ราชสกุลวงศ์ที่ใกล้ชิด ของ เจ้าอนุวงศ์

สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร หรือ สมเด็จบรมบพิตรมหาบุรีไชยเสฏฐาธัมมิกราช หรือ สมเด็จบรมบพิตรพระโพสาธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช พระเป็นเจ้านครเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ บ้างออกพระนามว่าเจ้าธรรมเทวงศ์ หรือ เจ้าองค์บุญ พระราชบิดาในเจ้าอนุวงศ์ ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดา ได้แก่

  • สมเด็จพระเจ้านันทเสน ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
  • สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
  • เจ้าอนุวงศ์ ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
  • เจ้ามหาอุปฮาต (พรมวงศ์) ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
  • เจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) ประสูติแต่พระสนมหรือบาทบริจาริกา
  • เจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงศา ประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี[28]
  • เจ้าหน่อกะบอง หรือเจ้าพงษ์กะบอง ประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี
  • เจ้าพระยาหลวงเมืองแสน
  • เจ้าพระยาคำหาญอาสา
  • เจ้าพระยาจันทอง
  • เจ้าพระยาละคอนมหาโคตร
  • เจ้าพระยาศรีสัตนาคธรรมมา
  • เจ้าพระยาจันทรสุริยามหาเดชา
  • เจ้าสิริธรรมา
  • เจ้าคำโผย หรือเจ้าคำโปรย
  • เจ้าคำทอง หรือเจ้าแผ่นหล้า
  • เจ้าคำปุ่นบุญล่วง
  • เจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์
  • เจ้านางเขียวค้อม ในพงศาวดารเมืองยโสธรกล่าวว่าเป็นพระธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ดวงหน้า) ถูกส่งไปถวายพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี ในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร แต่นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์[29]
  • เจ้านางแก้วกุมมารี หรือเจ้าหน่อน้อยกุมมารี ทรงประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี
  • เจ้าหน่อเมือง ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ออกพระนามว่า เจ้าองค์นาง เป็นราชบุตรีที่ส่งไปถวายเป็นบาทบริจาริกาในพระเจ้ากรุงอังวะเมืองม่าน

สายสมเด็จพระเจ้านันทเสน

สมเด็จพระเจ้านันทเสน หรือ พระเจ้านันทะเสนราชพงษมะลาน เจ้าพระนครเวียงจันทบุรี พระนามเดิมว่าเจ้านัน มีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ

สายสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์

สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ หรือ พระไชยเชษฐาธิราชชาติสุริยวงศ์องค์อัคธิบดีนทระณรินทรามหาจักรพรรดิราช บรมนาถบพิต สถิดเปนพระเจ้ากรุงจันทบุรีย ศรีสัตะนาคณหุตวิสุทธิอุดมบรมรัตนธานีศรีมหาสถาน พระนามเดิมว่าเจ้าอิน นักวิชาการทั่วไปออกพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๔ ทรงมีพระอัครมเหสีปรากฏพระนามว่า พระนางคำมูลราชเทวี ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน คือ

  • เจ้านางคำสุก หรือเจ้าจอมมารดาทองสุก (บ้างก็ว่าเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้านันทเสน พระราชเชษฐาของสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์) ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงเทพพระมหานคร มีพระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ
    • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี หรือพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชชายานารี เจ้าฟ้าหญิงกุลฑลทิพยวดี สมเด็จพระอรรคมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกัน ๔ พระองค์คือ
      • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายอาภรณ์ ต้นราชสกุล อาภรณ์กุล ณ อยุธยา
      • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ หรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายกลาง ต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา
      • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
      • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายปิ๋ว

สายเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ)

สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) ทรงเป็นอุปราชแห่งนครเวียงจันทน์ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ แต่มิทรงเข้าร่วมต่อต้านอำนาจสยามกับเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายสยามจึงทรงอุปการะบุตรหลานของพระองค์ไว้ สมเด็จเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ

สายเจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน)

เจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) เป็นพระราชพระอนุชาต่างพระราชมารดากับเจ้าอนุวงศ์ บ้างก็กล่าวว่าอาจเป็นองค์เดียวกับเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) เคยร่วมกับเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ช่วยทัพเจ้าอนุวงศ์เข้าตีหัวเมืองอีสานที่กระด้างกระเดื่องเมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชจากสยาม ทรงมีหม่อมปรากฏนามอยู่ ๓ นาง ซึ่งได้รับการถวายจากเจ้าเมืองร้อยเอ็ดเมื่อครั้งเดินทางไปทำศึก ทั้งหมดล้วนเป็นพระธิดาของพระยาขัติยวงศ์พิสุทธิธิบดี (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ต้นสกุล ธนสีลังกูร หม่อมทั้ง ๓ นาง ปรากฏนามดังนี้

  • อาชญานางหมานุย (หมานุ้ย)
  • อาชญานางตุ่ย (ตุ่ม)
  • อาชญานางแก้ว

สายเจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตร

เจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตรหรือเจ้าบุตรโคตร ทรงมีพระนามเต็มว่า เจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตรวังศาเสดถะบัวระพาสุวัณณไชยปุคคละ ทรงถูกเชิญเสด็จไปกรุงอังวะพร้อมกับเจ้าหน่อเมืองหรือเจ้าองค์นาง ทรงเป็นพระบิดาในเจ้าพระยานาเหนือ (คำมุกหรือคำบุก) หรือเจ้าพระยาแสนศรีสุวัณณไชยปุคคละ ต้นตระกูล บุคคละ และทรงเป็นพระปัยกาของเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) เจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) มีพระชายาและหม่อมคือ

  • อาชญานางบุคคะลี (เจ้านางโมคคัลลี)
  • อาชญานางเทพคัณฑี
  • อาชญานางสุวรรณ์คำสุก

เจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) ทรงมีพระโอรสพระธิดา คือ

  • เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)[33] เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระมหาธาตุพนมพระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ทรงเป็นต้นตระกูล รามางกูร และ รามางกูร ณ โคตะปุระ มีพระชายาพระนามว่า เจ้านางยอดแก้วสิริบุญ หรือญาแม่โซ่นศรีบุญมา พระธิดาในเจ้าอุปละ (สีสุมังค์) กรมการเมืองธาตุพนม พระนัดดาในพระยากางสงคราม (คำวิสุด) แห่งเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) และเจ้านางยอดแก้วสิริบุญมา ทรงมีพระโอรส คือ
  • เจ้านางจันทร์ทิพย์ สมรสกับ อาชญาท้าวโพธิสาร กรมการเมืองมุกดาหาร
  • เจ้านางจันทรา สมรสกับ หลวงทศทิศพนมธานี (ทศ ทศศะ) กรมการเมืองมุกดาหาร ต้นตระกูล ทศศะ จันทศ และ จันทร์ทศ
  • เพียสีสุตตา (สุตตา)
  • ท้าวอรรคฮาต (คำมา)
  • พระศรีราชา (สีหาราช)
  • พระเทพพุทธา (จารย์บุดดา)
  • ท้าววรบุตร (น้อยคำ) อพยพไปอยู่เมืองดอนโขง
  • นางจันทร์คำสว่างหล้า
  • นางจันทร์ศรีสว่างโลก
  • ท้าวสีหาราช
  • ท้าวธรรมโนลา
  • ท้าวเทพพะนม
  • นางดวงคำจันทร์
  • นางศรีเวียง
  • นางศรีคำลาด
  • นางแสนมะนีสุก
  • นางสุทธสุดา

สายเจ้าแสนปัจจุทุม

สายนี้เป็นสายที่มีปัญหามากที่สุดในการนับลำดับวงศ์สกุล เจ้าแสนปัจจุทุม รับราชกาลที่เมืองธุรคมหงส์สถิต แขวงนครเวียงจันทน์ ตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าสิริบุญสาร แต่ขัดแย้งกันกับเอกสารพื้นเมืองหลายฉบับ เจ้าแสนปัจจุทุมมีพระราชโอรสคือ

