วินิจฉัย ของ โรคใคร่เด็ก

DSM และ ICD-10

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 (DSM-5) ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน มีการวินิจฉัยโรคใคร่เด็กที่ละเอียดกว่าฉบับก่อน ๆซึ่งกล่าวว่า

เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับความผิดปกติแบบใคร่เด็กนี้ หมายจะให้ใช้กับทั้งบุคคลที่เปิดเผยกามวิปริตนี้และบุคคลที่ปฏิเสธความรู้สึกทางเพศต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (โดยทั่วไปอายุ 13 หรืออ่อนกว่า)แม้ว่าจะมีหลักฐานที่เป็นปรวิสัยพอสมควรที่แสดงความตรงกันข้าม[2]

โดยไม่ต่างจากคู่มือรุ่นก่อนคือ DSM-IV-TR คู่มือแสดงเกณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อใช้วินิจฉัยความผิดปกตินี้ซึ่งรวมทั้ง (1) การมีจินตนาการ พฤติกรรม หรือความอยาก ที่เร้าความตื่นตัวทางเพศและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศกับเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้นและ (2) การทำการเกี่ยวเนื่องกับแรงกระตุ้นทางเพศเหล่านี้ หรือเป็นทุกข์เดือดร้อนเนื่องจากความรู้สึกเช่นนี้เกณฑ์ยังกำหนดว่า (3) คนไข้ต้องมีอายุ 16 ปีหรือมากกว่านั้น และเด็กที่ตนจินตนาการถึงต้องมีอายุอย่างน้อย 5 ปีน้อยกว่าตน[2][65][66]แต่ว่า ความสัมพันธ์ทางเพศต่อเนื่องระหว่างเด็กอายุ 12-13 กับเด็กปลายวัยรุ่นจะแนะนำไม่ให้ใช้เกณฑ์นี้เกณฑ์วินิจฉัยยังมีรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับเพศของเด็กที่คนไข้มีความรู้สึกต่อ และถ้าแรงกระตุ้นหรือการกระทำจำกัดอยู่กับญาติ และถ้าความรู้สึกเป็นแบบจำกัดเฉพาะ (ต่อเด็ก) หรือว่าไม่จำกัดเฉพาะ[2]

ส่วน ICD-10 ขององค์การอนามัยโลก นิยามโรคใคร่เด็กว่า "ความต้องการทางเพศต่อเด็ก จะเป็นหญิงหรือชายหรือทั้งสอง โดยปกติก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์หรือวัยเริ่มเจริญพันธุ์ในระยะต้น ๆ"[4]และเหมือนกับ DSM เกณฑ์ในระบบนี้กำหนดให้บุคคลต้องอายุอย่างน้อย 16 ปีหรือแก่กว่าก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นคนใคร่เด็กและต้องมีความต้องการทางเพศที่ยืนกรานและเป็นหลักต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่อายุน้อยกว่าอย่างน้อย 5 ปี[3]

มีบทอภิธานหลายศัพท์ที่ใช้เพื่อแยกแยก "คนใคร่เด็กจริง ๆ" จากผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่คนใคร่เด็กหรือไม่จำกัดเฉพาะเด็กหรือเพื่อแยกแยะประเภทของผู้กระทำผิดแบบต่อเนื่อง โดยแยกตามกำลังและความจำกัดเฉพาะของความสนใจใคร่เด็กและตามแรงจูงใจในการทำผิด (ดู ผู้กระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก)เช่น คนใคร่เด็กแบบจำกัดเฉพาะบางครั้งเรียกว่า "คนใคร่เด็กจริง ๆ"คือสนใจแต่เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์เท่านั้นโดยที่ไม่มีความสนใจทางเพศกับผู้ใหญ่และจะสามารถมีอารมณ์เพศก็ต่อเมื่อจินตนาการหรืออยู่กับเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์หรือทั้งสอง[16]และเช่นผู้กระทำผิดที่ไม่จำกัดเพาะ บางทีเรียกว่า คนใคร่เด็กแบบไม่จำกัดเฉพาะ และบางครั้งเรียกว่าผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่คนใคร่เด็ก แต่ว่าสองคำนี้บางครั้งก็ไม่ใช้เป็นไวพจน์ของกันและกัน (คือใช้ในความหมายที่ไม่เหมือนกัน)ผู้ทำผิดที่ไม่จำกัดเฉพาะ มีความรู้สึกทางเพศต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถเกิดอารมณ์ทางเพศเพราะเหตุจากเด็กหรือผู้ใหญ่แต่ว่าอาจจะชอบใจเด็กหรือผู้ใหญ่ทางเพศเป็นพิเศษและถ้าชอบใจเด็กทางเพศมากกว่า (คือเป็นหลัก) ผู้กระทำผิดเช่นนี้ก็พิจารณาว่าเป็นคนใคร่เด็กเหมือนกับผู้ทำผิดที่จำกัดเฉพาะ[4][16]

