ประวัติศาสตร์ ของ เครือข่ายไผ่

เครือข่ายไผ่ของจีนในต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการชุบชีวิตพาณิชย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังยุคอาณานิคมกลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ชาวจีนครองชีวิตการค้าและการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและเจริญรุ่งเรืองกว่าชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานหลายร้อยปีก่อนยุคอาณานิคมยุโรปเสียอีก[52] [53]

อิทธิพลพาณิชย์ของพ่อค้าวาณิชชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นอย่างน้อย เมื่อมีการส่งคณะทูตอย่างเป็นทางการไปยังประเทศต่าง ๆ ในทะเลใต้ ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่โดดเด่นและมั่นคงได้กลายเป็นลักษณะประจำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในเมืองท่าสำคัญของอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม[54] กว่า 1500 ปีที่แล้ว พ่อค้าชาวจีนเริ่มแล่นเรือไปทางใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อค้นหาโอกาสทางการค้าและความมั่งคั่ง พื้นที่เหล่านี้เรียกว่า หนานหยางหรือทะเลใต้ ผู้ที่ออกจากจีนจำนวนมากเป็นชาวจีนฮั่นใต้ที่ประกอบด้วยชาวฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง แคะ และไหหลำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากจังหวัดชายฝั่งทางตอนใต้ของจีน หลัก ๆ คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และไหหลำ[55] ชาวจีนตั้งด่านค้าขายเล็ก ๆ ซึ่งในเวลาต่อมาเติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนได้เข้าควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรอบหลายศตวรรษที่ผ่านมา ช่วงเวลาการอพยพออกจากจีนอย่างหนักจะส่งคลื่นชาวจีนเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปกติมักประจวบกับสภาพที่ย่ำแย่มากเป็นพิเศษ เช่น ความขัดแย้งของราชวงศ์ครั้งใหญ่ การก่อการกำเริบทางการเมือง ทุพภิกขภัย และการรุกรานบ้านเกิด[56] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือจีน เจิ้งเหอ ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อ นำกองเรือจำนวน 300 ลำไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างการเดินทางสมบัติหมิง[53] ในระหว่างการสำรวจทางทะเลของเขาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจิ้งค้นพบดินแดนชาวจีนโพ้นทะเลที่เจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วบนเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ การค้าต่างประเทศในอาณาจักร Tabanan ในอินโดนีเซียปัจจุบัน ดำเนินการโดยชาวจีนที่ร่ำรวยเพียงคนเดียวในตำแหน่งที่เรียกว่า subandar ซึ่งผูกขาดให้เจ้าเพื่อแลกกับบรรณาการจำนวนพอควรโดยมีชาวจีนด้วยกันเองเป็นนายหน้า[57] [58]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1500 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนที่พวกเขาได้พัฒนาเครือข่ายไผ่ในเชิงยุทธศาสตร์ที่ก้าวข้ามพรมแดนของประเทศ[9] ชาวจีนเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทำการค้าเพียงกลุ่มเดียวในหลาย ๆ กลุ่ม รวมทั้งคุชราตอินเดีย เชตเทียร์ โปรตุเกส และญี่ปุ่น จนถึงกลางศตวรรษที่ 17 ต่อจากนั้น ความเสียหายต่อเครือข่ายการค้าของคู่แข่งอย่างอังกฤษและดัตช์ในมหาสมุทรอินเดียทำให้ชาวจีนผู้คิดริเริ่มเข้าสวมบทบาทที่ญี่ปุ่นเคยครอบครองในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1630 ในไม่ช้า ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายเป็นผู้ซื้อและผู้ขายที่ขาดไม่ได้แต่เพียงผู้เดียวให้กับบริษัทยุโรปขนาดใหญ่[59] เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1700 ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยทางการค้าที่ไม่มีใครเทียบได้ในทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค[60][54][61] การทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เปิดรับคนเข้าเมืองชาวจีนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจีนตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใหญ่ที่สุดคือ ฮักกาจากฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง[62] [7] การเพิ่มขึ้นอย่างมากของประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นในช่วงกลางคิรสต์ศตวรรษที่ 18[63] ผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนจากทางตอนใต้ของจีนตั้งรกรากในกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน และเวียดนาม[35] ในจำนวนนี้บ้างก่อตั้งสาธารณรัฐที่มีเอกสารอย่างดีอย่างน้อยหนึ่งแห่งในฐานะรัฐสาขาในสมัยราชวงศ์ชิง คือ สาธารณรัฐหลานฟาง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1777 ถึง 1884 ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองจีน ใน ค.ศ. 1949 ซึ่งบังคับให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องอพยพออกนอกประเทศจีนทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายไผ่จีนโพ้นทะเล[51][43] [64]

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครือข่ายไผ่ http://factsanddetails.com/asian/cat66/sub418/entr... http://www.ft.com/cms/s/0/67554d8a-920f-11dc-8981-... http://www.kitco.com/commentaries/2015-06-30/Rober... http://digitalcommons.law.yale.edu/cgi/viewcontent... //www.jstor.org/stable/23462317 //www.worldcat.org/issn/1680-2012 http://econ.tu.ac.th/class/archan/RANGSUN/MB%20663... https://books.google.com/books?id=lTfWutnFbfkC&pg=... https://books.google.com/books?id=p0vxapmyvBsC&pg=... https://books.google.com/books?id=zbaVMDJG8SIC&pg=...