ปัจจัยเสี่ยง ของ โรคนิ่วไต

ภาวะขาดน้ำเนื่องจากดื่มน้ำน้อยเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดนิ่ว[11][15]โรคอ้วนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงด้วย

การทานอาหารมากที่มีโปรตีนสัตว์[11]โซเดียม น้ำตาลทราย ฟรักโทส น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรักโทสสูง[16]ออกซาเลต[17]น้ำองุ่น และน้ำแอปเปิล อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วไต[15]นิ่วไตยังอาจเป็นผลของอาการทางเมแทบอลิซึมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ภาวะกรดเกินเหตุปลายหลอดไตฝอย (distal renal tubular acidosis)[18],Dent's disease[19],ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism)[20],ภาวะออกซาเลตเกินในปัสสาวะหลัก (primary hyperoxaluria)[21],หรือ medullary sponge kidneyคนไข้ที่มีนิ่วไต 3-20% จะมีโรค medullary sponge kidney[22][23]และนิ่วไตก็สามัญในคนไข้ Crohn's disease[24]ซึ่งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับทั้งภาวะออกซาเลตเกินในปัสสาวะและการดูดซึมแมกนีเซียมที่ผิดปกติ[25]

คนไข้ที่มีนิ่วไตอีกอาจควรตรวจคัดกรองโรคเหล่านั้นซึ่งปกติจะทำภายใน 24 ชม. หลังเก็บปัสสาวะคือจะตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะหาเหตุต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างนิ่ว[14]

นิ่วไต (สีเหลือง) ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมออกซาเลต

แคลเซียมออกซาเลต

แคลเซียมเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของโรคนิ่วไตประเภทที่สามัญที่สุดในมนุษย์ คือแบบแคลเซียมออกซาเลตงานศึกษาบางงานแสดงว่า บุคคลที่ทานแคลเซียมหรือวิตามินดีเป็นอาหารเสริม จะเสี่ยงเกิดนิ่วไตสูงกว่าในสหรัฐอเมริกา การเกิดนิ่วเคยใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าทานแคลเซียมมากเกิน[26]

ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 งานศึกษาในโครงการริเริ่มสุขภาพหญิง (Women's Health Initiative) ในสหรัฐพบว่า หญิงหลังหมดประจำเดือนที่บริโภคอาหารเสริมคือแคลเซียมเป็นจำนวน 1,000 มิลลิกรัม และวิตามินดี 400 IU ต่อวันเป็นเวลา 7 ปีจะเสี่ยงเกิดนิ่วไต 17% สูงกว่าหญิงที่ทานยาหลอก[27]และโครงการศึกษาสุขภาพพยาบาล (Nurses' Health Study) ก็แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเสริมคือแคลเซียมและการเกิดนิ่วไต[17]

แต่ไม่เหมือนกับอาหารเสริม การบริโภคอาหารปกติที่มีแคลเซียมสูงดูเหมือนจะไม่เป็นเหตุให้เกิดนิ่วไต และจริง ๆ อาจช่วยป้องกันนิ่ว[17][27]นี่อาจเกี่ยวกับบทบาทของแคลเซียมในการเข้ายึดกับออกซาเลตที่ผ่านทางเดินอาหารเมื่อปริมาณแคลเซียมลดลง ปริมาณออกซาเลตที่สามารถดูดซึมเข้าในเลือดก็จะเพิ่มขึ้นและไตก็จะต้องขับออกซาเลตออกทางปัสสาวะมากขึ้นในปัสสาวะ ออกซาเลตเป็นตัวเสริมแคลเซียมออกซาเลตให้ตกผลึกโดยมีฤทธิ์แรงกว่าแคลเซียมประมาณ 15 เท่า

งานปี ค.ศ. 2004 พบว่า อาหารที่มีแคลเซียมต่ำสัมพันธ์กับความเสี่ยงทั่วไปในการเกิดนิ่วไตที่สูงกว่า[28]แต่สำหรับบุคคลส่วนมาก ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อนิ่วไต เช่น การทานออกซาเลตในอาหารมาก ดื่มน้ำน้อย จะสำคัญกว่าการทานแคลเซียม[29]

อิเล็กโทรไลต์อื่น ๆ

แคลเซียมไม่ใช่อิเล็กโทรไลต์ชนิดเดียวที่มีอิทธิพลต่อการเกิดนิ่วไตยกตัวอย่างเช่น เพราะเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ การทานโซเดียมมากอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่ว[17]การดื่มน้ำที่เติมฟลูออไรด์อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วโดยกลไกคล้าย ๆ กันแม้จำเป็นต้องมีงานศึกษาทางวิทยาการระบาดเพิ่มขึ้นเพื่อกำหนดว่า ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสัมพันธ์กับความชุกนิ่วไตที่เพิ่มขึ้นหรือไม่[30]การทานโพแทสเซียมมากดูเหมือนจะลดความเสี่ยงการเกิดนิ่ว เพราะโพแทสเซียมเสริมการขับไซเตรตออกทางปัสาสวะ ซึ่งเป็นสารยับยั้งการตกผลึกของแคลเซียม[ต้องการอ้างอิง]นิ่วไตมีโอกาสเกิดและใหญ่ขึ้นสูง ถ้าบุคคลทานแมกนีเซียมน้อยเพราะแมกนีเซียมห้ามการเกิดนิ่ว[31]