๑. เพียเมืองแพน (พันหรือศักดิ์)[34] เจ้าเมืองรัตนนคร ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นองค์แรก บ้างก็ว่าเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว เป็นต้นตระกูล เสนอพระ, อุปฮาด, นครศรีบริรักษ์ มีโอรสธิดาคือ

  • อาชญานางคำแว่น หรือเจ้าจอมแว่น (ท้าวเสือหรือคุณเสือ) ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรี เจ้าจอมแว่นเป็นผู้อนุบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกุลฑลทิพยวดี พระราชธิดาในเจ้าจอมมารดาทองสุก
  • เพียวรบุตร กรมการเมืองขอนแก่น มีภริยาชื่อนางน้อย มีบุตรคือ หลวงศรีวรวงศ์ (อู๋หรืออุ) ท้าวอู๋นี้ต่อมาได้เป็นราชบุตร์เมืองขอนแก่น ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ที่ พระนครศรีบริรักษ์เจ้าเมืองขอนแก่นฝ่ายเมืองใหม่ (บ้านดอนบม) ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครศรีบริรักษ์บรมราชภักดีศรีศุภสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นและจางวางราชการเมืองขอนแก่น ท้าวอู๋เป็นต้นตระกูล นครศรี
  • ธิดาไม่ทราบนาม เป็นหม่อมของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้งหรือคำบัง) เจ้าเมืองขอนแก่น

นอกจากนี้ เพียเมืองแพนยังมีหลานอีกผู้หนึ่งไม่ทราบว่าเกิดแต่บุตรธิดาท่านใดคือพระราชวงษา ต่อมาได้เป็นราชวงศ์เมืองขอนแก่น

๒. เจ้าแสนแก้วบูฮม (แก้วมงคลหรือแก้วบรม) เอกสารบางฉบับออกนามว่า ท้าวจารย์แก้ว ตำนานเมืองมุกดาหารกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์จันทรสุริยวงศ์ เจ้าเมืองหลวงโพนสิม ตำนานเมืองร้อยเอ็จกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์หวด เจ้าเมืองโขง ส่วนเมืองขอนแก่นตำนานหนึ่งเห็นว่าเป็นพี่น้องกับเพียเมืองแพน อีกตำนานหนึ่งเห็นว่าเพียเมืองแพนเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว ท้าวจารย์แก้วเป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิหรือเมืองท่ง (เมืองสะพังสี่แจเก่า) บ้างก็ว่าพระองค์ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าศรีวิชัยหรือเจ้าศรีวรมงคล เป็นราชนัดดาในเจ้าวรวังโสหรือเจ้าศรีวรวังโสราชโอรสในพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งนครหลวงพระบาง กับเจ้านางยอดคำทิพย์แห่งนครเชียงใหม่ เจ้าจารย์แก้วเป็นต้นตระกูล ธนสีลังกูร, ณ ร้อยเอ็จ, ขัติยวงศ์, เรืองสุวรรณ บุตรหลานของพระองค์แยกอออกไปตั้งเมืองร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ มหาสารคาม กันทรวิชัย ชลบถวิบูลย์ ศีรษะเกศ หนองหาร พุทไธสงค์ ฯลฯ ทรงมีพระโอรสคือ เจ้าหน่อคำเจ้าผู้ครองนครน่าน๑ พระรัตนวงศา (เจ้ามืดกำดล) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์ราชบุรี๑ พระขัตติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด๑ พระนครศรีบริรักษ์ (คำบังหรือคำบ้ง) เจ้าเมืองขรแก่น๑ พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขรแก่น๑

พระขัตติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) มีพระโอรสคือ พระยาขัตติยวงษา (สีลัง) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด๑ พระรัตนะวงษา (ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์๑ พระรัตนวงษา (อ่อนหล้า) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์๑ [35] ฝ่ายพระยาขัตติยวงษา (สีลัง) มีบุตร์ธิดา ๑๔ คนคือ

๑. พระพิไชย์สุริวงศ์ (เจ้าโพนแพง) เจ้าเมืองโพนพิไสย์ (โพนพิสัย)

๒. พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหาร (หนองหาน)

