สาระสำคัญ ของ เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์

เพื่อชักนำให้เซลล์สร้างโปรตีนนอกเหนือจากปกติ สามารถใส่เอ็มอาร์เอ็นเอแปลกปลอม (heterologous) เข้าไปในไซโทพลาซึมของเซลล์ จึงไม่ต้องถอดรหัสจากดีเอ็นเอเลยเท่ากับเป็นการ "ลอบนำ" เอาแผนการผลิตโปรตีนแปลกปลอมเข้าไปในเซลล์แต่จะทำอย่างนี้ได้ก็ต้องเลี่ยงระบบของเซลล์ที่ป้องกันการเข้าไปและการแปลรหัสของเอ็มอาร์เอ็นเอแปลกปลอม เช่น มีเอนไซม์ที่พบเกือบทั่วไปที่เรียกว่า ribonuclease (หรือ RNAse) ที่ทำหน้าที่สลายอาร์เอ็นเอทั่วไปที่ไม่ได้แปลง[5]อนึ่ง ยังมีอุปสรรคในเซลล์ด้วย เช่น หน่วยรับของระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด คือ TLR7 (toll-like receptor 7) และ TLR8 ซึ่งอยู่ที่เยื่อหุ้มเอนโดโซมหน่วยรับเช่นนี้สามารถลดการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์ได้อย่างสำคัญ โดยจุดชนวนให้ปล่อยไซโตไคน์ เช่น อินเตอร์เฟียรอน และ TNF-alpha และถ้าเกิดมากพอ ก็จะโปรแกรมให้เซลล์ตาย[6]

คุณสมบัติก่อการอักเสบ/การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของอาร์เอ็นเอแปลกปลอม สามารถอำพรางโดยแปลงนิวคลีโอไซด์ในเอ็มอาร์เอ็นเอ[7]เช่น uridine สามารถแทนด้วยนิวคลีโอไซด์คล้ายกัน เช่น pseudouridine (Ψ) หรือ N1-methyl-pseudouridine (m1Ψ) และ cytosine ก็สามารถแทนด้วย 5-methylcytosine[8]นิวคลีโอไซด์คล้ายกันบางอย่าง เช่น pseudouridine และ 5-methylcytosine ก็เกิดโดยธรรมชาติในเซลล์ยูแคริโอตด้วย[9]การมีนิวคลีโอไซด์ดัดแปลงเหล่านี้เปลี่ยนโครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure) ของเอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งลดการรู้จำของระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดในขณะที่ก็ยังให้แปลรหัสเป็นโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ[8]

ใกล้เคียง

เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ เอ็มอร พานุสิทธิ์ เอ็มอาร์ทีวี-4 เอ็มอาร์เอ็นเอ เอ็มอาร์ที เอ็มอาร์ไอ เอ็มอาร์ที (แก้ความกำกวม) เอ็มอีเอ เอ็มอีโออาเรนา เอ็ม อรรถพล

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ http://www.nature.com/articles/s41586-020-2798-3 http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyP... http://link.springer.com/10.1007/s10557-020-07051-... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16111635 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22617878 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23064118 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24013197 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24295808 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25301935 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26578598