ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ของ โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ศ.ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ เสนอว่า การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability) เป็นเกณฑ์ที่แยกแยะวิทยาศาสตร์จากศาสตร์ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แล้วใช้โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างแนวคิดที่ไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จในการทดลอง

โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างสำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์เทียม เพราะว่าถึงแม้จะมีการทดสอบอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ล้มเหลวทั้งหมด[10]:62

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้

วิทยาศาสตร์และศาสตร์ที่ไม่ใช่ บ่อยครั้งจะแยกแยะด้วยการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability)กฎเกณฑ์นี้ เสนอเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ศ.ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์สำหรับ ดร.ป็อปเปอร์แล้ว วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องการคิดหาเหตุผลโดยอุปนัย (Inductive reasoning) เพียงอย่างเดียว แต่การทดสอบทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ เป็นความพยายามพิสูจน์ทฤษฎีที่มีอยู่ว่าเป็นเท็จโดยใช้วิธีการทดสอบใหม่ ๆและถ้าทฤษฎีเพียงแค่ล้มเหลวในการทดสอบเดียว ทฤษฎีนั้นก็พิสูจน์ว่าเป็นเท็จแล้ว[14][15]:10ดังนั้น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีฤทธิ์เหมือนกับห้ามไม่ให้เกิดผลประเภทที่พิสูจน์ทฤษฎีว่าเป็นเท็จ และผลการทดลองประเภทอื่นทั้งหมดก็ควรจะคล้องจองกับทฤษฎีโดยใช้กฎเกณฑ์นี้ โหราศาสตร์ก็จะจัดว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[14]

โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างที่ใช้บ่อยที่สุดของ ดร.ป็อปเปอร์ ในเรื่องวิทยาศาสตร์เทียม[16]:7เขาพิจารณาโหราศาสตร์ว่า เป็นเรื่องอาศัย "หลักฐานเชิงประสบการณ์เทียม (pseudo-empirical)" เพราะว่า "มันเรียกร้องให้มีการสังเกตและการทดลอง" แต่ว่า "ไม่มีมาตรฐานที่เทียบเท่ากับวิทยาศาสตร์"[17]:44คือเมื่อเทียบกับสาขาต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์แล้ว โหราศาสตร์จะไม่เปลี่ยนเมื่อพิสูจน์ว่าเท็จผ่านการทดลองซึ่งตามนักเขียนวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง นี่เป็นเครื่องหมายหลักของวิทยาศาสตร์เทียมอย่างหนึ่ง[18]:206

ไม่มีปริศนาที่ต้องไข

โดยเปรียบเทียบกับความเห็นของ ดร.ป็อปเปอร์ นักปรัชญา ศ.ดร.โทมัส คูน อ้างว่า การไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ ไม่ได้ทำให้โหราศาสตร์ให้ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นเพราะว่าทั้งกระบวนการและแนวคิดของโหราศาสตร์ไม่ได้อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์[19]:401สำหรับ ดร.คูน แล้ว แม้ว่าโดยประวัติ โหราศาสตร์จะมีการทำนายที่ "ผิดโดยสิ้นเชิง" แต่นี่ก็ยังไม่ใช่เหตุที่โหราศาสตร์ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือแม้ว่าโหรจะอธิบายความล้มเหลวโดยอ้างว่า การวิเคราะห์ดวงชะตาราศีเป็นเรื่องที่ยากมาก นี่ก็ยังไม่ใช่เหตุเช่นกันดังนั้นในทัศนคติของ ดร.คูน โหราศาสตร์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เพราะมันเหมือนกับการแพทย์สมัยกลาง (medieval medicine) ที่เป็นแค่การทำตามลำดับกฎระเบียบและแนวทาง ตามศาสตร์ที่ดูเหมือนจำเป็นและมีจุดอ่อน แต่กลับไม่มีงานวิจัยที่อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์ เพราะว่าเป็นศาสตร์ที่ยอมรับงานวิจัยไม่ได้[16]:8และดังนั้น "พวกเขาจึงไม่มีปริศนาที่จะไข และดังนั้น จึงไม่มีวิทยาศาสตร์ที่จะประพฤติปฏิบัติ"[16]:8[19]:401

