สังคมศาสตร์ ของ โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1953 นักสังคมศาสตร์ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ทำงานศึกษาเกี่ยวกับคอลัมน์โหราศาสตร์ในหนังสือพิมพ์ที่นครลอสแอนเจลิส โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจสอบสื่อมวลชนในสังคมทุนนิยม[48]:326เขาเชื่อว่าโหราศาสตร์นิยม เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ข้อความที่สนับสนุนการปฏิบัติตามกัน และโหรที่แหวกแนวโดยชักชวนไม่ให้ทำงานให้ดีเป็นต้น อาจจะดำรงอาชีพอยู่ไม่ได้[48]:327เขาสรุปว่า โหราศาสตร์เป็นการสำแดงออกของความไร้เหตุผลอย่างเป็นระบบ ที่คำชมและการพูดรวม ๆ แบบคลุมเครือ ทำให้บุคคลเชื่อว่าผู้เขียนคอลัมน์กล่าวถึงตนโดยตรง[49]เขากล่าวเลียนประโยคยอดนิยมของคาร์ล มากซ์ที่ว่า "ศาสนาเป็นฝิ่นของมวลชน" โดยกล่าวว่า "เรื่องไสยศาสตร์เป็นอภิปรัชญาของคนโง่"[48]:329

ความสมดุลหลอก (False balance) เป็นความเอนเอียงในสื่อ ที่มีการนำความเห็นที่ไม่จริง ไม่ได้รับการยอมรับ หรือเป็นของเทียม มาพูดพร้อมกับความเห็นที่มีเหตุมีผล เป็นความเอนเอียงที่ชวนให้เห็นว่า เรื่องนี้มีสองด้านเท่าเทียมกัน ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่มี[50]ในรายการทีวีของบีบีซี Wonders of the Solar System (สิ่งมหัศจรรย์ในระบบสุริยะ) นักฟิสิกส์นักพรีเซ็นเต้อร์ท่านหนึ่งกล่าวว่า "ถึงโหราศาสตร์จริง ๆ จะเป็นเรื่องเหลวไหล แต่ดาวพฤหัสบดีจริง ๆ ก็มีอิทธิพลที่ลึกซึ้งต่อโลกของเรา โดยผ่านพลังอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือ...แรงโน้มถ่วง"ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ชมที่เชื่อในโหราศาสตร์หัวเสีย ผู้บ่นว่า ไม่มีนักโหราศาสตร์มาให้ความเห็นเพื่อความสมดุลหลังจากรับฟังคำบ่นจากผู้เชื่อในโหราศาสตร์ นักฟิสิกส์ท่านนั้นให้คำพูดนี่แก่บีบีซี "ผมขอโทษต่อชุมชนโหราศาสตร์ที่ไม่ได้กล่าวจุดยืนของผมให้ชัดเจน ผมควรจะพูดว่า เรื่องเหลวไหลสมัยใหม่เช่นนี้ กำลังขุดรากทำลายฐานอารยธรรมของเรา"[50]และในรายการ Stargazing Live (การดูดาว สด) นักฟิสิกส์ท่านนั้นก็กล่าวเพิ่มอีกว่า "(ผมขอพูดอะไรหน่อย)เพื่อให้เกิดความสมดุลในรายการบีบีซี ครับ โหราศาสตร์เป็นเรื่องเหลวไหล"[51]บทความบรรณาธิการของวารสารการแพทย์อังกฤษบทความหนึ่ง อ้างเหตุการณ์นี้เพื่อแสดงว่า ความสมดุลเทียมสามารถเกิดขึ้นได้ในที่ไหนบ้าง[50]

ทั้งงานศึกษาทั้งโพลสำรวจแสดงว่า ความเชื่อในโหราศาสตร์ในประเทศตะวันตกอยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่คาด[9]ในปี ค.ศ. 2012 โพลแสดงว่า คนอเมริกัน 42% กล่าวว่า ตนคิดว่าโหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์โดยบางส่วน[52]:7/25ความเชื่อเช่นนี้ลดลงตามระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น และระดับการศึกษามีสหสัมพันธ์สูงกับระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์[9]:345

ระดับความเชื่อที่แจ้งเองดังที่พบในงานต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากความสับสนระหว่างคำอังกฤษว่า astrology (โหราศาสตร์) และ astronomy (ดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า)แต่ความใกล้เคียงกันของสองคำนี้ต่าง ๆ กันในภาษาต่าง ๆ[9]:344, 346และคำอธิบายแบบโต้ง ๆ ของโหราศาสตร์ว่าเป็น "อิทธิพลเหนือธรรมชาติของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ เป็นต้น ต่อวิถีชีวิตมนุษย์" ในโพล์ยุโรปปี ค.ศ. 1992 ไม่มีผลอะไรต่อการประเมินของสาธารณชนทั่วไปว่า โหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่นี้อาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ใต้จิตสำนึกในสาธารณชนทั่วไป ว่าคำอังกฤษที่ลงท้ายด้วย "ology" เป็นสาขาวิชาความรู้ที่มีเหตุมีผล[9]:346ในปี ค.ศ. 2004 มีการใช้โพลแบ่งส่วนเพื่อกำจัดความสับสนเรื่องคำครึ่งหนึ่งของโพลใช้คำว่า "astrology" อีกครึ่งหนึ่งใช้คำว่า "horoscope" (ดวงชะตาราศี)[9]:349ความเชื่อว่า astrology (โหราศาสตร์) เป็นวิทยาศาสตร์โดยบางส่วน อยู่ที่ระดับ 76% แต่ความเชื่อว่า horoscopes (ดวงชะตาราศี) เป็น อยู่ที่ระดับ 43%และความเชื่อว่าโหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์โดยระดับสูง อยู่ที่อัตรา 26% ในขณะที่ความเชื่อในดวงชะตาราศีอยู่ที่อัตรา 7%[9]:352ซึ่งเป็นงานที่ดูเหมือนจะชี้ว่า การสนับสนุนโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในยุโรปเกิดจากความสับสนในคำพูด[9]:362

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ http://astrology-and-science.com/ http://www.badastronomy.com/bad/misc/astrology.htm... http://www.beliefnet.com/story/63/story_6346_1.htm... http://www.nature.com/nature/journal/v467/n7319/fu... http://scx.sagepub.com/content/early/2010/12/04/10... http://www.sciencedaily.com/releases/2010/12/10120... http://www.sixtysymbols.com/videos/declination.htm http://journal.telospress.com/content/1974/19/13.s... http://www.theguardian.com/science/the-lay-scienti... http://www.washingtonpost.com/wp-srv/aponline/2001...