ทายาท ของ เจ้าอนุวงศ์

พระมเหสีและพระสนม

เจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระมเหสีและพระชายาดังต่อไปนี้

  • พระอรรคเทพีคำป้อง (คำปล้อง) พระมเหสีฝ่ายขวา[23]
  • พระอรรคเทพีคำจันทร์ (คำจัน) พระมเหษีฝ่ายซ้าย
  • พระนางสอนเทวี พระราชธิดาในพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองละครหรือเมืองนครพนม ต้นสกุล มังคละคีรี (พระราชทาน) เมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์เสร็จสิ้นสยามได้เชิญพระนางไปเป็นนางห้ามในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพพระมหานคร[24]
  • เจ้านางบุษบา (บุษบา)
  • เจ้านางคำใส
  • เจ้านางทองดี
  • เจ้านางออน
  • เจ้านางดวงแก้ว ต้นสกุลวงษ์แก้ว ขุนนรินทร์เรืองเดชผู้เป็นโอรสที่ ๔ ของเจ้าอนุวงศ์ ได้ขอให้พระราชทานต้นสกุลนี้ตั้งแต่นั้นมา
  • ญาแม่หมานุย (นุย) ชาวเมืองร้อยเอ็ดออกพระนามว่า ญาแม่อุปฮาต เป็นพระธิดาในพระยาขัติยวงศาพิสุทธิบดี (สีลัง) ต้นสกุล ธนสีลังกูร (พระราชทาน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดองค์ที่ ๒ บ้างก็กล่าวว่านางเป็นหม่อมของเจ้ามหาอุปฮาตเวียงจันทน์ บ้างก็กล่าวว่านางเป็นหม่อมของเจ้าอนุวงศ์ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้ามหาอุปฮาตเวียงจันทน์
  • เจ้านางคำเพา (เพา) บ้างก็กล่าวว่าเป็นพระราชธิดาในเจ้าอนุวงศ์ บ้างก็กล่าวว่าเป็นแต่เพียงหม่อมห้ามนางกำนัน ฝ่ายตำนานเมืองวังของชาวภูไทแขวงสุวรรณเขตกล่าวว่า ทรงเป็นพระสนมเก่าที่เจ้าอนุวงศ์พระราชทานมาให้พระยาศรีวรราช (ก้า) เจ้าเมืองวัง เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีกับกลุ่มเจ้านายภูไท

พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา

เจ้าอนุวงศ์ยังทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดา ดังต่อไปนี้