แม้ว่านักดาราศาสตร์จะสามารถปฏิบัติการเพื่อแก้ความล้มเหลวของทฤษฎีได้ แต่โหรไม่สามารถทำได้โหรได้แต่อธิบายแก้ต่างความล้มเหลว แต่ไม่สามารถแก้ไขสมมติฐานทางโหราศาสตร์ให้เหมาะสมได้ดังนั้น สำหรับ ดร.คูน แม้กระทั่งว่าถ้าดวงดาวมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ได้จริง โหราศาสตร์ก็ยังไม่เป็นวิทยาศาสตร์[16]:8

ความก้าวหน้า การปฏิบัติ และความสม่ำเสมอ

นักปรัชญา ศ.ดร.พอล ธาการ์ด เชื่อว่า โหราศาสตร์ไม่สามารถพิจารณาว่าเป็นเท็จ ถ้ายังไม่ได้รับการทดแทนโดยศาสตร์อื่นแต่ในเรื่องการทำนายพฤติกรรม จิตวิทยาสามารถใช้ทดแทนได้[20]:228นอกจากนั้นแล้ว กฎเกณฑ์อื่นที่จำแนกวิทยาศาสตร์และศาสตร์ที่ไม่ใช่ก็คือ จะต้องมีความก้าวหน้า และชุมชนนักวิจัยนักศึกษาควรจะทำความพยายามเปรียบเทียบทฤษฎีปัจจุบันกับทฤษฎีที่เป็นไปได้อื่น ๆ โดยไม่ได้จัดแจงเลือกสรรระหว่างหลักฐานที่ยืนยันกับหลักฐานที่คัดค้าน[20]:227-228

ความก้าวหน้านิยามในที่นี้ว่า สามารถอธิบายปรากฏการณ์ใหม่ ๆ และสามารถตอบคำถามที่มีอยู่ แต่ว่า โหราศาสตร์แทบจะไม่ก้าวหน้าเลยคือแทบจะไม่ได้เปลี่ยนเลยภายใน 2,000 ปีที่ผ่านมา[20]:228[21]:549สำหรับ ดร.ธาการ์ด โหรปฏิบัติเหมือนกับใช้ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ปกติ โดยเชื่อว่า หลักของโหราศาสตร์หยั่งลงดีแล้วแม้ว่าจะมี "ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้" และแม้ว่าจะมีทฤษฎีอื่นที่ใช้อธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่า เช่น จิตวิทยาด้วยเหตุผลเหล่านี้ เขาจึงพิจารณาโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[20]:228

แต่สำหรับ ดร.ธาการ์ดแล้ว โหราศาสตร์ไม่ควรพิจารณาว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมโดยเพราะเหตุเพียงว่า ไม่สามารถหาสหสัมพันธ์ระหว่างนิมิตต่าง ๆ ทางโหราศาสตร์กับความเจริญด้านอาชีพของบุคคล หรือไม่สามารถหาสหสัมพันธ์ที่ควรจะพบระหว่างคู่แฝดที่เกิดในราศีเดียวกัน หรือว่าโหรไม่เห็นพ้องกันเรื่องความสำคัญของดาวเคราะห์ที่พบหลังจากยุคของทอเลมี และเรื่องมหาภัยพิบัติที่ฆ่าบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากที่มีราศีต่าง ๆ กันในเวลาเดียวกัน[20]:226-227ดังนั้น การกำหนดว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์อะไรไม่ใช่ต้องพิจารณาหลักอีก 3 อย่างคือ ทฤษฎี ชุมชน และพื้นเพทางประวัติศาสตร์

การทดสอบและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จสามารถใช้พิจารณาทฤษฎี งานของ ดร.คูน เป็นการพิจารณาพื้นเพทางประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น จึงต้องมาพิจารณาเรื่องชุมชนโหรว่า มีลักษณะต่อไปนี้หรือไม่ คือ[20]:226-227

  • มีความสนใจในการเปรียบเทียบวิธีการของตนกับคนอื่นหรือไม่
  • มีวิธีการที่สม่ำเสมอหรือไม่
  • พยายามที่จะพิสูจน์ทฤษฎีของตนว่าเท็จผ่านการทดลองหรือไม่

ในกระบวนการเช่นนี้ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ จะเกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีการเสนอทฤษฎีอื่น ที่ไม่ใช่เป็นการปรับทฤษฎีเพื่อป้องกันไม่ให้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จ [20]:228