ให้สังเกตว่า เกณฑ์วินิจฉัยของทั้ง DSM และ ICD-10 ไม่ได้บังคับให้ต้องมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็กและดังนั้นจึงใช้ได้กับบุคคลที่มีจินตนาการหรือแรงกระตุ้นทางเพศเท่านั้นแม้ว่าจะไม่ได้ทำการอะไร ๆและบุคคลที่ทำการตามแรงกระตุ้นทางเพศแต่ไม่ประสบความเดือนร้อนเกี่ยวกับจินตนาการหรือแรงกระตุ้น ก็จะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยนี้เช่นกันและการ "ทำการ" ตามแรงกระตุ้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่กิจกรรมทางเพศแบบโต้ง ๆ เท่านั้น แต่บางครั้งรวมการแสดงลามกอนาจาร พฤติกรรมโรคถ้ำมอง การถูอวัยวะอนาจาร[2]หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองโดยใช้สื่อลามกอนาจารเด็ก[38]บ่อยครั้ง พฤติกรรมเหล่านี้ต้องพิจารณาภายในบริบทและต้องอาศัยดุลวินิจฉัยของแพทย์ในการวินิจฉัยและเช่นกันในกรณีที่คนไข้เป็นเด็กปลายวัยรุ่น ความแตกต่างระหว่างวัยที่กำหนดในเกณฑ์ ไม่ได้หมายให้ใช้เป็นตัวเลขที่แน่นอนและดังนั้น จึงต้องพิจารณาสถานการณ์อย่างระมัดระวัง[67]

คำว่า ความเชื่อว่าเพศหรือรสนิยมทางเพศของตนผิดปกติ (Ego-dystonic sexual orientation, F66.1) ใช้กำหนดบุคคลที่ยอมรับว่าตนชอบใจทางเพศต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ต้องการเปลี่ยนเพราะเป็นเหตุของปัญหาทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือทั้งสอง

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเกณฑ์วินิจฉัย

เกณฑ์วินิจฉัยโรคใคร่เด็กของ DSM-IV-TR (รุ่นก่อนปัจจุบัน) ถูกวิจารณ์ว่า รวมคนไข้มากเกินไปและน้อยเกินไป โดยพร้อม ๆ กัน[68]แม้ว่านักวิจัยโดยมากจะแยกแยะระหว่างคนทำร้ายเด็กทางเพศ (molester) และคนใคร่เด็ก[10][11][13][68]นักวิชาการบางท่านจึงอ้างว่า เกณฑ์ของ DSM-IV-TR รวมมากเกินไปเพราะว่าผู้ทำร้ายเด็กทางเพศทุกคนจะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นคนใคร่เด็กโดยจะผ่านเกณฑ์แรกเพราะว่ามีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธ์ และจะผ่านเกณฑ์ที่สองเพราะว่า ได้กระทำการเนื่องจากแรงกระตุ้น[68] ดังนั้น จึงไม่สามารถแยกคนใคร่เด็กออกจากผู้ทำร้ายเด็กทางเพศได้นอกจากนั้นแล้ว เกณฑ์ก็รวมน้อยเกินไปด้วยในกรณีที่บุคคลชอบใจเด็กทางเพศอย่างจำกัดเฉพาะ แต่ไม่ได้ทำการอะไรเนื่องจากแรงกระตุ้น และก็ไม่เดือดร้อนเพราะความรู้สึกที่มีด้วย[68]นักวิจัยอื่น ๆ สนับสนุนข้ออ้างที่สอง โดยกล่าวว่า เป็นกลุ่มคนที่อาจเรียกได้ว่า "คนใคร่เด็กที่พอใจสิ่งที่มี" (contented pedophile)ซึ่งเป็นบุคคลที่จินตนาการเพศสัมพันธ์กับเด็ก หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเนื่องกับจินตนาการเหล่านี้ แต่ไม่ทารุณเด็กทางเพศ และไม่รู้สึกเดือดร้อนทีหลังแต่ก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ว่าเป็นโรคใคร่เด็กสำหรับ DSM-IV-TR เพราะว่าไม่ผ่านเกณฑ์ที่ 2[13][69][70][71]งานสำรวจขนาดใหญ่เกี่ยวกับการใช้การจัดหมวดหมู่ของระบบต่าง ๆ แสดงว่า เกณฑ์ของ DSM มักจะไม่มีคนใช้มีการอธิบายว่า การรวมน้อยเกินไป ความไม่สมเหตุสมผล รวมทั้งการขาดความแน่นอน (reliability) และความชัดเจน อาจจะเป็นเหตุให้เกิดการปฏิเสธเกณฑ์จัดหมวดหมู่ของ DSM[12]

นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเพศวิทยาที่รู้จักกันดีเพราะงานวิจัยเกี่ยวกับโรคใคร่เด็กคือดร.เรย์ แบล็งเชิร์ด กล่าวปัญหาเกณฑ์ของ DSM-IV-TR ในการทบทวนวรรณกรรม แล้วเสนอการแก้ปัญหาทั่วไปที่ใช้ได้กับโรคกามวิปริต (paraphilia) ทั้งหมดโดยแยกกามวิปริต (paraphilia) ออกจากความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder)และให้การวินิจฉัยความผิดปกติในเรื่องนั้น (เช่น paraphilic disorder หรือ pedophilic disorder) ต้องผ่านเกณฑ์ทั้งที่ 1 และ 2เทียบกับบุคคลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ 2 (คือไม่ทำและไม่เดือดร้อน) ผู้ชัดเจนว่ามีกามวิปริตเพราะผ่านเกณฑ์ที่ 1 แต่ไม่วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติ (disorder)[65]นอกจากนั้น ดร.แบล็งเชิร์ด และผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งเสนอให้วินิจฉัย hebephilia ว่าเป็นความผิดปกติภายใต้ DSM-5 เพื่อแก้ความความคาบเกี่ยวกันของพัฒนาการทางกายของเด็กเป้าหมายในโรคใคร่เด็กและ hebephilia โดยรวมเข้าใต้หมวดหมู่ ความผิดปกติแบบใคร่เด็ก (pedophilic disorder) แต่ให้กำหนดพิสัยอายุที่เป็นประเด็น[23][72]ซึ่งต่อมา APA ปฏิเสธ[73]แต่ว่า การแยกแยะกามวิปริต (paraphilia) และความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder) APA ได้ดำเนินการตามข้อเสนอ และดังนั้น การแยกแยะความใคร่เด็กและความผิดปกติแบบใคร่เด็กก็เช่นกัน[2][74]

APA แจ้งว่า "ในกรณีความผิดปกติแบบใคร่เด็ก รายละเอียดที่สำคัญในคู่มือใหม่ อยู่ในส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยน แม้ว่าจะมีการพิจารณาถึงข้อเสนอต่าง ๆ ตลอดกระบวนการพัฒนา DSM-5 เกณฑ์วินิจฉัยในที่สุดก็เหมือนกับใน DSM-IV TR... ชื่อของความผิดปกติเท่านั้นที่เปลี่ยนจาก pedophiliaไปเป็น pedophilic disorder เพื่อให้เข้ากับรายการอื่น ๆ ที่อยู่ในบทนั้น"[74]ถ้า APA ได้ยอมรับการวินิจฉัย hebephilia เข้ากับ pedophilia ใน DSM-5 ก็จะกลายเป็นสิ่งที่คล้ายกับนิยามของ pedophilia ใน ICD-10 ที่รวมเด็กเริ่มวัยเจริญพันธุ์ในระยะต้น ๆ อยู่แล้ว[13]และบุคคลอายุน้อยที่สุดที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคก็จะมีอายุเพิ่มจาก 16 ปี ไปเป็น 18 ปี โดยที่ต้องมีอายุอย่างน้อย 5 ปีมากกว่าเด็กที่เป็นเป้าหมายนั้น[23]

มีนักวิชาการท่านอื่นที่เสนอว่า เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับ pedophilia ควรทำให้ง่ายขึ้นโดยกำหนดด้วยความสนใจทางเพศต่อเด็กเท่านั้น ไม่ว่าคนไข้จะแจ้งเอง พบในแล็บทดสอบ หรือมีพฤติกรรมในอดีตและบอกว่า ความสนใจทางเพศต่อเด็กไม่ว่าจะเป็นประการใด ๆ ผิดปกติทั้งนั้น และความเดือดร้อนใจไม่ใช่ประเด็น โดยให้ข้อสังเกตว่า "ความสนใจทางเพศเช่นนี้ มีโอกาสทำความเสียหายอย่างสำคัญต่อผู้อื่น และก็ไม่เป็นประโยชน์ดีที่สุดของบุคคลนั้นด้วย"[75]แต่ก็มีนักวิชาการพวกอื่นที่ชอบใจให้ใช้พฤติกรรมเป็นตัวกำหนด pedophilia คือไม่เห็นด้วยกับวิธีที่กำหนดโดย APA ในปี 1997 แล้วเสนอให้ใช้การกระทำเป็นเกณฑ์อย่างเดียวในการวินิจฉัย pedophilia ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่ให้ง่ายด้วย[76]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคใคร่เด็ก http://individual.utoronto.ca/james_cantor/blog2.h... http://www.atsa.com/ppantiandro.html http://www.bostonmagazine.com/ArticleDisplay.php?i... http://www.britannica.com/topic/pedophilia http://www.childtrafficking.com/Docs/trembaly_2002... http://www.expatica.com/actual/article.asp?channel... http://books.google.com/books?id=6MQj-mjHgBIC&pg=P... http://books.google.com/books?id=7rSICweU5QYC&pg=P... http://books.google.com/books?id=W3ejX6C_qfwC&pg=P... http://books.google.com/books?id=gngG9zPmNKMC&pg=P...