การแพร่กระจายพันธุ์ ของ เสือโคร่ง

เสือโคร่งกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียตะวันออกจนถึงตะวันออกกลาง เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้อยู่ในภูมิประเทศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้แต่ในพื้นที่หนาวเย็นอย่างไซบีเรีย หรือแห้งแล้งเป็นทะเลทราย อีกทั้งยังอยู่ได้ตามเกาะแก่งกลางทะเลอีกด้วย หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีรายงานว่า เสือโคร่งสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ด้วย

ปัจจุบัน ปริมาณเสือโคร่งในธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน 3,890 ตัว กระจายทั่วไปใน 13 ประเทศของทวีปเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทย[7] สำหรับในประเทศไทยมีราว 250 ตัว ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และผืนป่าตะวันตก เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร, อุทยานแห่งชาติแม่วงก์, อุทยานแห่งชาติคลองลาน[8] รวมถึงอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา ที่มีปริมาณรองลงมา ส่วนป่าแถบอื่นพบน้อยมาก[7]

เสือโคร่งแคสเปียน (P. t. virgata) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว

เสือโคร่งดำ เสือโคร่งขาว

เสือโคร่งดำเป็นเสือโคร่งที่มีสีดำ เป็นที่กล่าวถึงมาเป็นเวลาช้านาน แต่ยังเป็นที่ยืนยันแน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เพราะขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามยังมีรายงานพบเห็นตัวอยู่นาน ๆ ครั้ง หลักฐานหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการพบหนังเสือโคร่งดำในขณะที่มีการจับกุมการค้าหนังสัตว์เถื่อนที่เดลฮีในปี 2535 หนังผืนนั้นมีสีดำสนิทที่บริเวณกระหม่อมและกลางหลัง และค่อย ๆ จางลงไล่ลงมาตามข้างลำตัวจนถึงสุดแถบ หนังผืนนั้นไม่ได้เกิดจากความปกติของเม็ดสีแบบเมลานิซึมอย่างที่พบในเสือดำหรือจากัวร์ดำหรือเสือชนิดอื่น ๆ ซึ่งดำปลอดทั้งตัว แต่เชื่อว่าเป็นลักษณะของยีนอากูตี ซึ่งทำให้แถบดำเชื่อมต่อกัน ตัวอย่างของเสือที่มีลักษณะแบบนี้เคยมีผู้ถ่ายภาพได้ในอุทยานแห่งชาติกันนาของอินเดีย

เสือโคร่งขาวหรือเสือเบงกอลขาว มีรูปร่างเหมือนเสือโคร่งปรกติ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า เป็นเสือโคร่งที่คุ้นตาผู้คนมาก สามารถพบได้ในสวนสัตว์เกือบทุกแห่งรวมทั้งสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ในเมืองไทย แต่อย่างไรก็ตามเสือโคร่งขาวได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของอินเดียแล้ว ตัวสุดท้ายที่มีผู้พบเห็นเป็นลูกเสือตัวผู้ที่ถูกจับได้มาจากรีวา ในตอนกลางของอินเดียโดยมหาราชาแห่งรีวาในปี พ.ศ. 2494 มีชื่อว่า โมฮัน เสือโคร่งขาวเกือบทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่งเพาะเลี้ยงต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบันล้วนแต่เป็นลูกหลานของโมฮันทั้งสิ้น

เสือโคร่งขาวไม่ใช่เสือโคร่งเผือกแท้ แต่เป็นอาการผิดปรกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย เสือโคร่งขาวลำตัวมีพื้นสีขาวปลอดและมีลายพาดกลอนเป็นสีน้ำตาลและมีตาสีฟ้า ซึ่งเรียกว่า chinchilla mutation

ภาพถ่ายเสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) ตายเพราะถูกล่าด้วยฝีมือมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1925

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสือโคร่ง http://www.goal.com/th/news/4280/%E0%B8%9F%E0%B8%B... http://www.ubonzoo.com/wild_animals/tigris.html http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/15... http://www.savethetigerfund.org http://www.thairath.co.th/content/514459 http://app.tv5.co.th/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%97%E... https://mgronline.com/indochina/detail/95900000354... https://www.nst.com.my/news/nation/2019/08/509651/... https://www.iucnredlist.org/species/136893/5066502... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Panthe...