ความไม่มีเหตุผล

สำหรับนักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ โหราศาสตร์ไม่เมีเหตุผลไม่ใช่เพราะมีปัญหามากมายในประเด็นเรื่องกลไกและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จด้วยการทดลอง แต่เป็นเพราะว่า การวิเคราะห์วรรณกรรมทางโหราศาสตร์แสดงว่ามันเต็มไปด้วยเหตุผลวิบัติและวิธีคิดหาเหตุผลที่ไม่ดี[22]:34

ถ้าในวรรณกรรมทางโหราศาสตร์เราพบแต่ข้อความที่ไม่สอดคล้องกัน ความเมินเฉยต่อหลักฐานที่ชัดเจน ความปราศจากลำดับชั้นของเหตุผล การไม่มีกฎเกณฑ์ การไม่เต็มใจที่จะตามเหตุผลไป ความไร้เดียงสาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของคำอธิบาย และอื่น ๆ ผมคิดว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ เราสมควรที่จะปฏิเสธโหราศาสตร์ว่าไร้เหตุผล ... โหราศาสตร์ล้มเหลวในการให้เหตุผลที่สมควรในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อย่างชัดเจน— เอ็ดวาร์ด เจมส์[22]:34

เหตุผลที่ไม่ดีรวมทั้ง การอ้างโหราศาสตร์โบราณเช่นโยฮันเนส เคปเลอร์ แม้ว่า จะไม่ได้อ้างถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกันหรือให้เหตุผลอะไรโดยเฉพาะ ๆ และมีข้ออ้างที่คลุมเครือตัวอย่างเช่น การอ้างว่า คนที่เกิด "ที่เดียวกัน มีวิถีชีวิตที่คล้ายกันมาก"

  1. เป็นคำที่คลุมเครือ
  2. ละเลยความจริงว่า เวลาเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับกรอบอ้างอิง (reference frame) กำหนดโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
  3. ไม่ได้นิยามของคำว่า "ที่เดียวกัน" ในโลกที่โคจรไปในกรอบอ้างอิงของระบบสุริยะ

นอกจากนั้น ข้อคิดเห็นของโหรเกี่ยวกับฟิสิกส์ยังประกอบด้วยการตีความที่ผิดพลาด เช่น มีโหรคนหนึ่งที่อ้างว่า ระบบสุริยะดูเหมือนกับอะตอมเจมส์ยังให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า การตอบโต้คำวิจารณ์ของโหรอาศัยตรรกะที่ผิดพลาด แล้วยกตัวอย่างข้อตอบโต้เรื่องการศึกษาคู่แฝดที่โหรอ้างว่า ความคล้ายคลึงกันที่พบในคู่แฝดมีเหตุจากหลักทางโหราศาสตร์ แต่ความแตกต่างกันมาจาก "กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม"และสำหรับโหรคนอื่น ๆ ประเด็นปัญหาเหล่านี้ก็ซับซ้อนเกินไป จึงพยายามกลับไปคิดแต่ในศาสตร์ของตนเท่านั้น[22]:32นอกจากนั้นแล้ว สำหรับโหร ถ้าอะไรปรากฏเป็นผลบวก พวกเขามักจะบอกว่านั่นไงเครื่องพิสูจน์ โดยไม่พยายามตรวจสอบว่า มีเหตุอะไรอื่น ๆ ได้อีกหรือไม่ ชอบใจใช้แต่ผลบวกว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งใดที่เป็นผลลบกลับละเลยไม่ใส่ใจทั้งหมด[22]:33

การแบ่งเป็นทวิภาคของไควน์

ส่วนในทฤษฎีเว็บแห่งความรู้ของ ศ.ดร.วิลลาร์ด แวน ออร์แมน ไควน์ มีการแบ่งออกเป็นสองภาคว่า บุคคลต้องปฏิเสธโหราศาสตร์ หรือไม่ก็ยอมรับโหราศาสตร์แต่ต้องปฏิเสธสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่มั่นคงเชื่อถือได้แล้วว่า ไม่เข้ากับโหราศาสตร์[15]:24

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ http://astrology-and-science.com/ http://www.badastronomy.com/bad/misc/astrology.htm... http://www.beliefnet.com/story/63/story_6346_1.htm... http://www.nature.com/nature/journal/v467/n7319/fu... http://scx.sagepub.com/content/early/2010/12/04/10... http://www.sciencedaily.com/releases/2010/12/10120... http://www.sixtysymbols.com/videos/declination.htm http://journal.telospress.com/content/1974/19/13.s... http://www.theguardian.com/science/the-lay-scienti... http://www.washingtonpost.com/wp-srv/aponline/2001...