การรักษา ของ โรคนิ่วไต

ขนาดของนิ่วจะมีอิทธิพลต่ออัตราการหลุดออกเองยกตัวอย่างเช่น สำหรับนิ่วขนาดเล็กคือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มม. 98% อาจหลุดออกเองในปัสสาวะภายใน 4 อาทิตย์หลังจากเริ่มอาการ[7]แต่สำหรับนิ่วที่ใหญ่กว่าคือมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5-10 มม. อัตราการหลุดออกเองจะลดลงเหลือน้อยกว่า 53%[69]

ตำแหน่งเริ่มต้นของนิ่วยังมีอิทธิพลต่อโอกาสหลุดออกเองด้วยอัตราจะเพิ่มจาก 48% สำหรับนิ่วที่อยู่ในท่อไตส่วนต้นไปเป็น 79% สำหรับนิ่วซึ่งอยู่ที่จุดเชื่อมท่อไต-กระเพาะปัสสาวะ (vesicoureteric junction) ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าไร[69]ถ้าไม่ขัดมากหรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอาการค่อนข้างน้อย ปฏิบัติการที่ไม่ใช่การผ่าตัดสามารถใช้ช่วให้นิ่วหลุด[39]คนที่มีนิ่วเกิดขึ้นอีกจะได้ประโยชน์จากการรักษาที่เข้มขึ้น เช่น การดื่มน้ำให้เหมาะสมและการใช้ยาบางชนิดนอกจากนั้น การสอดส่องดูแลอย่างระมัดระวังก็จำเป็นเพื่อให้ได้ผลการรักษาดีที่สุด[84]

การบรรเทาความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดบ่อยครั้งจะรักษาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์โดยให้ทางเส้นเลือดดำ[11]NSAID ดูเหมือนจะดีกว่าโอปิออยด์หรือพาราเซตามอลสำหรับคนไข้ที่ไตทำงานได้ปกติ[85]ยาทานบ่อยครั้งมีประสิทธิผลสำหรับอาการที่เจ็บน้อย[52]แต่การให้ยาแก้เกร็งไม่ได้ให้ผลดีเพิ่มขึ้น[9]

การรักษาด้วยการขับออก (expulsive therapy)

การใช้ยาทำให้นิ่วในท่อไตหลุดเองเร็วขึ้นเป็นการรักษาด้วการขับออก (expulsive therapy)[86][87]ยาหลายอย่างรวมทั้งยากลุ่ม alpha adrenergic blocker (เช่น tamsulosin) และแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (เช่น nifedipine) ได้พบว่ามีประสิทธิผล[86]คือยากลุ่ม alpha blocker ดูเหมือนจะเพิ่มอัตราการหลุดออกทั้งเร็วขึ้นและมากขึ้น[88]แต่ก็ดูเหมือนจะมีประสิทธิผลในแค่นิ่วที่มีขนาดระหว่าง 4-10 มม.[89]ส่วน tamsulosin อาจมีผลดีกว่าถ้าใช้ร่วมกับ corticosteroid[86]การรักษาเช่นนี้ก็ดูมีประโยชน์ถ้าใช้เพิ่มเมื่อกำลังรักษาด้วยการสลายนิ่ว (lithotripsy)[7]

การสลายนิ่ว

เครื่องสลายนิ่ว ดังที่เห็นในห้องผ่าตัด มีเครื่องมืออื่น ๆ ที่เห็นในพื้นหลัง รวมทั้งเครื่องให้ยาสลบ และเครื่องกำเนิดภาพรังสีแบบเคลื่อนที่ได้ (mobile fluoroscopic system) ชิ้นส่วนของนิ่วแคลเซียมออกซาเลตที่ทำให้แตกด้วยเครื่องสลายนิ่ว

การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy, ESWL) เป็นเทคนิคการกำจัดนิ่วไตโดยไม่ต้องผ่าต้องเจาะซึ่งโดยมากจะใช้เมื่อนิ่วอยู่ใกล้ ๆ กรวยไต (renal pelvis)ESWL ใช้เครื่องสลายนิ่วที่ส่งอิมพัลส์คลื่นเสียงความถี่สูงอย่างมีกำลังและรวมจุด โดยแตะที่ร่างกายภายนอก เพื่อทำให้นิ่วแตกในชั่วระยะเวลาประมาณ 30-60 นาทีหลังจากที่ได้วางตลาดในสหรัฐปี 1984 ESWL ก็กลายเป็นวิธีการรักษาทางเลือกที่ยอมรับสำหรับนิ่วไตและนิ่วท่อไต[90]

