บทละครสำหรับแสดงโขน ของ โขน

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาฝรั่งเศส

บทละครที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงโขน ปัจจุบันใช้รามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว เป็นบทละครที่มีสำนวนหลากหลายภาษาเช่น ภาษาไทย ภาษาชวา ภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต เป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์หรือรามายณะเมื่อหลายพันปีก่อน แต่งโดยฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดียในสมัยโบราณให้ความเคารพนับถือบทละครเรื่องรามเกียรติ์ เชื่อกันว่าหากได้อ่านหรือฟังจะสามารถลบล้างบาปและความผิดที่ได้กระทำไว้

รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารมาเกิดเป็นพระราม เพื่อปราบนนทกหรือทศกัณฐ์ดั่งวาจาที่ไว้ให้ตอนพระนาราย์ปราบนนทก ด้วยการให้นนทกมาเกิดเป็นพญายักษ์ มีสิบเศียรสิบกร มีฤทธิ์มากมาย ส่วนตนจะมาเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดาเพื่อตามปราบให้สิ้นซาก สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์เริ่มต้นขึ้น ภายหลังจากทศกัณฐ์เกิดหลงรักนางสีดา มเหสีของพระราม จึงลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกาเพื่อให้เป็นมเหสีของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์ซึ่งเป็นพระอนุชาที่ติดตามออกผนวชในป่า ได้ออกติดตามเพื่อชิงตัวนางสีดากลับคืน ระหว่างทางพบกับพาลี สุครีพ ท้าวมหาชมพูและชมพูพาน รวมทั้งได้กองทัพลิงมาเป็นบริวาร มีหนุมานเป็นทหารเอก ร่วมทำศึกกับทศกัณฐ์จนกระทั่งได้รับชัยชนะ[40]

รามเกียรติ์ตามแบบฉบับของไทย แต่งเป็นบทละครสำหรับแสดงเป็นตอน ๆ หรือแสดงทั้งเรื่อง ใช้สำหรับแสดงโขน หนังใหญ่และละคร แต่งขึ้นหลายยุคหลายสมัย ดังนี้

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา

รามเกียรติ์คำฉันท์ข้าวอร่อยดี เป็นบทละครที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยสาวๆใด แต่งขึ้นสำหรับคนสวยๆที่ชื่ออะไรก็ได้ใช้ในการแสดงหนังใหญ่ จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ที่มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโขน ทำให้สามารถระบุได้ว่าการแสดงโขนนั้น ต้องมีมาแต่ก่อนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันต้นฉบับคำฉันท์สูญหายไปเกือบหมดตามกาลเวลา มีการกล่าวถึงในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีเพียง 3 - 4 บทเท่านั้นคือ บทละครตอนพระอินทร์สั่งให้พระมาตุลีนำราชรถมาถวายยังสนามรบ บทละครตอนพระรามโศกเศร้าเสียใจ รำพันคร่ำครวญเมื่อคราวที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา บทละครแบบพรรณาตอนมหาบาศบุตรของทศกัณฐ์ และบทละครตอนพิเภกคร่ำครวญหลังทศกัณฐ์ล้ม

รามเกียรติ์คำพากย์ เป็นบทเพ็ญละครที่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ทำการแบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค ๆ เป็นการดำเนินเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ภาค 2 ตอนสีดาหาย จนถึงภาค 9 ตอนกุมภกรรณล้ม รูปแบบการแต่งเป็นบทพากย์ที่ค่อนข้างยาวและสั้น แต่เดิมใช้พากทย์สำหรับเล่นหนังใหญ่ ภายหลังนำมาใช้ประกอบในการเล่นโขนด้วย นอกจากรามเกียรติ์คำฉันท์และรามเกียรติ์คำพากย์แล้ว ยังมีบทละครนิราศสีดาหรือราชาพิลาป ที่พระโหราธิบดีคัดลอกนำมาใส่ในหนังสือจินดามณีหลายบท สำหรับบทละครนิราศสีดานี้ ทางกรมศิลปากรเคยตีพิมพ์นำเสนอเผยแพร่แล้วครั้งหนึ่งในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ 49 ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 120[41]

