สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ของ โรงเรียนอัสสัมชัญ

ประติมากรรมปูนปั้น (ทับหลัง) จัดทำโดย ศ.ศิลป์ พีระศรี ด้านล่างจารึกคำประพันธ์ของภราดา ฟ.ฮีแลร์ว่า "จงตื่นเถิด เปิดตา หาความรู้ เรียนคำครู คำพระเจ้า เฝ้าขยัน จะอุดม สมบัติ ปัจจุบัน แต่สวรรค์ ดีกว่า เราอย่าลืม" เดิมติดตั้ง ณ หอประชุมตึกสุวรรณสมโภช (อดีต) ปัจจุบันติดตั้ง ณ ชั้น 9 ห้องประชุมออดิทอเรียม ภายหลังการทุบตึกหอประชุมสุวรรณสมโภช

ชื่ออัสสัมชัญ

เดิมโรงเรียนใช้ภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de l'Assomption" ซึ่งคุณพ่อกอลมเบต์ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนภายนอกมักเรียกและเขียนผิด ๆ เนื่องจากคำนั้นออกเสียงยากและประกอบกับกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ดังนั้น ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้แจ้งไปทางกรมการศึกษาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาศรมชัญ แต่อธิบดีกรมศึกษา พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่เพียงแต่การออกเสียงยังคล้ายกับชื่อเดิม ความหมายก็คงไว้ตามเดิมของคำว่า "อาศรมชัญ" ด้วย ดังนั้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2453 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอัสสัมชัญ[5]

คำว่า "อัสสัมชัญ" นี้ออกเสียงคล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" และยังมีคำในภาษาบาลีว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ธาตุศัพท์ว่า "ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ เมื่อรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้"[44]

ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญ

ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศัสตราวุธทั้งปวง มีลักษณะเป็นโล่ พื้นสีแดงคาดสีขาวตรงกลาง มีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้กันอยู่กลางโล่ และตัวเลข 1885 คือปีคริสต์ศักราชที่บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ก่อตั้งโรงเรียน นอกจากนี้ สีที่ปรากฏบนโล่ยังเตือนใจให้รำลึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์[45]

ธงประจำโรงเรียน

ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 6 ส่วน มีสีพื้นแบ่งเป็น สามแถบเท่ากันตามแนวนอน เป็นสีประจำโรงเรียน โดยสีแดงอยู่แถบบนและล่าง มีสีขาวอยู่แถบกลาง และมีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้อยู่กลางผืนธง[46]

ความหมาย
ตราโล่เครื่องป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง
สีขาวความบริสุทธิ์
สีแดงความกล้าหาญในการต่อสู้อุปสรรค
ACย่อมาจาก ASSUMPTION COLLEGE

เครื่องแบบนักเรียน

เมื่อแรกตั้งโรงเรียน การแต่งกายของนักเรียนในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องแบบ นักเรียนแต่งกายตามชาติศาสนาของตน ทุกคนใช้หมวกสวมเสื้อนอกคอตั้งหรือเสื้อกุยเฮง แต่สำหรับนักเรียนประจำจะสวมเสื้อกางเกงตามแบบต่างประเทศ ตัดเย็บด้วยผ้าเนื้อดีลายเป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีดำแกมสีฟ้าเข้ม ดูไกล ๆ เป็นสีเทาคล้าม ๆ แต่จะไม่นิยมสวมรองเท้า มักจะสวมกันในวันแจกรางวัล และมีละครเมื่อปิดภาคปลายปีเท่านั้น และจะสวมเสื้อนอก กลัดกระดุมเรียบร้อยด้วย

บรรยากาศใหม่ ๆ ของโรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มขึ้นในวันเปิดเรียนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 นักเรียนแต่งเครื่องแบบกันแล้ว เป็นเสื้อราชปะแตสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ถุงน่องสีขาว รองเท้าดำและหมวกหม้อตาลสีขาว ครบชุด

นับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เครื่องแบบนักเรียนอัสสัมชัญเปลี่ยนจากเสื้อราชประแตนมาเป็นเชิ้ตสีขาวปักอัษรย่อของโรงเรียนและหมายเลขประจำตัวสีแดงเหนือปากกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย ต่อมาได้ย้ายมาปักทางด้านขวาในระดับเดิมแทน และใช้กันจนทุกวันนี้[47]

สำหรับนักเรียนเมื่อเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีเข็มตราโรงเรียน (เข็ม AC) ที่มุมบนด้านขวาของกระเป๋าเสื้อนักเรียนซึ่งอยู่ที่อกด้านซ้ายเป็นสัญลักษณ์ทุกคน

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนอัสสัมชัญ http://www.acassoc.com/ http://www.acassoc.com/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7... http://www.acassoc.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A2... http://www.acpta.com/index.php?option=com_content&... http://www.acpta.com/index.php?option=com_content&... http://www.ac106.aiafanclub.com/index.php?option=c... http://assumptionmuseum.com/th-th/ http://www.assumptionmuseum.com/th-th http://www.assumptionmuseum.com/th-th/ http://www.assumptionmuseum.com/th-th/about/