  • เจ้าสุทธิสาร (โป้) หรือเจ้าสิทธิสาร (โป๋) เอกสารบางฉบับออกพระนามว่า เจ้าสุทธิราช ต้นสกุล สิทธิสาริบุตร (พระราชทาน) ทรงมีพระโอรสกับหม่อมใดไม่ปราฏนาม ๑ พระองค์คือ
    • เจ้ารูป (ฮูป) นอกจากนี้เจ้าสุทธิสาร (โป้) ยังทรงมีพระโอรสพระธิดาอันประสูติแต่เจ้านางศิริประภาอีก ๓ องค์ ได้แก่
    • เจ้าช่วย
    • เจ้าพรหมา
    • เจ้านางทอง
  • เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) หรือเจ้าเง่า ในเอกสารเพ็ชร์พื้นเวียงจันทน์กล่าวว่า ทรงอภิเษกกับพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดินญวณและเป็นพระเจ้านครเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ทรงมีหม่อมที่ได้รับถวายจากเจ้าเมืองร้อยเอ็ดนาง ๑ คือ อาชญานางอ่อม ธิดาในพระรัตนวงศามหาขัติยราช (โอ๊ะ) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทศราช นางได้ถวายตัวเป็นหม่อมเมื่อครั้งเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เสด็จไปทำศึกกู้เอกราชช่วยพระราชบิดาพร้อมกันกับเจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ทรงมีพระราชโอรสอันประสูติแต่นางใดไม่ปรากฏนามคือ
    • เจ้าสีหาราช ต้นสกุล สีหราช ในประเทศลาว เจ้าสีหาราชทรงมีพระโอรส ๓ พระองค์คือ
      • เจ้าคำบง
      • เจ้าบุญเหลือ
      • เจ้าสมทอง ทรงมีพระโอรสพระธิดารวม ๗ องค์ ที่ปรากฏนามคือ
        • ท้าวสมอก สีหราช หรือท้าวอนุวงศ์ เศษฐาธิราช ผู้ตั้งสกุล เศษฐาธิราช ในประเทศลาว ท้าวสมอก สีหราช สมรสกับนางอุไรวรรณ (อุไรวัน) เศษฐาธิราช เชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์หลวงพระบาง และมีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ
          • ท้าวฟ้าไชย เศษฐาธิราช
          • ท้าวฟ้าหงุ่ม เศษฐาธิราช
  • สมเด็จเจ้าราชบุตร (โย้) หรือเจ้าโย่ พระเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ทรงมีพระราชโอรสคือ
    • เจ้าอุปฮาต (คำป้อม) อุปฮาตแห่งนครจำปาศักดิ์[25]
    • เจ้าแก้ว
  • เจ้าหมื่นนาม หรือท้าวหมื่นนาน ทรงประสูติแต่พระนางสอนเทวี สิ้นพระชนม์เมื่อครั้งสงครามสยามเผาเวียงจันทน์ และปรากฏพระนามในเอกสารพื้นเวียง
  • เจ้าเต้
  • เจ้าชัยสาร (ไชยสาร)
  • เจ้าเถื่อน
  • เจ้าคลี่ (คี่) หรือเจ้าคี่เหี่ย ทรงสมรสกับเจ้านางท่อนแก้ว พระธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) มีพระราชธิดาด้วยกันคือ
  • เจ้าปาน
  • เจ้าเสือ ทรงสมรสกับเจ้านางท่อนแก้ว และยังเป็นที่ถกเถียงว่าเจ้านางท่อนแก้วทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับพระธิดาเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) หรือไม่ เจ้าเสือและเจ้านางท่อนแก้วทรงมีพระราชโอรสคือ
    • เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล (หน่อคำ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทษราชพระองค์สุดท้าย ต้นสกุล พรหโมบล (พระราชทาน), พรหมเทพ, เทวานุเคราะห์ (พระราชทาน)
  • เจ้านางดวงจันทร์ (แก้วจันทร์) สยามได้พาพระองค์เสด็จมาประทับที่หัวเมืองสุพรรณบุรี พร้อมกับเจ้านายลาวอีกหลายพระองค์ในคราวสงครามเจ้าอนุวงศ์ ต่อมาได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ บ้านดอนมะขาม (ไผ่ขวาง) อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาทายาทบุตรหลานในชั้นหลังจึงตั้งนามหนองน้ำใหญ่ใกล้ที่ประทับเพื่อระลึกถึงพระองค์ว่า หนองยายจันทร์
  • เจ้าช้าง
  • เจ้าอึ่งคำ (อึ่ง)
  • เจ้าสุวรรณจักร
  • เจ้าขัติยะ
  • เจ้าพุทธชาติ
  • เจ้าปัน (ปั้น)
  • เจ้าดิศพงษ์
  • เจ้านางหนูจีน มีทรงมีพระโอรสคือ
  • เจ้าสุพรรณ
  • เจ้านางคำวัน (คำแว่น) ทรงอภิเษกกับพระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมาร เจ้าผู้ครองนครเชียงขวาง หรืออาชญาน้อยเมืองพวน ทรงมีพระราชโอรสด้วยกัน คือ
    • เจ้าโป้
    • เจ้าอึ่ง
    • เจ้าอ่าง ทรงมีพระโอรสคือ
      • เจ้าคำโง่น ทรงมีพระโอรสคือ
        • เจ้าสายถะหวิน ทรงสมรสกับหม่อมเต็มคำ และมีพระโอรสด้วยกันคือ
          • เจ้าชอบไชชะนะ สุดทะกะกุมาน อดีตราชเลขาประจำพระราชวังหลวงพระบางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์, อดีตเจ้ากรมพิธีการมณเฑียรบาล, ประธานสภาและผู้แทนราษฎร ๔ ชุดของแขวงเชียงขวาง, เอกอัครราชทูตและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลแห่งพระราชอาณาจักรลาว[26] นอกจากนี้ พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมาร ยังทรงมีพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์ประสูติแต่พระมเหษีไม่ปรากฏพระนามคือ เจ้าทับ และ เจ้าพมมา (พรหมา)
  • เจ้านางคำแพง
  • เจ้านางเชียงคำ
  • เจ้านางหนู อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้านางหนูจีน
  • เจ้านางประทุม หรือเจ้าจอมประทุม ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมพระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพพระมหานคร
  • เจ้านางจันทร์โสม หรือเจ้าจอมมารดาจันทร์โฉม ได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน ๑ พระองค์ คือ
  • เจ้านางลาวช่อฟ้า (คำเพา) หรือพระนางลาว เรื่องราวเกี่ยวกับพระนางยังเป็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ ตำนานเมืองวัง ในประเทศลาวกล่าวว่า ทรงเป็นพระชายาของพระยาศรีววราช (ก้า) เจ้าเมืองวังอ่างคำ ต้นสกุล แก้วมณีไชย, แก้วมณีชัย, แก้วมณี, อินทร์ติยะ ในอำเภอเรณูนคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกันคือ

พระราชนัดดาและพระราชปนัดดาที่ไม่ปรากฏพระนามพระบิดาและพระมารดา

สมเด็จเจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชนัดดาและพระราชปนัดดาที่ไม่ทราบว่าประสูติแต่พระราชโอรสพระราชธิดา หรือพระราชนัดดาพระองค์ใด ดังนี้[27]

  • เจ้ามหาอุปฮาต (เอม) เจ้าอุปราชนครเวียงจันทน์
  • เจ้าสุริยะ กรมการนครเวียงจันทน์
  • เจ้าสุวรรณ
  • เจ้าสุพรรณ อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าสุวรรณ
  • เจ้าสุพล
  • เจ้าโหง่นคำ (ง่อนคำใหญ่)
  • เจ้ากำพ้า (กำพร้า)
  • เจ้าโถง
  • เจ้าอ้ง อาจเป็นพระองค์เดียวกับเจ้าอัง พระโอรสในเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ)
  • เจ้าบุตร์ (บุตร)
  • เจ้าบุ
  • เจ้าป่าน อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าปาน
  • เจ้าพงษ์ อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าดิศพงษ์ พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์
  • เจ้าหลอด
  • เจ้าดี
  • เจ้าคุณปลัด (คุณพ่อปลัด) ผู้นำชุมชนชาวลาวจากนครเวียงจันทน์ บ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต้นสกุล กุลวงศ์ ต่อมาบุตรหลานได้รับราชการบรรดาศักดิ์ แล้วแยกออกมาตั้งสกุลต่างๆ ได้แก่ หงษ์เวียงจันทร์ เหมเวียงจันทร์ พันธุ์จันทร์ นนท์ช้าง นนท์แก้ว ยศวิชัย ปลัดม้า ตุ่มศรียา ทองเรือนดี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจ้านายองค์นี้ยังคงมีข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์อยู่ว่า เป็นทายาทของเจ้าอนุวงศ์จริงหรือไม่

ใกล้เคียง

เจ้าอนุวงศ์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าอุบลวรรณา เจ้าอาวาส เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่