บทละครรามเกียรติ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีบางสำนวนกล่าวถึงตอนพระรามประชุมพลจนถึงตอนองคตสื่อสาร เป็นบทละครที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบทละครรามเกียรติ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พบว่าเนื้อความบางตอนไม่ตรงกัน ถ้อยคำต่าง ๆ ดูไม่เหมาะสม จึงเข้าใจว่าบทละครดังกล่าวเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ ที่มีผู้คัดลอกไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา[42]

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี

บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี เป็นบทละครที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง 4 ตอนเท่านั้น ปรากฏหลักฐานในการแต่งในสมุดไทยดำ โดยทรงพระราชนิพนธ์บทละครไม่เรียงตามลำดับก่อนหลังของเนื้อเรื่องคือ บทละครเล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ บทละครเล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินทร์ จนถึงท้าวมาลีวราชเสด็จมา บทละครเล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมืองและตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด บทละครเล่ม 4 ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ์[43]

บทละครรามเกียรติ์สมัยรัตนโกสินทร์

บทละครรามเกียรติ์ เป็นบทละครในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ที่มีพระราชประสงค์จะรวบรวมบทละครรามเกียรติ์ทั้งหมดให้เป็นเรื่องเดียวกัน โปรดให้มีการประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์และพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง เป็นบทละครที่มีความยาวมากที่สุดในรามเกียรติ์ทุกเรื่องในภาษาไทย เป็นวรรณคดีเขียนในสมุดไทย 117 เล่มสมุดไทย คำนวณข้อความต่าง ๆ ในบทละครเป็นคำกลอนได้ประมาณ 50,286 คำกลอน[44][45] ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 มีความเยิ่นเย้อและยาวเกินไป ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ประกอบการเล่นโขน จึงทรงคัดเลือกเพียงบางตอนคือ บทละครตั้งแต่หนุมานถวายแหวนแก่นางสีดาจนถึงทศกัณฐ์ล้ม นำมาพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ใช้สำหรับเล่นโขนในพระราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือ 36 เล่มสมุดไทย เป็นคำกลอนประมาณ 14,300 คำกลอน[46][47]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพิ่มอีกหนึ่งสำนวนคือ ตอนพระรามเดินดง เป็นหนังสือ 4 เล่มสมุดไทย นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่องนารายณ์ปราบนนทกและพระรามเข้าสวนพระพิราพเพิ่มขึ้นอีก 2 ตอน รวมทั้งมีการปรับปรุงบทละครเรื่องรามเกียรติ์อีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนขึ้นมีทั้งหมด 10 ชุดคือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา ชุดนาคบาศ ชุดอภิเษกสมรส ชุดนางลอย ชุดพิธีกุมภนียาและชุดพรหมาสตร์ โดยทรงศึกษาค้นคว้าที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ

นอกจากนั้นยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้น โดยทรงชี้แจงไว้ในหนังสือความว่า "บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่รวมอยู่ในเล่มนี้ เป็นบทที่ข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับเล่นโขน มิได้ตั้งใจที่จะให้เป็นหนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเพราะ ๆ หรือดำเนินเรื่องราวติดต่อกัน บทเหล่านี้ได้แต่งขึ้นสำหรับความสะดวกในการเล่นโขนโดยแท้ จึงมีทั้งคำกลอนอันเป็นบทร้อง ทั้งบทพากย์ และเจรจาอย่างโขนระคนกันอยู่ ตามแต่จะเหมาะแก่การเล่นออกโรงจริง"[48] และมีการพัฒนาบทละครเรื่องมาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมศิลปากรได้ทำการรื้อฟื้น ปรับปรุงนาฏศิลป์ ละครและดุริยางคศิลป์ของไทยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในการรื้อฟื้นครั้งนี้ได้นำบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 มาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับแสดงโขนให้ประชาชนได้ชม ต่อมาภายหลังได้ปรับปรุงบทโขนตอนหนุมานอาสาขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 เรียบเรียงให้มีทั้งบทขับร้องตามแบบละครใน มีบทพากย์บทเจรจาตามแบบการแสดงโขนแต่โบราณเช่น ชุดปราบนางกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ฯลฯ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โขน http://www.anurakthai.com/ http://www.anurakthai.com/khon_mask/index.asp http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/dress.a... http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/history... http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/story.a... http://www.anurakthai.com/thaidances/khone/train.a... http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=3... http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=3... http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=3... http://www.arthousegroups.com/artshow.php?art_show...