การบำบัดรักษา ของ โรคใคร่เด็ก

โดยทั่วไป

ไม่มีหลักฐานว่าโรคใคร่เด็กสามารถรักษาให้หายขาด[13]และการบำบัดรักษาโดยมากพุ่งความสนใจไปที่การช่วยคนใคร่เด็กให้ระงับตนเองจากการสนองความต้องการ[6][77]มีวิธีการบำบัดบางอย่างที่พยายามรักษาโรคใคร่เด็ก แต่ว่าไม่มีงานศึกษาที่แสดงว่ามีผลระยะยาวต่อรสนิยมทางเพศ[78]นักจิตวิทยาเชี่ยวชาญทางเพศวิทยาท่านหนึ่งเสนอว่า การพยายามรักษาโรคใคร่เด็กในวัยผู้ใหญ่ไม่น่าจะสำเร็จเพราะว่า พัฒนาการของโรคได้รับอิทธิพลจากปัจจัยก่อนเกิด (prenatal factor)[13]ส่วนจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพศวิทยาอีกท่านหนึ่งเชื่อว่า โรคใคร่เด็กไม่สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ๆ คล้ายกับความรักร่วมเพศและรักต่างเพศ[79]แต่ว่า สามารถช่วยคนใคร่เด็กให้ควบคุมพฤติกรรมของตนได้ และงานวิจัยในอนาคตจะพัฒนาวิธีการป้องกันได้[80]

มีข้อจำกัดสามัญในงานศึกษาประสิทธิผลของการบำบัดคือ งานส่วนมากจัดหมวดหมู่ผู้เข้าร่วมโดยพฤติกรรมแทนที่จัดตามความชอบใจเด็กตามอายุ ซึ่งทำให้ยากที่จะรู้ผลโดยเฉพาะต่อ "คนใคร่เด็ก"[6]งานจำนวนมากไม่ได้เลือกกลุ่มบำบัดและกลุ่มควบคุมโดยสุ่มและผู้ทำผิดที่ปฏิเสธหรือเลิกการบำบัดมีโอกาสสูงกว่าที่จะทำผิดอีกดังนั้น การยกเว้นข้อมูลบุคคลเช่นนั้นจากกลุ่มบำบัด ในขณะที่ไม่ยกเว้นบุคคลที่ปฏิเสธหรือเลิกจากกลุ่มควบคุมอาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในกลุ่มบำบัดเอียงไปในบุคคลที่มีอัตราการกระทำผิดอีกที่ต่ำกว่า[13][81]และประสิทธิผลของการบำบัดคนใคร่เด็กที่ไม่ได้ทำผิดก็ไม่มีการศึกษา[13]

การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน

การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) มีจุดหมายเพื่อลดทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม ที่เพิ่มโอกาสการทำผิดทางเพศต่อเด็กแม้ว่าเนื้อหาของการรักษาจะต่างกันมากในระหว่างผู้บำบัด แต่ว่า โดยทั่วไปโปรแกรมรักษาอาจจะฝึกการควบคุมตัวเอง สมรรถภาพทางสังคม (social competence) ความเห็นใจผู้อื่น และการเปลี่ยนความคิด (cognitive restructuring) เพื่อเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์กับเด็กรูปแบบสามัญที่สุดของการบำบัดเช่นนี้คือการป้องกันโรคกลับ (relapse prevention) ที่สอนคนไข้ให้รู้จักระบุและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ล่อแหลม โดยใช้หลักในการบำบัดการติดสิ่งเร้าอื่น ๆ (เช่นการติดยา)[82]

แต่หลักฐานที่แสดงประสิทธิผลของ CBT ค่อนข้างคลุมเครือ[82]งานปฏิทัศน์แบบคอเครนปี 2012 ที่ศึกษาการทดลองแบบสุ่มพบว่า CBT ไม่มีผลต่อความเสี่ยงของการทำผิดอีกสำหรับผู้กระทำผิดทางเพศแบบจับต้องตัว[83]แต่ว่างานวิเคราะห์อภิมานในปี 2002 และ 2005 ซึ่งศึกษาทั้งงานแบบสุ่มและไม่สุ่ม สรุปว่า CBT ลดการทำผิดอีก[84][85]แต่ก็มีข้อโต้เถียงกันว่า งานศึกษาแบบไม่สุ่มจะให้ข้อมูลอะไรได้หรือไม่[13][86]ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีงานศึกษาเพิ่มขึ้นอีก[83]

