ King's College ซึ่งต้องปิดตัวลงในช่วงสงครามปฏิวัติ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Columbia College วิทยาลัยดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมากในช่วงสงคราม งานด้านสาธารณะของเขาได้กลับมาเริ่มอีกครั้งเมื่อเขาเข้าร่วมการประชุม Annapolis Convention โดยเป็นตัวแทนจากรัฐ ซึ่งทำให้ความหวังของเขาประสบผล คือการทำให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง มีอำนาจ มีอิสระทางการเงิน สามารถมีกฎหมายรองรับจัดเก็บภาษีเพื่อมาดำเนินการได้

ใกล้เคียง

อเล็กซานเดอร์มหาราช อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน อเล็กซ์ เรนเดลล์ อเล็กซ์ ออกซ์เลด-เชมเบอร์ลิน อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ อเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก อเล็กทีนิบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อเล็กซานเดอร์_แฮมิลตัน http://www.britannica.com/EBchecked/topic/253372/A... http://www.footnote.com/page/146 http://books.google.com/books?id=S4CoWxuxuFAC&q=al... http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cac... http://www.jewishpress.com/content.cfm?contentid=2... http://www.questia.com/library/book/alexander-hami... http://www.questia.com/library/book/the-age-of-fed... http://cdl.library.cornell.edu/cgi-bin/moa/moa-cgi... http://elections.lib.tufts.edu/aas_portal/index.xq http://press-pubs.uchicago.edu/founders/documents/...