ระบาดวิทยา ของ โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์เป็นโรคประจำถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมถึงประเทศไทย[4] ลาว[5][6] และตอนใต้ของจีน[7] สิงคโปร์[8] มาเลเซีย พม่า และเวียดนาม) ไต้หวัน[9][10] และตอนเหนือของออสเตรเลีย[11][12] และมีรายงานผู้ป่วยหลายรายในฮ่องกง บรูไน[13] อินเดีย[14][15][16] และมีรายงานผู้ป่วยประปรายในอเมริกากลางและอเมริกาใต้[17] ตะวันออกกลาง แปซิฟิก และประเทศในแอฟริกัน แม้ว่าจะมีรายงานผู้ป่วยเพียงรายเดียวในบังคลาเทศ[18] แต่พบผู้ป่วยอย่างน้อยห้ารายที่เดินทางจากประเทศดังกล่าวเข้ามาในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงว่าเมลิออยโดซิสเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศดังกล่าว แต่กลับมีปัญหาไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือปัญหารายงานจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น[19] ซึ่งอาจเกิดจากการขาดแคลนอุปกรณ์ปฏิบัติการที่เพียงพอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคเมลิออยด์สูงที่สุดในโลก (ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ 21.3 รายในประชากร 100,000 รายต่อปี) [20] ร้อยละ 80 ของเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีผลแอนติบอดีต่อเชื้อ B. pseudomallei เป็นบวกตั้งแต่อายุ 4 ปี[21] ซึ่งพบว่าในที่อื่น ๆ จะมีจำนวนน้อยกว่านี้[22][23][24][25]

โรคเมลิออยด์เป็นโรคที่พบในสัตว์ อาทิ แมว[26] แพะ แกะ และม้า ส่วนในวัว ควาย และจระเข้ เชื่อว่ามีความต้านทานต่อการติดเชื้อเมลิออยโดซิสทั้งที่สัมผัสกับโคลนอยู่ตลอด[27] การระบาดของโรคในสวนสัตว์ปารีสในทศวรรษที่ 1970 ("L’affaire du jardin des plantes") เชื่อว่ามีต้นเหตุจากแพนด้าที่นำเข้ามา[28]

เชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ปกติพบได้ในดินและน้ำผิวดิน ประวัติการสัมผัสดินหรือแหล่งน้ำจึงแทบไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยโรคเมลิออยด์[11] นั่นคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีประวัติสัมผัสกับดินที่ปนเปื้อนไม่มีอาการเจ็บป่วย แม้แต่ในแหล่งชุกชุมของโรคการกระจายของเชื้อ B. pseudomallei ในดินก็เป็นอย่างประปราย[29][30] การปนเปื้อนเชื้อของน้ำใต้ดินเป็นสาเหตุของการระบาดครั้งหนึ่งในตอนเหนือของออสเตรเลีย[31]

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเป็นโรคเมลิออยด์อย่างรุนแรงคือเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงอื่นอาทิ ทาลัสซีเมีย โรคไต และอาชีพ (เกษตรกรรม) [32] เชื่อกันว่าเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ผิวหนัง หรือผ่านการหายใจเอาเชื้อ B. pseudomallei เข้าไป มีรายงานของการติดต่อจากคนสู่คนแต่ค่อนข้างพบได้ไม่บ่อย[33][34]

นอกจากนี้ยังพบว่าโรคมีความสัมพันธ์กับฝน โดยพบว่าจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามปริมาณฝน[35][36][8][37][38]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคเมลิออยด์ http://www.diseasesdatabase.com/ddb30833.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic884.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=025 http://www.jpgmonline.com/article.asp?issn=0022-38... http://pathport.vbi.vt.edu/pathinfo/pathogens/Burk... http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT00579956 http://www.niaid.nih.gov/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1082802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1153798 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1317219