การจำแนกประเภทของเส้นโครงแผนที่ ของ เส้นโครงแผนที่

พื้นฐานหลักของการจำแนกเส้นโครงแผนที่ อยู่ที่ประเภทของพื้นผิวที่ใช้สำหรับเส้นโครงแผนที่ ซึ่งในที่นี้คือการนำพื้นผิวขนาดใหญ่มาสัมผัสกับพื้นผิวโลก ตามด้วยการกำหนดอัตราส่วนที่ต้องการใช้งาน พื้นผิวเหล่านี้ คือ

  • ทรงกระบอก (ยกตัวอย่างเช่น แผนที่แบบเมอร์เคเตอร์)
  • ทรงกรวย (ยกตัวอย่างเช่น แผนที่แบบอัลเบอร์ส)
  • แผ่นเรียบ (ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ที่เกิดจากทำแบบจำลองเชิงเส้นรอบทิศ[7])

นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวสำหรับเส้นโครงแผนที่ที่ไม่ได้จำแนกอยู่ในพื้นผิวสามประเภทนี้ เช่น ทรงกระบอกปลอม (Pseudocylindrical) หรือ ทรงกรวยปลอม (Pseudoconic) เป็นต้น

การจำแนกประเภทอีกแบบหนึ่ง คือ การจำแนกตามคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ต้องการการรักษาไว้ของแผนแต่ละประเภท ดังนี้

  1. ทิศทาง คือ การรักษาคุณสมบัติทางด้านทิศทางระหว่างจุดสองจุดใดๆบนแผนที่ให้คงไว้
  2. รูปทรงเฉพาะแห่ง คือ การรักษารูปทรงเฉพาะแห่งที่ต้องการให้คงไว้
  3. พื้นที่ คือ การรักษาขนาดอัตราส่วนของพื้นที่บริเวณที่ต้องการให้คงไว้
  4. ระยะทาง คือ การรักษาระยะทางระหว่างจุดสองจุดใดๆบนแผนที่ให้คงไว้

ใกล้เคียง

เส้นโค้งเชิงวงรี เส้นโครงแผนที่ เส้นโค้งเบซีเย เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ เส้นโค้งปิดเสมือนเวลา เส้นโค้ง เส้นโค้งคีลิง เส้นโลก เส้นโค้งฮิลเบิร์ท เส้นโค้งกลอทอยด์