ปัญหาทางทฤษฎี ของ โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

นอกจากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่โหราศาสตร์ไม่ผ่าน หลักต่าง ๆ ของโหราศาสตร์ยังมีอุปสรรคในการยอมรับเพราะมีข้อบกพร่องทางทฤษฎีหลายอย่าง[10]:62[15]:24รวมทั้งไม่มีความสม่ำเสมอ ไม่สามารถทำนายดาวเคราะห์อื่น ๆ ที่ก่อนนี้ไม่รู้จัก ไม่มีความสัมพันธ์อะไรระหว่างราศีกับกลุ่มดาว และการไม่มีกลไกการทำงานของทฤษฎีนอกจากนั้นแล้ว รากฐานต่าง ๆ ของโหราศาสตร์มักจะไม่สอดคล้องกับความจริงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย[15]:24

ไม่มีความสม่ำเสมอ

การทดสอบความสมเหตุสมผล (validity) ของโหราศาสตร์เป็นเรื่องยาก เพราะว่าไม่มีมติส่วนใหญ่ของโหรว่า อะไรคือโหราศาสตร์และว่า มันควรจะทำนายอะไรได้[2]:83ดีนและเค็ลลี่แสดงงาน 25 งานที่พบระดับความคล้อยตามกัน (Inter-rater reliability) ของหมู่โหรวัดได้ที่ 0.1[10]:66 เทียบกับค่าความคล้อยตามกันสัมบูรณ์ที่ 1 และความคล้อยตามกันที่นับว่าใช้ไม่ได้ของสาขาสังคมศาสตร์ที่ 0.8[10]:66 คือพวกโหรมีความคล้อยตามกันในระดับที่ต่ำกว่าที่ยอมรับได้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากโหรมืออาชีพหากินโดยทำนายอนาคต หรือบอกถึงบุคลิกภาพและวิถีชีวิตของลูกค้า แต่ว่า การบอกดวงชะตาราศีโดยมากเป็นข้อความที่คลุมเครือใช้ตรวจสอบไม่ได้และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกคน[2]:83

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ศ.ดร.จอร์จส ชาร์พาค และผู้เขียนร่วม เขียนถึงข้ออ้างทางโหราศาสตร์ชาวตะวันตกในหนังสือ Debunked! ESP, Telekinesis, and other Pseudoscience (แฉ! การรับรู้นอกประสาทสัมผัส การเคลื่อนวัตถุได้ด้วยใจ และวิทยาศาสตร์เทียมอื่น ๆ)[33]พวกเขาชี้ว่า พวกโหรมีความรู้แค่นิดหน่อยเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และมักจะไม่ได้คิดถึงคุณลักษณะทางดาราศาสตร์ขั้นพื้นฐานต่าง ๆ เช่นการหมุนควงของวิษุวัต (precession of the equinoxes) ซึ่งจะเปลี่ยนตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไปตามกาลเวลาพวกเขายกตัวอย่างของโหรผู้หนึ่งผู้อ้างว่า "ดวงอาทิตย์มีตำแหน่งเดียวกันในท้องฟ้าในวันเดียวกันทุก ๆ ปี" ซึ่งใช้เป็นมูลฐานทางโหราศาสตร์ว่า ทำไมคนสองคนที่เกินวันเดียวกันแต่หลายปีต่างกัน จึงควรจะได้รับอิทธิพลจากดาวเคราะห์เหมือน ๆ กันพวกเขาให้ข้อสังเกตว่า "โลกอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันประมาณ 22,000 ไมล์ในวันเดียวกันของสองปีติด ๆ กัน" และดังนั้น คนสองคนจึงไม่ควรได้รับอิทธิพลเหมือนกันตามหลักของโหราศาสตร์และในช่วง 40 ปี ความแตกต่างกันจะเกินกว่า 780,000 ไมล์[34]:6-7