โปรตีนสัตว์

อาหารแบบคนตะวันตกปกติจะมีโปรตีนสัตว์ในสัดส่วนสูงการบริโภคโปรตีนสัตว์จะสร้างภาวะกรดที่เพิ่มการขับแคลเซียมและกรดยูริกออกทางปัสสาวะพร้อมทั้งลดไซเตรตการถ่ายออกทางปัสสาวะสารที่เกินต่าง ๆ เนื่องจากโปรตีนสัตว์ รวมทั้งกรดอะมิโนแบบมีกำมะถัน (เช่น cysteine และ methionine) กรดยูริก และเมแทบอไลต์ที่เป็นกรดอื่น ๆ จะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดซึ่งเสริมให้เกิดนิ่วไต[32]การขับไซเตรตออกทางปัสสาวะต่ำก็สามัญกว่าในบุคคลที่ทานโปรตีนสัตว์มาก เทียบกับคนทานเจที่มักจะขับไซเตรตออกทางปัสสาวะสูงกว่า[17]และการมีไซเตรตในปัสสาวะต่ำ ก็เสริมการเกิดนิ่วไตด้วย[32]

วิตามิน

หลักฐานที่สัมพันธ์การทานอาหารเสริมคือวิตามินซีกับอัตราการมีนิ่วไตมากขึ้นยังไม่สามารถสรุปได้[33]แม้การทานวิตามินซีเกินแต่ละวันอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วแบบแคลเซียมออกซาเลต แต่จริง ๆ นี่พบน้อยมากความสัมพันธ์ระหว่างการทานวิตามินดีกับนิ่วไตก็ไม่สำคัญด้วยการทานวิตามินดีเกินอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วโดยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้แต่การทานวิตามินแก้การขาดก็ไม่เพิ่ม[17]

อื่น ๆ

ไม่มีข้อมูลที่สรุปความสัมพันธ์โดยเป็นเหตุผลระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์กับนิ่วไตแต่ก็มีสมมติฐานว่า พฤติกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับการดื่มเหล้าบ่อย ๆ หรือมาก สามารถทำให้ขาดน้ำ ซึ่งก็จะนำไปสู่การเกิดนิ่วไต[34]สมาคมวิทยาทางเดินปัสสาวะอเมริกันพยากรณ์ว่า ปรากฏการณ์โลกร้อนจะเพิ่มความชุกโรคนิ่วไตในสหรัฐอเมริกาโดยขยายพื้นที่ที่เรียกว่า "เขตโรคนิ่ว" ทางใต้ของสหรัฐ[35]

คนไข้โรคที่ผลิตลิมโฟไซต์มากเกิน (lymphoproliferative disorders) หรือที่ไขกระดูกผลิตเซลล์มากเกิน (myeloproliferative disorders) ผู้รักษาด้วยเคมีบำบัด 1.8% จะเกิดนิ่วไตที่มีอาการ[36]

ผลึกเล็ก ๆ ได้เกิดขึ้นในไต ผลึกที่สามัญที่สุดเป็นแบบแคลเซียมออกซาเลตและโดยทั่วไปจะมีขนาด 4-5 มิลลิเมตร แต่นิ่วรูปเขากวางจะใหญ่กว่านั้น (1) แคลเซียมและออกซาเลตรวมเข้าด้วยกันเป็นแกนผลึก ความอิ่มตัวในเลือดจะเสริมให้สารรวมกัน (2) การตกผลึกอย่างต่อเนื่องที่ปุ่มไต (renal papillae) จะทำให้นิ่วขยายใหญ่ขึ้น (3) นิ่วขยายตัวและสะสมเศษต่าง ๆ ถ้านิ่วปิดทางเข้าทั้งหมดของปุ่มไต นี่จะทำให้เจ็บมาก (4) นิ่วรูปเขากวางเกิดทำให้ปัสสาวะขังในไต เศษเล็ก ๆ ที่แตกออกสามารถติดอยู่ตามต่อมต่าง ๆ ในระบบปัสสาวะซึ่งทำให้เจ็บ (5) นิ่วหลุดออกผ่านท่อไต ซึ่งถ้าไม่แตกสลายออกเอง ศัลยแพทย์ก็จะต้องลงมือเอาออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคนิ่วไต http://www.kidney.org.au/ForPatients/Management/Ki... http://www.cmaj.ca/cgi/reprint/174/10/1407 http://www.bmj.com/content/334/7591/468.full.pdf http://emed.chris-barton.com/PDF/kidney%20stones%2... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11346.htm http://www.emedicine.com/med/topic1600.htm http://www.expertconsultbook.com/expertconsult/op/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=592.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=594.... http://content.karger.com/produktedb/produkte.asp?...