ตัวอย่างของเวกเตอร์สี่มิติในวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า ของ เวกเตอร์สี่มิติ

ตัวอย่างของเวกเตอร์สี่มิติในวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เช่น

เวกเตอร์ความหนาแน่นกระแสสี่มิติ (four-current) กำหนดโดย

J := ( J μ ) = ( ρ c , j ) {\displaystyle {\mathsf {J}}:=\left(J^{\mu }\right)=\left(\rho c,\mathbf {j} \right)}

ซึ่งสร้างจาก ความหนาแน่นกระแส (current density) j {\displaystyle \mathbf {j} } และ ความหนาแน่นประจุ (charge density) ρ {\displaystyle \left.\rho \right.}

เวกเตอร์ศักย์แม่เหล็กไฟฟ้าสี่มิติ (electromagnetic four-potential) กำหนดโดย

A := ( A μ ) = ( φ c , A ) {\displaystyle {\mathsf {A}}:=\left(A^{\mu }\right)=\left({\frac {\varphi }{c}},\mathbf {A} \right)}

ซึ่งสร้างจาก ศักย์เวกเตอร์ (vector potential) A {\displaystyle \mathbf {A} } และ ศักย์สเกลาร์ (scalar potential) φ {\displaystyle \varphi }

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าระนาบ (plane electromagnetic wave) สามารถบรรยายได้โดย เวกเตอร์ความถี่สี่มิติ (four-frequency) ดังนี้

N := ( N μ ) = ( ν , ν n ^ ) {\displaystyle {\mathsf {N}}:=\left(N^{\mu }\right)=\left(\nu ,\nu {\hat {\mathbf {n} }}\right)}

เมื่อ ν {\displaystyle \left.\nu \right.} เป็นความถี่ (frequency) ของคลื่น และ n ^ {\displaystyle {\hat {\mathbf {n} }}} เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยซึ่งชี้ในทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น สังเกตว่า

N ⋅ N := N μ N μ = ν 2 ( n 2 − 1 ) = 0 {\displaystyle {\mathsf {N}}\cdot {\mathsf {N}}:=N^{\mu }N_{\mu }=\nu ^{2}\left(n^{2}-1\right)=0}

ดังนั้นเวกเตอร์ความถี่สี่มิติ (four-frequency) จะมีนอร์มเป็นศูนย์เสมอ เรียกเวกเตอร์สี่มิติแบบนี้ว่า null vector


ใกล้เคียง

เวกเตอร์ไวรัส เวกเตอร์ลักษณะเฉพาะ เวกเตอร์ เวกเตอร์สี่มิติ เวกเตอร์หนึ่งหน่วย เวกเตอร์พอยน์ติง เวกเตอร์อะดีโนไวรัส เวกเตอร์แนวฉาก เวกเตอร์ (โครงสร้างข้อมูล) เวกเตอร์ (แก้ความกำกวม)