ปัจจุบันมักใช้สำหรับรักษานิ่วกรณีที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งอยู่ที่ไตและท่อไตส่วนบนโดย aggregate stone burden ของนิ่ว (คือขนาดและหมายเลข) จะไม่เกิน 20 มม.และส่วนไตที่เกี่ยวข้องก็มีลักษณะทางกายวิภาคเป็นปกติ[91][92]แต่สำหรับนิ่วที่ใหญ่กว่า 10 มม. อาจไม่สามารถสลายนิ่วด้วยการรักษารอบเดียวดังนั้น อาจต้องทำ 2-3 รอบนิ่วไตธรรมดา ๆ 80-85% สามารถรักษาได้ด้วย ESWL อย่างมีประสิทธิผล[7]มีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการรักษา รวมทั้งองค์ประกอบทางเคมีของนิ่ว, ความผิดปกติทางกายวิภาคของไต, ตำแหน่งโดยเฉพาะของนิ่วภายในไต, การมีภาวะไตเสื่อมแบบบวมน้ำ (hydronephrosis), ดัชนีมวลกาย, และความลึกตื้นของนิ่วจากผิวหนัง[90]

ผลไม่พึงประสงค์ของ ESWL รวมทั้งการบาดเจ็บฉับพลัน เช่น รอยฟกช้ำตรงบริเวณที่รักษา และความเสียหายต่อเส้นเลือดไต[93][94]จริง ๆ แล้ว คนโดยมากที่รักษาด้วยคลื่นกระแทกในระดับที่ยอมรับเพื่อรักษา มีโอกาสเกิดไตเสียหายเฉียบพลันในบางระดับ[90]

ความบาดเจ็บฉับพลันที่ไตซึ่งมีเหตุจาก ESWL จะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ คือจะเพิ่มตามจำนวนคลื่นกระแทกที่ใช้รักษาและตามกำลังของคลื่น โดยอาจเป็นถึงรุนแรงได้[90]ซึ่งรวมทั้งเลือดออกภายใน และการคั่งเลือดใต้ถุงหุ้ม (subcapsular hematoma)ในกรณีที่มีน้อย อาจจะต้องถ่ายเลือดและแม้แต่ทำให้ไตวายอัตราการคั่งเลือดอาจสัมพันธ์กับประเภทเครื่องสลายที่ใช้โดยมีรายงานน้อยกว่า 1% สำหรับบางประเภท และมากถึง 13% สำหรับบางประเภท[94]งานศึกษาเมื่อไม่นานแสดงการบาดเจ็บฉับพลันที่ลดลง เมื่อเกณฑ์วิธีรักษารวมการหยุดพักช่วงสั้น ๆ หลังเริ่มรักษา และอัตราคลื่นกระแทกที่ช้ากว่า จะทั้งเพิ่มการสลายนิ่วและลดการบาดเจ็บ[90]

นอกจากโอกาสที่ไตจะบาดเจ็บอย่างฉับพลัน งานศึกษาในสัตว์แสดงนัยว่า อาจเกิดแผลเป็นและทำให้ไตทำงานได้ลดลง[93][94]งานศึกษาตามรุ่นตามแผนเร็ว ๆ นี้ยังบ่งด้วยว่า คนชรามีโอกาสเสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูงกรณีใหม่หลังจากรักษาด้วย ESWLนอกจากนั้น งานศึกษาตามรุ่นย้อนหลังปี 2006 ยังพบความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น ในบุคคลที่รักษาแบบ ESWL เทียบกับกลุ่มควบคุมอายุและเพศเดียวกันผู้ได้รักษาแบบไม่ใช่การผ่าตัดการลุกลามเป็นผลระยะยาว น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งระดับคลื่นกระแทกที่ใช้ (คือ จำนวนคลื่นที่ใช้ อัตราการส่งคลื่น กำลังคลื่น ลักษณะทางเสียงของเครื่องสลายนิ่วนั้น ๆ และความถี่ในการรักษาอีก) และปัจจัยเสี่ยงทางพยาธิสรีรวิทยาอื่น ๆ ที่สร้างปัญหา[90]

เพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้ สมาคมวิทยาทางเดินปัสสาวะอเมริกันได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก เพื่อให้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัยและอัตราความเสี่ยงโดยเทียบกับประโยชน์ของ ESWLคณะทำงานได้พิมพ์รายงานที่สรุปความเห็นว่า อัตราความเสี่ยง-ผลประโยชน์ยังดีสำหรับคนหลายคน[90]ประโยชน์ของ ESWL รวมทั้งไม่จำเป็นต้องผ่าต้องตัด รักษานิ่วทางเดินปัสสาวะส่วนบนโดยมากได้ง่าย และอย่างน้อย ๆ ก็โดยระยะสั้น มันเป็นการรักษาที่อดทนได้ดี และสร้างพยาธิสภาวะน้อย สำหรับคนโดยมากแต่ก็แนะนำให้ลดอัตราการยิงคลื่นกระแทกลงจาก 120 พัลส์ต่อนาที ให้เหลือ 60 พัลส์ต่อนาที เพื่อลดความเสี่ยงความบาดเจ็บต่อไต และเพิ่มการสลายตัวของนิ่ว[90]

การผ่าตัด

นิ่วขนาดน้อยกว่า 5 มม. โดยมากจะหลุดออกไปเอง[28][7]แต่การผ่าตัดอย่างท่วงทีก็ยังอาจจำเป็นสำหรับคนไข้ที่มีไตทำงานได้เพียงแค่ข้างเดียว หรือมีนิ่วอุดไตทั้งสองข้าง หรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและโดยอนุมานติดเชื้อที่ไตด้วย หรือเจ็บไม่หาย[95]เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 การรักษาที่ต้องผ่าต้องตัดน้อยกว่าเช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว, การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), และการผ่าตัดนิ่วไตทางผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) ก็เริ่มเลือกใช้รักษาแทนที่การผ่าตัดทั่วไปเมื่อต้องผ่าตัดนิ่ว[7]งานวิจัยปี 2012 ใช้กล้องท่อไตสายอ่อน (flexible ureteroscopy) ปรับเพื่อสร้างทางแบบสวนทาง (retrograde nephrostomy) เพื่อการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy)แม้จะยังเป็นเทคนิคที่ยังตรวจสอบอยู่ แต่ผลเบื้องต้นก็ดูดี[96]การผ่าตัดนิ่วไตทางผิวหนัง หรือน้อยครั้งมากการผ่านิ่วออกทั่วไป (lithotomy) เป็นการรักษาดีสุดสำหรับนิ่วที่ใหญ่หรือยุ่งยาก (เช่น นิ่วรูปเขากวาง) หรือนิ่วที่ไม่สามารถเอาออกได้โดยวิธีอื่น[43][7]

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำใหม่ของ ureteral stent (ท่อเปิดท่อไต) ในไตข้างซ้าย (ลูกศรสีเหลือง) โดยมีนิ่วไตที่กรวยไตด้านล่าง (inferior renal pelvis ที่ลูกศรสีแดงบนสุด) และที่ท่อไตข้าง ๆ ชิ้นเปิดท่อ (ลูกศรสีแดงล่าง)
นิ่วไตที่ปลายอุปกรณ์สลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การผ่าตัดโดยกล้องท่อไต

การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy) ได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อกล้องใยแก้วนำแสงทั้งแบบแข็งแบบอ่อนได้เล็กลง ๆ วิธีการรักษาหนึ่งเป็นการใส่ท่อเปิดท่อไต (ureteral stent) ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ยื่นจากกระเพาะปัสสาวะไปถึงท่อไตและเข้าไปในไต เพื่อบรรเทาอาการไตที่อุดตันแบบฉับพลันการใส่ท่อเปิดท่อไตอาจมีประโยชน์เพื่อรักษาไตที่เสี่ยงต่อการวายฉับพลันเพราะเหตุที่เกิดต่อจากไต (postrenal acute renal failure) เนื่องจากความดันน้ำที่สูงขึ้น, อาการบวมและการติดเชื้อ (ไตและกรวยไตอักเสบ [pyelonephritis] และไตเป็นหนอง [pyonephrosis]) เนื่องจากนิ่วที่อุดตันไต

