อาการ ของ โรคใคร่เด็ก

พัฒนาการและรสนิยมทางเพศ

ความใคร่เด็กเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างวัยเริ่มเจริญพันธุ์ และเสถียรในระยะยาว[25]และเป็นสิ่งที่พบในตน ไม่ใช่สิ่งที่เลือก[6]เพราะเหตุนี้ ความใคร่เด็กจึงเรียกว่าเป็นความผิดปกติของความชอบทางเพศ (disorder of sexual preference) คล้ายกับรสนิยมทางเพศเป็นคนรักต่างเพศหรือคนรักร่วมเพศ ที่ไม่ได้เลือก[25]แต่ว่า ธรรมชาติเช่นนี้ไม่ได้ลดระดับ pedophilia ให้ไม่เป็นความผิดปกติทางจิต เพราะว่ากิจกรรมใคร่เด็กสามารถสร้างความเสียหายต่อเด็กและแพทย์พยาบาลสุขภาพจิตในบางกรณีสามารถช่วยคนใคร่เด็กให้ระงับไม่ทำตามอารมณ์ชั่ววูบซึ่งสร้างความเสียหาย[26]

โดยตอบสนองต่อการตีความผิดว่า สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) พิจารณาโรคใคร่เด็กว่าเป็นรสนิยมทางเพศ ไม่ใช่ความผิดปกติ เพราะคำพูดที่พิมพ์ในคู่มือ DSM-5ซึ่งแยกแยะระหว่างกามวิปริต (paraphilia) และสิ่งที่คู่มือเรียกว่า ความผิดปกติแบบกามวิปริต (paraphilic disorder) ซึ่งมีผลเป็นการแบ่ง pedophilia (ความใคร่เด็ก) และ pedophilic disorder (ความผิดปกติแบบใคร่เด็ก) สมาคมจึงกล่าวว่า"'รสนิยมทางเพศ' ([S]exual orientation) ไม่ใช่เป็นคำที่ใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติแบบใคร่เด็ก และการใช้คำนั้นในคำบรรยายของ DSM-5 เป็นความผิดพลาดที่ควรแก้เป็น 'ความสนใจทางเพศ' (sexual interest)"และ "จริงอย่างนั้น APA พิจารณาความผิดปกติแบบใคร่เด็กว่าเป็น 'กามวิปริต' และไม่ใช่ 'รสนิยมทางเพศ'ความผิดพลาดนี้จะแก้ใน DSM-5 รุ่นอิเล็กทรอนิกส์ และในการพิมพ์คู่มือครั้งต่อไป"APA สนับสนุนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งความพยายามที่จะดำเนินคดีอาญา ต่อผู้ที่ทารุณต่อและฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กและวัยรุ่นและ"สนับสนุนความพยายามต่อเนื่อง ที่จะพัฒนาการรักษาบำบัดสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติแบบใคร่เด็ก เพื่อป้องกันทารุณกรรมที่จะเกิดในอนาคต"[27]

โรคร่วมและบุคลิกภาพ

งานวิจัยโรคใคร่เด็กในผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กบ่อยครั้งรายงานว่า มันเกิดกับจิตพยาธิอย่างอื่น ๆ เช่น การเคารพตนต่ำ (self-esteem)[28]ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาบุคลิกภาพต่าง ๆไม่ชัดเจนว่า สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนของโรค ผลของความเอนเอียงโดยการสุ่มตัวอย่าง หรือผลที่เกิดจากการถูกระบุว่าเป็นผู้ทำผิดทางเพศ[18]การทบทวนวรรณกรรมงานหนึ่งสรุปว่า งานวิจัยเรื่องบุคลิกภาพและจิตพยาธิในผู้ใคร่เด็กน้อยครั้งที่จะใช้ระเบียบวิธีที่ถูกต้องโดยส่วนหนึ่งเกิดจากความสับสนระหว่าง "คนใคร่เด็ก" กับ "ผู้ทำผิดทางเพศต่อเด็ก" และความยากลำบากที่จะได้ตัวอย่างคนใคร่เด็กจากชุมชนที่เป็นตัวแทนประชากร[29]มีนักวิชาการที่ชี้ว่า คนใคร่เด็กที่ได้จากกระบวนการรักษาอยู่ที่นั่นก็เพราะว่าตนเดือดร้อนเกี่ยวกับความชอบทางเพศของตน หรือเพราะความกดดันจากคนอื่นซึ่งเพิ่มโอกาสว่า คนเหล่านั้นจะแสดงปัญหาทางจิตต่าง ๆและโดยนัยเดียวกัน คนใคร่เด็กที่ได้มาจากกระบวนการยุติธรรมก็เป็นผู้ถูกตัดสินว่าผิดในอาชญากรรม ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะมีลักษณะต่อต้านสังคมต่าง ๆ[30]

งานวิจัยปี 2002 พบความเสียหายต่อความคิดเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในตัวอย่างผู้กระทำผิดทางเพศต่อเด็กที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นโรคใคร่เด็ก เป็นความเสียหายที่ผู้เขียนเสนอว่า อาจมีส่วนให้ทำผิดต่อเด็กคือ คนใคร่เด็กผู้ทำผิดทางเพศในงานวิจัยมีระดับ psychopathy (พฤติกรรมต่อต้านสังคม ความเห็นใจคนอื่นและความเสียใจน้อย พฤติกรรมที่ไม่ยับยั้งชั่งใจ) ที่สูงขึ้นและมีความบิดเบือนทางประชาน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นคนปกติจากชุมชนซึ่งนักวิจัยตีความว่าเป็นมูลฐานของความไม่สามารถห้ามพฤติกรรมทางอาชญากรรมของตน[31]แต่ว่างานในปี 2009 และ 2012 กลับพบว่า ผู้ที่ทำร้ายเด็กทางเพศแต่ไม่ใช่คนใคร่เด็กแสดงลักษณะ psychopathy แต่คนใคร่เด็กผู้ทำร้ายเด็กไม่แสดง[32][33]