๓. พระขัติยะวงสา เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด

๔. นางแก้วนพรัตน์ หม่อมของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ (คูประทายสมันต์)

๕. ท้าวมหาพรหม (ยาง) เจ้าเมืองวาปีประทุม (วาปีปทุม)

๖. ท้าวอุปฮาต (ก่ำ) เมืองฮ้อยเอ็ด

๗. ท้าวจอม เมืองฮ้อยเอ็ด

๘. นางหมานุ้ย (หมานุย) หม่อมในเจ้าอุปฮาด ต้นตระกูล ภวภูตานนท์, ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

๙. นางอุสาวะดี หม่อมของเจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด

๑๐. พระเจริญราชเดช (เฮืองหรือฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ ๒ ต้นตระกูล เรืองสุวรรณ

๑๑. นางแหน้น หม่อมของพระปทุมวิเสส เจ้าเมืองคันธวิไชย์หรือเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) ต้นตระกูล สุวรรณเลิศ

๑๒. ท้าวมหาราช (ทองคำ) นายอำเภอเมืองมหาสารคาม มีบุตรคือ นายมหาราช (พิมพา)๑ นายไชยวงศา (พรหมา)๑ นายโพธิราช (สีนุย)๑ นายเจริญรัตนะ (บุญมี)๑ ขุนพิไลย์ (หนู)๑ ฝ่ายนายเจริญรัตน์หรือนายเจริญรัตนะ (บุญมี) มีบุตรเกิดจากนางเอี่ยม ๖ คนคือ

  • นายจารุมุกด์ เรืองสุวรรณ
  • นายจารุพิทูรย์ เรืองสุวรรณ
  • นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ
  • นายจารุเดือน เรืองสุวรรณ (พตอ. จารุอรรถ เรืองสุวรรณ)
  • นายจารุดาว เรืองสุวรรณ (พท.ดร. จารุภัทร เรืองสุวรรณ)

๑๓. ท้าวจันโท (โล้น) อุปฮาตเมืองโกสุมพิสัย ต้นตระกูล ขัติยะ

๑๔. ท้าวสุวรรณกุมาร บ้านหนองดอกแป้น เมืองกาฬสินธุ์

พระนครศรีบริรักษ์ (คำบัง) บ้างออกนามว่า ท้าวคำบ้งหรือท้าวคำบุ่ง เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นและเป็นบุตร์เขยเมืองแพนหรือพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีบุตร์คือ

๑. ท้าวสุวัณ อุปฮาตเมืองขอนแก่น ท้าวสุวัณมีบุตรคือคือ ท้าวจันทชมภู ราชบุตร์เมืองขอนแก่น

๒. ท้าวจันสีสุราช ราชวงศ์เมืองขอนแก่น

พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขอนแก่น เดิมเป็นราชบุตร์เมืองขอนแก่น มีบุตรธิดาคือ

๑. ราชบุตร์ (คำพาง)

๒. พระนครศรีบริรักษ์ (มุ่งหรือมุง) เจ้าเมืองขอนแก่นฝ่ายบ้านโนนทัน เดิมเป็นที่ราชวงศ์ ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาตรักษาราชการเมืองขอนแก่น มีบุตรคือ ท้าวราชวงษ์

๓. พระนครศรีบริรักษ์ (อินหรืออินธิวงศ์) เจ้าเมืองขอนแก่น เดิมเป็นราชวงศ์ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาต มีหลานคนหนึ่งยกเป็นบุตรบุญธรรมคือ พระยานครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋ นครศรี) และพระนครศรีบริรักษ์ (อิน) มีบุตรคนสุดท้ายคือ พระพิทักษ์สารนิคม (หล่าหรือหนูหล้า) ต้นสกุล สุนทรพิทักษ์ เดิมเป็นอุปฮาตต่อมาเป็นปลัดเมืองขอนแก่นคนแรกและเลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น

๔. ธิดาไม่ปรากฏนาม สมรสกับกับท้าวขัติยะ อุปฮาตเมืองขอนแก่น

ใกล้เคียง

เจ้าอนุวงศ์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าอุบลวรรณา เจ้าอาวาส เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่