ท่อเปิดท่อไตจะยาวต่าง ๆ กันตั้งแต่ 24-30 ซม.และมีรูปร่างที่เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "double-J" หรือ หางหมูคู่ เพราะมันม้วนงอที่ปลายทั้งสองข้างเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบให้ปัสสาวะไหลผ่านสิ่งอุดตันในท่อไตได้ซึ่งอาจจะทิ้งไว้เป็นวัน ๆ หรืออาทิตย์ ๆ จนกว่าจะหายติดเชื้อ และจนกว่านิ่วจะสลายหรืออแตกโดย ESWL หรือการรักษาอื่น ๆท่อจะขยายเปิดท่อไต ซึ่งช่วยอำนวยเครื่องมือ และเป็นเครื่องหมายสังเกตแสดงท่อไตและนิ่วในท่อภายในภาพรังสีการมีท่อเปิดท่อไตอาจทำให้เจ็บเพียงเล็กน้อยจนถึงปานกลาง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และติดเชื้อ ซึ่งโดยทั่วไปจะหายเองเมื่อเอาออกท่อเปิดท่อไตโดยมากสามารถเอาออกโดยใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscope) ในแผนกผู้ป่วยนอกโดยใช้ยาชาเฉพาะที่หลังจากที่นิ่วหายแล้ว[97]

เทคนิคการเอานิ่วออกผ่านกล้องส่องท่อไตต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่เลี่ยงสิ่งอุดตัน รวมทั้งการเอาออกโดยตะกร้า (basket extraction) และการสลายนิ่วในท่อไตโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound ureterolithotripsy)การสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ (laser lithotripsy) เป็นอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้เลเซอร์แบบ โฮลเมียม:yttrium aluminium garnet (Ho:YAG) เพื่อทำนิ่วให้แตกในกระเพาะปัสสาวะ ท่อไต หรือไต[98]เทคนิคที่ใช้กล้องส่องท่อไตโดยทั่วไปจะมีประสิทธิผลดีกว่า ESWL ในการรักษานิ่วที่อยู่ในท่อไตส่วนล่าง โดยมีอัตราสำเร็จ 93-100% ถ้าสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ Ho:YAG[69]

แม้แพทย์จะชอบใช้ ESWL เพื่อรักษานิ่วที่อยู่ที่ท่อไตด้านบน แต่ประสบการณ์เร็ว ๆ นี้แสดงนัยว่า การส่องกล้องท่อไตก็มีข้อได้เปรียบในการรักษานิ่วในท่อไตด้านบนด้วยโดยเฉพาะก็คือ อัตราสำเร็จทั่วไปจะสูงกว่า จำเป็นต้องรักษาอีกและมาหาแพทย์หลังผ่าตัดน้อยกว่า และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ข้อได้เปรียบเหล่านี้จะชัดยิ่งขึ้นสำหรับนิ่วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 มม.อย่างไรก็ดี เพราะการส่องกล้องท่อไตด้านบนยังยากกว่า ESWL มากแพทย์ทางเดินปัสสาวะหลายท่านก็ยังชอบใช้ ESWL เพื่อรักษาในขั้นแรกสำหรับนิ่วที่เล็กกว่า 10 มม. และใช้กล้องส่องท่อไตสำหรับนิ่วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 10 มม.[69]

การส่องกล้องท่อไตเป็นวิธีการักษาที่ดีสำหรับผู้ตั้งครรภ์ ผู้มีโรคอ้วนขั้นรุนแรง และผู้มีเลือดออกผิดปกติ (bleeding disorder)[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคนิ่วไต http://www.kidney.org.au/ForPatients/Management/Ki... http://www.cmaj.ca/cgi/reprint/174/10/1407 http://www.bmj.com/content/334/7591/468.full.pdf http://emed.chris-barton.com/PDF/kidney%20stones%2... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11346.htm http://www.emedicine.com/med/topic1600.htm http://www.expertconsultbook.com/expertconsult/op/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=592.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=594.... http://content.karger.com/produktedb/produkte.asp?...