โครงสร้าง ของ เครือข่ายไผ่

เมื่อชุมชนชาวจีนเติบโตและพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมยุโรป วาณิชและอาชีพค้าขายชาวจีนจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจที่ซับซ้อนเพื่อการเติบโตและการอยู่รอด เครือข่ายธุรกิจที่ซับซ้อนเหล่านี้มอบทรัพยากรสำหรับการสะสมทุน สารนิเทศการตลาดและการกระจายสินค้าและบริการระหว่างชุมชนธุรกิจจีนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[21] ธุรกิจจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติมีครอบครัวหนึ่งเป็นเจ้าของและมีรูปแบบการ มักมีครอบครัวเป็นเจ้าของและบริหารจัดการผ่านระบบประจำแบบรวมศูนย์[4][22] [23] ครอบครัวกลายเป็นจุดสำคัญของกิจกรรมธุรกิจของบริษัท และจัดหาทุน แรงงานและการจัดการ จุดแข็งของบริษัทครอบครัวอยู่ที่ความยืดหยุ่นในการตัดสินใจและความทุ่มเทและความภักดีของกำลังแรงงาน โดยปกติธุรกิจเหล่านี้จะได้รับการจัดการในลักษณะ ธุรกิจครอบครัว เพื่อลดต้นทุนค่าธุรกรรมส่วนหน้าเมื่อมีการส่งมอบบริษัทจากรุ่นสู่รุ่น [24] [25] [26] โดยทั่วไปบริษัทหลายแห่งแสดงจิตวิญญาณผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง ความเป็นเครือญาติ ความเป็นผู้นำเด็ดขาด สัญชาตญาณ ความตระหนี่และลีลาตัดสินใจรวดเร็ว ตลอดจนการจัดการแบบพ่อปกครองลูก (paternalistic) และสายคำสั่งเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องกัน[27] [3][28] ตามแบบบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันขนาดใหญ่ที่พบมากในประเทศเอเชียตะวันออกอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ [29] การค้าและการเงินนั้นถูกชี้นำต่อการขยายระบบกงสีตามประเพณี และมีการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ สิ่งนี้ส่งเสริมการสื่อสารพาณิชย์และการโอนทุนที่ลื่นไหลมากขึ้นในภูมิภาคที่ระเบียบทางการเงินและนิติธรรมยังมีการพัฒนาอยู่น้อยเป็นส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [30] เครือข่ายไผ่ยังเป็นเครือข่ายข้ามชาติ หมายความว่า การเปิดช่องทางการเคลื่อนย้ายทุน สารนิเทศ และสินค้าและบริการสามารถส่งเสริมความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพโดยสัมพัทธ์กันระหว่างข้อตกลงอย่างเป็นทางการและธุรกรรมที่ดำเนินการโดยบริษัทที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ[31] ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ของขงจื้อ "กวนซี่" ซึ่งเป็นคำภาษาจีนแปลว่า การเพาะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเพื่อเป็นส่วนประกอบของความสำเร็จทางธุรกิจ[32] [33] [34] เครือข่ายไผ่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นปรัชญาจีนโบราณตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชที่ส่งเสริมหลักกตัญญู (孝) และปฏิบัตินิยมในบริบทธุรกิจ[35] [36] [37] ลัทธิขงจื้อยังคงเป็นพลังทางปรัชญาที่มีความชอบธรรมในการคงอัตลักษณ์บรรษัทและสวัสดิการสังคมของบริษัท นอกจากนี้ ยังมีการระบุว่าการหล่อเลี้ยงกวนซี่เป็นสาเหตุให้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบร่วมมือในเครือข่ายไผ่[38] [39] สำหรับชาวจีน เครือข่ายที่เข้มแข็งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญของวัฒนธรรมธุรกิจของจีนเสมอมา ตามความเชื่อของลัทธิขงจื๊อว่าคนคนเดียวไม่สามารถอยู่รอดได้โดยลำพัง[1]

เครือข่ายไผ่เป็นรูปแบบองค์การเศรษฐกิจที่โดดเด่น ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการชาติพันธุ์จีน ผู้ค้า นักลงทุน นักการเงินและธุรกิจครอบครัว ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจที่ถักทออย่างใกล้ชิดค่อย ๆ ขยายตัวขึ้น และเข้ามามีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[40] เครือข่ายไผ่ยังก่อให้เกิดโครงสร้างตั้งต้นของบริษัท ตระกูลและหมู่บ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ครอบครัวและถิ่นกำเนิดของชาติพันธุ์โดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่ทั่วโลก[41] การมีมรดกทางชาติพันธุ์ร่วมกันภาษาที่ใช้ร่วมกันความผูกพันในครอบครัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลต้องทำธุรกิจร่วมกันมากกว่าที่จะทำธุรกิจร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [42] บริษัท ที่ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นเจ้าของเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจและครอบงำภาคธุรกิจเอกชนในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน [9][43][44]

คนเข้าเมืองชายชาวจีนจำนวนมากใช้แรงงานในสวนยางพาราและเหมืองดีบุกของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในขณะที่คนอื่นๆ ตั้งร้านเสบียงเล็ก ๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ[24]

