โรงพยาบาลรัฐฯ ของ โรงพยาบาลในประเทศไทย

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข[1] โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด[2] เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต[3] เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - วิทยาลัยแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ดังนี้

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขความขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ในการร่วมผลิตแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง “สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.”

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1-3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ / วิทยาลัยแพทยศาสตร์) ประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) จะอาศัย โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลทั่วไป (บางแห่ง) และโรงพยาบาลศูนย์ (บางแห่ง) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก ปัจจุบัน ทาง สบพช. มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก เหล่านั้น อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้นๆ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั่วประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง [4] ดังนี้

ลำดับโรงพยาบาลจังหวัด
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
4ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรีจังหวัดชลบุรี
3กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศกรุงเทพมหานคร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปางจังหวัดลำปาง
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จังหวัดเชียงราย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรีจังหวัดสระบุรี
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จังหวัดชุมพร
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
4ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธรจังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลาจังหวัดสงขลา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตรจังหวัดพิจิตร
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกจังหวัดพิษณุโลก
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่จังหวัดแพร่
4ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจังหวัดตาก
5ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจังหวัดปราจีนบุรี
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยองจังหวัดระยอง
3กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือจังหวัดชลบุรี
4โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทยจังหวัดชลบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยาจังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยมหิดล (กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก)
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจังหวัดนครศรีธรรมราช
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จังหวัดนครสวรรค์
4ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรีจังหวัดราชบุรี
5ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจังหวัดกาญจนบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์จังหวัดกาฬสินธุ์
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลกลางกรุงเทพมหานคร
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสำนักการแพทย กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์กรุงเทพมหานคร
3โรงพยาบาลสุโขทัย กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
4โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรังจังหวัดตรัง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลาจังหวัดยะลา
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์จังหวัดนราธิวาส
4ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลปัตตานีจังหวัดปัตตานี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์
3ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี
2ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ

โรงพยาบาลส่วนกลาง

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์

โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 34 แห่ง จำแนกตามภาคดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง

ภาคใต้

โรงพยาบาลทั่วไป

โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 86 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว) จำแนกตามภาค[5] ดังนี้

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออก
ภาคกลาง

ภาคใต้

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

ดูบทความหลักที่: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด[6]) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[7] โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520[8] ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง[9][1] ดังนี้

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

ดูบทความหลักที่: พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

ดูบทความหลักที่: พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติอื่น ๆ

โรงพยาบาลชุมชน

โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง[1]

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ

สภากาชาดไทย

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซึ่งบริหารโดยตรงโดย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินงานจัดหาพื้นที่และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลดอนเมืองเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กองการแพทย์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี กองการแพทย์ เทศบาลนครอุดรธานี
  • โรงพยาบาลเมืองพัทยา สำนักการสาธารณสุข เมืองพัทยา
  • โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  • โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

กรมแพทย์ทหารบก

กรมแพทย์ทหารเรือ

กรมแพทย์ทหารอากาศ

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้านครหลวง

กระทรวงการคลัง

กระทรวงยุติธรรม

องค์การมหาชน


ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงพยาบาลในประเทศไทย http://203.157.240.14/gis/main/ http://newcpird.org/html/cpird4.php http://www.kmitl.ac.th/ader/sec/hospital_num.pdf http://www.dmh.go.th/intranet/news_others/hos_new.... http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/index.php http://www.skh.moph.go.th/web_doc/history.html http://www.cp-hosp.or.th/display/index.php http://www.cp-hosp.or.th/display/l2.php?section=1&... http://www.cp-hosp.or.th/display/l2.php?section=2&...