ชนิด ของ เรินดัง

นาซิรามัสปาดัง; เรินดังเสิร์ฟกับข้าวนึ่ง ใบมันสำปะหลัง ไข่ และน้ำแกงเรินดังในเนเธอร์แลนด์ซึ่งจริง ๆเป็นกาลีโอเพราะยังมน้ำอยู่

ในการปรุงอาหารของชาวมีนังกาเบา มีอาหารหลายชนิดที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงกับกะทิและน้ำพริกและมีการแบ่งระดับตามจำนวนของเหลวที่เหลือในอาหารจากมากสุดไปจนถึงแห้งคือ ฆูไล – กาลีโอ- เรินดัง [7]ความต่างกันในด้านเครื่องปรุงมีเพียงฆูไลนิยมใช้พริกแดงและขมิ้นมากกว่า ถ้าปรุงจนถึงแค่เนื้อสัตว์สุก กะทิเดือดแล้วยกลงจะเรียกฆูไล ถ้าปรุงจนกะทิระเหยไปบางส่วนเนื้อสัตว์เริ่มเป็นสีน้ำตาลแล้วหยุด เรียกกาลีโอ ถ้าปรุงจนกะทิระเหยไปหมด เนื้อสัตว์เปลี่ยนเป็นสีดำหรือเกือบดำเรียกเรินดัง ในปัจจุบันจะแบ่งเรินดังเป็นสองชนิด เรียกแบบแห้งและแบบน้ำ

  • เรินดังแห้ง เป็นเรินดังที่แท้จริงของชาวมีนังกาเบา เก็บได้นานถึงสี่สัปดาห์โดยไม่ต้องแช่เย็น
  • เรินดังน้ำหรือกาลีโอ เป็นเรินดังที่ที่ปรุงด้วยเวลาสั้นกว่า กะทิยังไม่ระเหยไปหมด เก็บโดยไม่แช่เย็นได้ไม่ถึงสัปดาห์

เรินดังที่ปรุงโดยวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่ชาวมีนังกาเบา เช่น ในวัฒนธรรมมลายูมักเป็นกาลีโอ เรินดังในมาเลเซียมีหลายแบบ เช่นแบบของกลันตันและเนอเกอรีเซิมบีลัน ซึ่งมีรสชาติต่างจากที่พบในอินโดนีเซีย มีเพียงเรินดังของรัฐเปรักที่เป็นเรินดังแห้ง นอกจากนั้น ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆในอินโดนีเซียได้นำเรินดังไปปรุงเป็นอาหารของพวกเขาเอง ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตัวอย่างเช่น เรินดังในชวา จะมีรสหวานกว่าและเผ็ดน้อยกว่า