พยาธิสรีรวิทยา ของ โรคนิ่วไต

ภาวะไซเตรตในปัสสาวะต่ำ (Hypocitraturia)

ภาวะไซเตรตในปัสสาวะต่ำ (Hypocitraturia) หรือการขับไซเตรตทางปัสสาวะต่ำ คือน้อยกว่า 320 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดนิ่วไตในกรณีถึง 2/3ฤทธิ์ป้องกันของไซเตรตมีกลไกหลายอย่างคือ ไซเตรตจะลดความอิ่มตัวเกินของเกลือแคลเซียม โดยสร้างคอมเพล็กซ์กับไอออนแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ และยับยั้งการรวมตัวและการเติบโตของผลึกการรักษาด้วยโพแทสเซียมไซเตรต (potassium citrate) หรือแมกนีเซียมโพแทสเซียมไซเตรต (magnesium potassium citrate) จึงมักใช้เพิ่มไซเตรตในปัสสาวะและลดอัตราการเกิดนิ่ว[37]

ความอิ่มตัวเกินของปัสสาวะ

เมื่อปัสสาวะถึงความอิ่มตัวยวดยิ่ง (supersaturation) คือเมื่อปัสสาวะมีสารละลายเกินกว่าที่มันจะละลายได้ พร้อมกับสารที่ก่อผลึก ตัวล่อผลึกก็อาจเกิดผ่านกระบวนการ nucleation[22]โดยกระบวนการแบบ heterogeneous nucleation ที่มีผิวแข็งให้ผลึกเติบโตได้ จะเป็นไปได้เร็วกว่า homogeneous nucleation ที่ผลึกต้องโตขึ้นในของเหลวที่ไม่มีผิวแข็ง เพราะใช้พลังงานน้อยกว่าคือโดยยึดกับเซลล์ที่ผิวของปุ่มไต (renal papilla) ตัวล่อผลึกจะสามารถโตและงอกเป็นก้อนใหญ่โดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของผลึก กระบวนการก่อผลึกอาจเป็นไปเร็วกว่าเมื่อความเป็นกรดของปัสสาวะสูงหรือต่ำกว่าปกติ[38]

ความอิ่มตัวเกินของปัสสาวะร่วมกับการมีสารประกอบก่อผลึกจะขึ้นอยู่กับค่า pHยกตัวอย่างเช่น ที่ pH 7.0 ความละลายได้ของกรดยูริกในปัสสาวะอยู่ที่ 158 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ถ้าลดค่าเหลือ 5.0 ความละลายได้จะลดลงเหลือน้อยกว่า 8 mg/100 mlการเกิดนิ่วกรดยูริกจะต้องมีทั้งกรดยูริกเกินในปัสสาวะ (hyperuricosuria) และค่า pH ของปัสสาวะที่ต่ำ ภาวะกรดยูริกเกินในปัสสาวะอย่างเดียวไม่สัมพันธ์กับการเกิดนิ่วกรดยูริกถ้าค่า pH ของปัสสาวะเป็นด่าง[39]ความอิ่มตัวเกินของปัสสาวะจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นแต่ไม่เพียงพอให้เกิดนิ่ว[22]

ความอิ่มตัวเกินน่าจะเป็นเหตุมูลฐานของนิ่วแบบกรดยูริกและนิ่วแบบซิสทีนแต่นิ่วแคลเซียม (โดยเฉพาะแบบแคลเซียมออกซาเลต) อาจมีเหตุที่ซับซ้อนกว่า[40]

สารยับยั้งการเกิดนิ่ว

ปัสสาวะปกติจะมีสารคีเลชัน เช่น ไซเตรต ที่ยับยั้งกระบวนการ nucleation ยับยั้งการเติบโตและการรวมตัวของผลึกที่มีแคลเซียมสารยับยั้งธรรมชาติอื่น ๆ รวมทั้ง calgranulin ซึ่งเป็นโปรตีนกลุ่ม S-100 ที่จับแคลเซียม, โปรตีน Tamm-Horsfall, ไกลโคสะมิโนไกลแคน, uropontin ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ osteopontin, nephrocalcin ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนที่เป็นกรด, prothrombin F1 peptide, และ bikuninแม้กลไกทางเคมีชีวิภาพของสารเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนแต่เมื่อมีต่ำกว่าปกติ นิ่วสามารถเกิดจากผลึกที่รวมตัวกัน[41]

การทานอาหารที่มีแมกนีเซียมและไซเตรตเพียงพอ จะห้ามการเกิดของนิ่วแบบแคลเซียมออกซาเลตและแคลเซียมฟอสเฟตนอกจากนั้น แมกนีเซียมและไซเตรตยังทำงานร่วมกันเพื่อห้ามนิ่วไตประสิทธิผลของแมกนีเซียมในการยับยั้งการเกิดและการเติบโตของนิ่วจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภค[17][31][42]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคนิ่วไต http://www.kidney.org.au/ForPatients/Management/Ki... http://www.cmaj.ca/cgi/reprint/174/10/1407 http://www.bmj.com/content/334/7591/468.full.pdf http://emed.chris-barton.com/PDF/kidney%20stones%2... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11346.htm http://www.emedicine.com/med/topic1600.htm http://www.expertconsultbook.com/expertconsult/op/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=592.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=594.... http://content.karger.com/produktedb/produkte.asp?...