คนเข้าเมืองชาวจีนที่เป็นผู้ประกอบการจำนวนมากถูกดึงดูดด้วยคำมั่นความมั่งมีและลาภทรัพย์มหาศาล ขณะที่คนเข้าเมืองอื่น ๆ ถูกผลักดันด้วยทุพภิกขภัยและสงคราม พ่อค้า ช่างมีมือและกรรมกรไร้ที่ดินชาวจีนข้ามทะเลมาเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่เพื่อค้นหาโชคชะตาทางการเงินของพวกตน[24] พวกเขาตั้งไชน่าทาวน์เพื่อสนับสนุนตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน แม้ว่าจะประสบความยากลำบากเหลือคณา แต่ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนจำนวนมากผุดขึ้นด้วยความมัธยัตถ์ ความฉลาดในเขิงธุรกิจ และไหวพริบการลงทุน ระเบียบวินัย การมีมโนธรรม และความมุมานะถีบตัวเองให้พ้นจากความยากจน ชาวจีนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนึกการเป็นผู้ประกอบการและการทำงานหนักเริ่มจากธุรกิจขนาดเล็ก เช่น ร้านซักรีด ร้านอาหาร ร้านของชำ ปั้มน้ำมัน และค่อย ๆ สร้างตนเป็นผู้ประกอบการ นักการเงิน และนายหน้าเต็มตัว ซึ่งเข้ามาคุมบ่อนการพนัน คาสิโนและอสังหาริมทรัพย์[45]

นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่ก่อรูปวงการธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีนิยายความสำเร็จจากยากจนมาร่ำรวย เช่น Robert Kuok นักธุรกิจชาวจีนชาวมาเลเซีย, Liem Sioe Liong มหาเศรษฐีพันล้านชาวอินโดนีเซีย และนักธุรกิจใหญ่ฮ่องกง Li Ka-shing ประวัติธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของ Robert Kuok นั้นคล้ายคลึงกับนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่มีชื่อเสียงหลายคนซึ่งปูทางให้ฉากธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงศตวรรษที่ 20 กลุ่มบริษัทของ Kuok นั้นประกอบด้วยเครือข่ายบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนที่ซับซ้อน ทรัพย์สินจำนวนมากของเขา เช่น Wilmar International บริษัทผู้ค้าน้ำมันปาล์ม, PPB Group Berhad โรงโม่น้ำตาลและแป้ง, เครือโรงแรมแชงกรี-ลาในฮ่องกง, บริษัทขนส่งทางเรือยักษ์ Pacific Carriers, บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Kerry Properties และเดิมยังมีผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (ภายหลังขายให้กับ อาลีบาบา[46]) คิดมูลค่ารวมประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] ผู้ประกอบการเหล่านี้จำนวนมากมีจุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อยและมีความมั่งคั่งเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย สร้างธุรกิจจากศูนย์และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจท้องถิ่นไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มได้รับความมั่งคั่งและสร้างความมั่งคั่งจากธุรกิจที่ไม่น่าสนใจ เช่น ร้านขายน้ำตาลที่หัวมุมถนนในมาเลเซีย ร้านก๋วยเตี๋ยวหมู่บ้านในอินโดนีเซีย และเปิดโรงงานผลิตดอกไม้พลาสติกในฮ่องกง ต่อมา หลายคนเข้ามาประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และนำกำไรมาลงทุนในธุรกิจที่ดูทำกำไร[3] ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้จำนวนมากพัฒนาไปสู่กลุ่มบริษัทขนาดมหึมา ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายที่จัดอยู่ในบริษัทลูกที่มีความหลากหลายสูงนับสิบแห่ง[43] ในยุคโลกาภิวัตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้ปรับการดำเนินธุรกิจในประเทศของพวกตนให้เข้ากับโลภาภิวัฒน์อย่างแข็งขัน และวางตนเป็นผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจที่หลากหลายในระดับโลก เช่น บริการการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การผลิตเครื่องนุ่งห่ม และเครือโรงแรม[47] ทำให้มีอาณาจักรธุรกิจจีนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ทวีปเอเชียไปจนถึงประเทศเม็กซิโก[48] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้เล่นหลักในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ตั้งธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [49] [50] [9] [19] กิจกรรมทางธุรกิจส่วนใหญ่ของเครือข่ายไม้ไผ่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ ของภูมิภาค เช่น มัณฑะเลย์ จาการ์ตา สิงคโปร์ กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ นครโฮจิมินห์ และมะนิลา[51]

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครือข่ายไผ่ http://factsanddetails.com/asian/cat66/sub418/entr... http://www.ft.com/cms/s/0/67554d8a-920f-11dc-8981-... http://www.kitco.com/commentaries/2015-06-30/Rober... http://digitalcommons.law.yale.edu/cgi/viewcontent... //www.jstor.org/stable/23462317 //www.worldcat.org/issn/1680-2012 http://econ.tu.ac.th/class/archan/RANGSUN/MB%20663... https://books.google.com/books?id=lTfWutnFbfkC&pg=... https://books.google.com/books?id=p0vxapmyvBsC&pg=... https://books.google.com/books?id=zbaVMDJG8SIC&pg=...