การป้องกัน ของ โรคเมลิออยด์

พบว่ามีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับการติดต่อระหว่างคนสู่คน ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์จึงไม่จัดว่าแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย สำหรับผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการควรถือว่าตัวอย่างเชื้อ Burkholderia pseudomallei ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพที่ระดับ 3 (BSL-3) [86] หลังจากการได้รับเชื้อในห้องปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้โค-ไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) ในการป้องกันโรคหลังได้รับเชื้อแม้ว่าจะยังไม่มีการทดลองทางคลินิก[87]

ในพื้นที่ที่โรคเมลิออยด์เป็นโรคประจำถิ่น เกษตรกรที่ทำนาควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดิน โคลน หรือแหล่งน้ำหากเป็นไปได้ พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากตามหลังเหตุการณ์น้ำท่วมและพายุไซโคลน และเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการสัมผัสดินหรือน้ำที่ปนเปื้อน นอกจากนี้มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่สัมพันธ์กับการบริโภคน้ำที่ปนเปื้อน ประชากรกลุ่มเสี่ยงของโรคเมลิออยด์ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดใดก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิผลของการหลีกเลี่ยงการสัมผัสจุลชีพก่อโรค และยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรคนี้

การป้องกันโรคหลังการสัมผัสเชื้อ

หลังจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย B. pseudomallei ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ แนะนำให้รักษาด้วยโค-ไตรม็อกซาโซลร่วมกับดอกซีไซคลีน[88][89] โทรวาฟลอกซาซิน (trovafloxacin) และเกรพพาฟลอกซาซิน (grepafloxacin) มีประสิทธิภาพในการป้องกันจากการทดลองในสัตว์[90]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคเมลิออยด์ http://www.diseasesdatabase.com/ddb30833.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic884.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=025 http://www.jpgmonline.com/article.asp?issn=0022-38... http://pathport.vbi.vt.edu/pathinfo/pathogens/Burk... http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT00579956 http://www.niaid.nih.gov/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1082802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1153798 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1317219