ส่วนงานวิจัยปี 1983 ศึกษาลักษณะของสมาชิกสโมสรคนใคร่เด็กกลุ่มหนึ่ง[34]ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างคนใคร่เด็กกับคนกลุ่มควบคุมปกติก็คือ introversion scale คือคนใคร่เด็กแสดงความขี้อาย ความไวต่ออารมณ์ (sensitivity) และความซึมเศร้าในระดับที่สูงขึ้นคนใคร่เด็กมีระดับ neuroticism และ psychoticism ที่สูงขึ้น แต่ไม่พอที่จะจัดว่าเป็นโรคแต่ผู้เขียนเตือนให้ระวังว่า

การแยกแยะเหตุกับผลเป็นเรื่องยากเราไม่สามารถบอกได้ว่า คนใคร่เด็กมีความชอบเอียงไปทางเด็กเพราะว่า เป็นคนเก็บตัวในระดับสูง แล้วพบการอยู่กับเด็กว่าน่ากลัวน้อยกว่าอยู่กับผู้ใหญ่หรือว่า การถอนตัวจากสังคมดังที่แสดงเป็นนัยโดยระดับ introversion เป็นผลของความโดดเดี่ยวทางสังคมที่เกิดจากความต้องการทางเพศของตนคือ (เกิดจาก)ความตระหนักถึงการประณามและความเป็นปฏิปักษ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความต้องการทางเพศนั้น[34]:324

ในงานสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่คนไข้ คนใคร่เด็ก 46% แจ้งว่า ตนได้พิจารณาการฆ่าตัวตายอย่างจริงจังเพราะความสนใจทางเพศของตน 32% มีแผนจะทำ และ 13% ได้พยายามแล้ว[35]

งานทบทวนงานวิจัยเชิงคุณภาพที่พิมพ์ระหว่างปี 1982-2001 สรุปว่า ผู้ทารุณเด็กทางเพศมีการประมวลทางประชานที่บิดเบือน (cognitive distortion) เพื่อประโยชน์แก่ตน โดยให้เหตุผลแก้ต่างทารุณกรรม คือคิดถึงการกระทำของตนว่าเป็นความรักและความมีใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย และฉวยประโยชน์โดยอาศัยความไม่สมดุลทางกำลัง-อำนาจที่มีโดยธรรมชาติในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก[36]ความคิดที่บิดเบือนอื่น ๆ รวมทั้งแนวคิดว่าเด็กมีสภาพบางอย่างทางเพศ ว่าพฤติกรรมทางเพศเป็นเรื่องควบคุมไม่ได้ และเรื่องสิทธิการได้เพศสัมพันธ์[37]

สื่อลามกอนาจารเด็ก

ดูบทความหลักที่: สื่อลามกอนาจารเด็ก

การบริโภคสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นตัวบ่งชี้ความใคร่เด็กที่แน่นอนกว่าการทำร้ายเด็กทางเพศ[38]แม้ว่าจะมีคนที่ไม่ใช่คนใคร่เด็กที่ดูสื่อลามกอนาจารเด็ก[39]การใช้สื่อลามกอนาจารเด็กมีจุดหมายหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การสนองความรู้สึกทางเพศเป็นส่วนตัวหรือการแลกเปลี่ยนกับผู้สะสมสื่อคนอื่น ๆจนถึงการใช้เป็นส่วนของกระบวนการเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ (child grooming)[40][41][42]

คนใคร่เด็กที่ดูสื่อลามกอนาจารเด็กบ่อยครั้งจะหมกมุ่นอยู่กับการสะสม การจัดระเบียบ การจัดหมวดหมู่ และการติดป้ายสื่อที่สะสมโดยแบ่งเป็นวัย เพศ กิจกรรมทางเพศ และจินตนาการทางเพศที่ตนมี[43]ตามเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐคนหนึ่ง "การสะสม" สื่อไม่ได้หมายเพียงแค่ดูสื่อ แต่หมายถึงเก็บมันไว้ จนกระทั่ง "มันกลายเป็นสิ่งที่กำหนด ให้เชื้อเพลิง และยืนยันจินตนาการทางเพศที่พวกเขาชอบใจมากที่สุด"[39]เจ้าหน้าที่ยังกล่าวด้วยว่า การเก็บสะสมเป็นตัวชี้บ่งที่ดีที่สุดว่าผู้กระทำผิดต้องการจะทำอะไร แต่ไม่ได้บ่งว่าได้ทำอะไรไปแล้วหรือว่าจะทำอะไรต่อไป[44]นักวิจัยรายงานว่า คนใคร่เด็กที่สะสมสื่อลามกอนาจารเด็ก บ่อยครั้งจะเข้าร่วมกับชุมชนอินเทอร์เน็ตนิรนาม ที่อุทิศให้กับการเพิ่มจำนวนสื่อของสมาชิกชุมชน[45]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคใคร่เด็ก http://individual.utoronto.ca/james_cantor/blog2.h... http://www.atsa.com/ppantiandro.html http://www.bostonmagazine.com/ArticleDisplay.php?i... http://www.britannica.com/topic/pedophilia http://www.childtrafficking.com/Docs/trembaly_2002... http://www.expatica.com/actual/article.asp?channel... http://books.google.com/books?id=6MQj-mjHgBIC&pg=P... http://books.google.com/books?id=7rSICweU5QYC&pg=P... http://books.google.com/books?id=W3ejX6C_qfwC&pg=P... http://books.google.com/books?id=gngG9zPmNKMC&pg=P...