การแทรกแซงพฤติกรรม

การบำบัดพฤติกรรมตั้งเป้าที่การตื่นตัวทางเพศต่อเด็ก โดยใช้ทั้งเทคนิคทั้งให้อิ่มและให้รังเกียจ เพื่อระงับความตื่นตัวทางเพศต่อเด็ก และใช้เทคนิคที่เรียกว่าการปรับภาวะแบบลับ (covert conditioning) หรือเรียกว่าการปรับภาวะใหม่โดยสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (masturbatory reconditioning) เพื่อเพิ่มความตื่นตัวทางเพศต่อผู้ใหญ่[87]การบำบัดพฤติกรรมดูเหมือนจะมีผลต่อรูปแบบความตื่นตัวทางเพศในช่วงระหว่างการวัดเลือดที่วิ่งไปที่องคชาต (phallometric testing)แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจทางเพศ เป็นความเปลี่ยนแปลงจากความสามารถควบคุมความตื่นตัวของอวัยวะเพศระหว่างการทดสอบ หรือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะดำรงอยู่ในระยะยาวได้[88][89]และสำหรับผู้ทำผิดทางเพศที่พิการทางจิต มีการใช้การบำบัดที่แนะแนวทางโดยการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์ (applied behavior analysis)[90]

การลดความต้องการทางเพศ

การใช้ยาเพื่อลดความต้องการทางเพศโดยทั่วไป สามารถช่วยจัดการความรู้สึกใคร่ต่อเด็ก แต่ว่าไม่ได้เปลี่ยนรสนิยมทางเพศ[91]ยาต้านฮอร์โมน (antiandrogens) ทำงานโดยเข้าไปแซกแทรงการทำงานของฮอร์โมนเพศชายโดยมีการใช้ cyproterone acetate (เช่นยี่ห้อ Androcur) และ medroxyprogesterone acetate (Depo-Provera) มากที่สุดประสิทธิผลของยาต้านฮอร์โมนมีหลักฐานบ้าง แต่ว่ามีงานศึกษาคุณภาพสูงน้อยมากคือ cyproterone acetate มีหลักฐานดีที่สุดในการลดความตื่นตัวทางเพศ ในขณะที่ผลของ medroxyprogesterone acetate คลุมเครือ[92]

มีการใช้ Gonadotropin-releasing hormone analogue เช่น leuprolide acetate (ยี่ห้อ Lupron) ที่ช่วยลดการผลิตฮอร์โมนเพศชาย และมีผลนานกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เพื่อลดความต้องการทางเพศด้วย[93]และ selective serotonin reuptake inhibitor ก็เช่นกัน[92]หลักฐานของยาทางเลือกเหล่านี้ยิ่งจำกัดกว่า และได้จากการทดลองแบบเปิด (open trial) และ case study[13]การบำบัดด้วยยาดังที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ซึ่งเรียกรวมกันโดยสามัญโดยชาวตะวันตกว่า "chemical castration" (การตอนทางเคมี) มักจะใช้ร่วมกับ CBT[94]ตามสมาคมเพื่อการบำบัดผู้ทารุณทางเพศ (Association for the Treatment of Sexual Abusers) เมื่อจะบำบัดผู้ทำร้ายเด็กทางเพศ "การบำบัดด้วยยาต้านฮอร์โมนควรจะทำคู่กับการเฝ้าตรวจและการให้คำแนะนำ (counseling) ในแผนการบำบัดแบบเบ็ดเสร็จ"[95]แต่ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียง รวมทั้งการเพิ่มน้ำหนัก การเพิ่มหน้าอก ตับเสียหาย และภาวะกระดูกพรุน[13]

โดยประวัติแล้ว มีการใช้การผ่าตัดตอนเพื่อลดความต้องการทางเพศโดยลดฮอร์โมนเพศชายแต่การใช้ยาเพื่อลดฮอร์โมนได้ทำวิธีนั้นให้ตกไป เพราะว่าได้ผลเท่ากันและมีผลเสียน้อยกว่า[91]แต่ว่าก็ยังมีการทำอยู่ในประเทศเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สวิตเซอร์แลนด์ และบางรัฐของสหรัฐอเมริกางานศึกษาแบบไม่สุ่มรายงานว่าการตอนโดยผ่าตัด ลดระดับการทำผิดอีกของผู้ทำผิดทางเพศแบบจับต้องตัว[96]แต่สมาคมเพื่อการบำบัดผู้ทารุณทางเพศต่อต้านการตอนโดยผ่าตัด[95]และสภายุโรปก็กำลังดำเนินการเพื่อยุติข้อปฏิบัติเยี่ยงนี้ในประเทศทางยุโรปตะวันออกที่ทำโดยคำสั่งศาล[97]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคใคร่เด็ก http://individual.utoronto.ca/james_cantor/blog2.h... http://www.atsa.com/ppantiandro.html http://www.bostonmagazine.com/ArticleDisplay.php?i... http://www.britannica.com/topic/pedophilia http://www.childtrafficking.com/Docs/trembaly_2002... http://www.expatica.com/actual/article.asp?channel... http://books.google.com/books?id=6MQj-mjHgBIC&pg=P... http://books.google.com/books?id=7rSICweU5QYC&pg=P... http://books.google.com/books?id=W3ejX6C_qfwC&pg=P... http://books.google.com/books?id=gngG9zPmNKMC&pg=P...