ความถนัดทางเศรษฐกิจ ของ เครือข่ายไผ่

ป้ายร้านทองย่านเยาวราช ไชน่าทาวน์ใหญ่สุดในกรุงเทพมหานคร

ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยครอบงำมีอำนาจทางเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลไม่ได้สัดส่วนทั่วทั้งภูมิภาคเมื่อเทียบกับประชากรที่มีขนาดเล็ก[65] [66] [67] [16][68] [69] [70] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลมีบทบาทนำและครองการค้าและอุตสาหกรรมในทุกระดับของสังคม[71] มีประชากรไม่ถึงร้อยละ 10 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าชาวจีนโพ้นทะเลจะควบคุมการค้าปลีกในภูมิภาคถึงสองในสาม และถือหุ้นร้อยละ 80 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดตามมูลค่า[28] ร้อยละ 86 ของมหาเศรษฐีพันล้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อสายจีน[72] [73] สถานภาพชนกลุ่มน้อยของพ่อค้าคนกลาง ไหวพริบทางธุรกิจและการลงทุนที่เฉียบแหลม และความสามารถทางเศรษฐกิจของชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น " ยิวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[74] [75] [76] [77] ใน ค.ศ. 1991 ธนาคารโลกประมาณการว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดของชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 1996[78] ชาติพันธุ์จีนควบคุม 500 บริษัทใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยสินทรัพย์มูลค่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐและสินทรัพย์สภาพคล่องอีก 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ[79] ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและร่ำรวยที่สุดในเกือบทุกภูมิภาค รวมทั้งอัญมณียอดมงกุฎทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย

ชาวจีนโพ้นทะเลได้รับอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางนโยบายทุนนิยมปล่อยให้ทำไปที่นักอาณานิคมยุโรปนำมาใช้ซึ่งเอื้อต่อพ่อค้าคนกลางชาวจีน[80] อำนาจทางเศรษฐกิจที่ชาติพันธุ์จีนถือทั่วทั้งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรายได้ต่อหัวของภูมิภาค ความมีชีวิตชีวาของผลผลิตทางเศรษฐกิจ และความเจริญรุ่งเรืองโดยรวม อิทธิพลทางเศรษฐกิจอันทรงพลังและอิทธิพลที่ถือครองโดยชาวจีนทำให้คู่แข่งชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องยอมสยบทางเศรษฐกิจ[81] ปริมาณอำนาจเศรษฐกิจอย่างไม่ได้สัดส่วนที่ชาวจีนโพ้นทะเลถือครองนำมาซึ่งความเดียดฉันท์และขมข่นต่อธุรกิจชาติพันธุ์จีนในสังคมทุนนิยมตลาดเสรี ช่องว่างความมั่งคั่งมหาศาลและความยากจนในชนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ ความหวาดระแวง และคติต่อต้านจีนซึ่งเป็นการโทษความล้มเหลวในฐานะของตนต่อชาวจีน[82] ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายประเทศรับมือกับความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งนี้โดยการจัดตั้งเผด็จการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์หรือระบอบอำนาจนิยมเพื่อกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกันมากขึ้นโดยยึดฉวยมาจากชาวจีน รวมทั้งมีให้เอกสิทธิ์การยืนยันสิทธิประโยชน์ (affirmative action) แก่ชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเป็นอันดับแรก และมีการกำหนดการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยจีนเพื่อให้มีสมดุลอำนาจเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น[83] [84] [85]

วิกฤตการณ์การเงินในทวีปเอเชีย ค.ศ. 1997

รัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในทวีปเอเชีย ค.ศ. 1997 ริเริ่มกฎหมายควบคุมการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลวงใน นำไปสู่การเสียตำแหน่งผูกขาดจำนวนมากที่ถือครองโดยอภิชนธุรกิจชาติพันธุ์จีนมาอย่างยาวนาน และทำให้อิทธิพลของเครือข่ายไผ่อ่อนแอลง[86] หลังวิกฤต ความสัมพันธ์ทางธุรกิจมักขึ้นอยู่กับสัญญามากขึ้นแทนความไว้วางใจและสายสัมพันธ์ทางครอบครัวของเครือข่ายไผ่แบบเดิม[87]

คริสต์ศตวรรษที่ 21

หลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ธุรกิจต่าง ๆ ที่มีชาวจีนพลัดถิ่นเป็นเจ้าของเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์กับบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ องค์ประกอบหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับชาวจีนโพ้นทะเลคือเศรษฐกิจ เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเป็นแหล่งลงทุนและเงินทุนที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจจีน[19] ชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมเงินสดหรือสินทรัพย์สภาพคล่องสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในภูมิภาคและมีความมั่งคั่งจำนวนมากเพื่อกระตุ้นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโต[73] ชาวจีนโพ้นทะเลยังเป็นนักลงทุนโดยตรงรายใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่[88] ธุรกิจเครือข่ายไผ่ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกว่า 100,000 แห่ง และลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ในประเทศจีน โดยได้รับอิทธิพลจากชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาร่วมกัน[89] [90] ชาวจีนโพ้นทะเลยังมีบทบาทสำคัญในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับชาวจีนพลัดถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นยอดเยี่ยมและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอันเนื่องมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน ตลอดจนยึดมั่นในจริยธรรมและค่านิยมแบบจีนดั้งเดิม [91] ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันควบคุมมูลค่าเศรษฐกิจ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความมั่งคั่งรวม 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่จัดหาเงินทุนให้โครงการลงทุนต่างประเทศร้อยละ 80 ของจีนแผ่นดินใหญ่[45][44] นับตั้งแต่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังอาณานิคมได้กลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลระหว่างประเทศ[20] นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของจีนแผ่นดินใหญ่สู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้นำไปสู่การพลิกกลับในความสัมพันธ์นี้ เพื่อลดการพึ่งพาหลักทรัพย์กระทรวงการคลังสหรัฐ รัฐบาลจีนหันไปมุ่งเน้นการลงทุนต่างประเทศผ่านรัฐวิสาหกิจแทน ลัทธิคุ้มกันในสหรัฐทำให้บริษัทจีนหาซื้อสินทรัพย์อเมริกันได้ยากขึ้น และยิ่งเสริมความเข้มแข็งต่อบทบาทของเครือข่ายไผ่ในฐานะผู้รับการลงทุนจากจีนที่สำคัญ

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครือข่ายไผ่ http://factsanddetails.com/asian/cat66/sub418/entr... http://www.ft.com/cms/s/0/67554d8a-920f-11dc-8981-... http://www.kitco.com/commentaries/2015-06-30/Rober... http://digitalcommons.law.yale.edu/cgi/viewcontent... //www.jstor.org/stable/23462317 //www.worldcat.org/issn/1680-2012 http://econ.tu.ac.th/class/archan/RANGSUN/MB%20663... https://books.google.com/books?id=lTfWutnFbfkC&pg=... https://books.google.com/books?id=p0vxapmyvBsC&pg=... https://books.google.com/books?id=zbaVMDJG8SIC&pg=...