ความสำคัญทางวัฒนธรรม ของ เรินดัง

เรินดังเป็นอาหารที่เสิร์ฟเป็นจานแรกให้ผู้มีเกียรติในงานฉลองของชาวมีนังกาเบา

ในวัฒนธรรมของชาวมีนังกาเบา เรินดังมีนับสำคัญของปรัชญามุสยาวาระห์ (musyawarah),[6] โดยเครื่องปรุงสี่อย่างของเรินดังเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งสำคัญในสังคมมีนังกาเบา

  • ดาเกียง (เนื้อ) เป็นสัญลักษณ์ของนีเนียก มามัก (Niniak Mamak) คือผู้นำชุมชน
  • การัมเบีย (มะพร้าว) เป็นสัญลักษณ์ของจาเดียก ปันได (Cadiak Pandai) คือครู กวี นักเขียน
  • ลาโดะห์ (พริก) เป็นสัญลักษณ์ของ อาลิม อูลามา คือครูผู้สอนศาสนา ความเผ็ดของพริกคือความเข้มงวดของกฎหมายอิสลาม
  • เปอมากัก เครื่องเทศ หมายถึงผู้คนที่เหลือในสังคมมีนังกาเบา

ในกลุ่มชนชาวมีนังกาเบา เรินดังเป็นอาหารจานแรกที่เสิร์ฟในงานฉลองและให้แก่แขกผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญ เช่นในงานวันเกิด งานแต่งงานและงานสำคัญทางศาสนา ส่วนในกลุ่มชนชาวมลายู เช่นในเรียว จัมบี เมดันในสุมาตราหรือ เซอเริมบัน และโกตาบารูบนคาบสมุทรมลายู เรินดังเป็นอาหารพิเศษในเทศกาลสำคัญ เช่น งานแต่งงาน วันอีด