ไม่มีมูลฐานทางกายภาพ

นักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ให้ความเห็นว่า การให้ความสำคัญทางโหราศาสตร์แก่กลุ่มดาวบนทรงกลมฟ้าเขตที่พระอาทิตย์อยู่ในช่วงพระอาทิตย์ตก มีเหตุมาจากมนุษย์ ซึ่งก็คือ โหรไม่ต้องการที่จะตื่นนอนเช้านัก และเวลาเที่ยงวันเป๊ะ ๆ ก็เป็นเรื่องที่รู้ได้ยากนอกจากนั้นแล้ว การสร้างระบบราศี โดยไม่เชื่อมกับกลุ่มดาวก็เพราะว่า พระอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มดาวต่าง ๆ นานเท่า ๆ กัน[22]:25ความไม่เชื่อมกับกลุ่มดาวทำให้เกิดปัญหา คือการหมุนควงจะแยกสัญลักษณ์ราศีจากกลุ่มดาว ที่เคยเชื่อมกันมาก่อน[22]:26นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้ต่อต้านวิทยาศาสตร์เทียมและส่งเสริมให้มีการศึกษาวิทยาศาสตร์มากขึ้นท่านหนึ่งจึงกล่าวว่า "ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมควรจะดูที่ราศีอะไรเมื่อเปิดดูหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ ผมล่ะสงสัยจริง ๆ"[10]:64

ระบบราศี tropical zodiac ไม่มีการเชื่อมโยงกับดาว และตลอดที่ไม่อ้างว่า กลุ่มดาวอยู่ในราศีนั้นหรือราศีนี้ โหรก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการพูดถึงความจริงว่า การหมุนควงทำให้กลุ่มดาวนั้นเคลื่อนไป[34]ดร. ชาร์พาคเห็นอย่างนี้แล้วจึงกล่าวถึงโหราศาสตร์ที่อาศัยระบบ tropical zodiac ว่า "เป็นกล่อง (ในท้องฟ้า) ว่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรสักอย่าง และไม่มีความสม่ำเสมอหรือคล้องจองอะไรเลยกับดวงดาว"[34]การใช้ระบบราศี tropical zodiac โดยลำพังของโหร จะไม่เข้ากับการอ้างถึงช่วงเวลากลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Age of Aquarius) ของโหรอีกนั่นแหละ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไรพระอาทิตย์จะเข้าไปสู่ส่วนของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ[1]

ไม่สามารถทำนายอะไรได้จริง ๆ

ภาพแสดงดาวพลูโตและบริวาร โหราศาสตร์ตั้งขึ้นก่อนจะค้นพบดาวเนปจูน ยูเรนัส และพลูโต ดังนั้น ดาวเหล่านี้จะกล่าวถึงในโหราศาสตร์แบบเฉพาะกิจ ๆ อย่างไม่เป็นระบบ

แม้ว่าโหรจะกล่าวว่า ตำแหน่งของดาวเคราะห์ทั้งหมดเป็นเรื่องจำเป็นในการคำนวณโชคชะตา แต่ว่าโหรกลับไม่สามารถทำนายได้ว่า มีดาวเนปจูนก่อนที่จะมีการค้นพบดาว โดยอาศัยความผิดพลาดในการทำนายดวงชะตาราศีแต่ว่า กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน สามารถทำนายความมีอยู่ของดาวเนปจูนก่อนการค้นพบได้[2]การรวมดาวเนปจูน ยูเรนัส และพลูโต เข้าในการคำนวณทางโหร จึงเป็นการกระทำเป็นกรณีพิเศษอย่างไม่เป็นระบบ[1]

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ลดระดับดาวพลูโตให้เป็นดาวเคราะห์แคระ มีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งสงสัยว่าโหรจะกล่าวตอบว่าอย่างไร คือ[1]

พวกโหรควรที่จะเอามันออกจากรายการสิ่งส่องสว่างบนท้องฟ้า (รวมทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวเคราะห์ 8 ดวงอื่นนอกจากโลก) แล้วสารภาพว่า มันไม่ได้ช่วยให้ (การทำนายโชคชะตาราศี) มีอะไรดีขึ้น หรือไม่

(แต่) ถ้าพวกเขาตัดสินที่จะเก็บมันไว้ แล้วจะเอายังไงกับไอ้พวกดาวเคราะห์แคระที่พึ่งค้นพบใหม่อื่น ๆ อีกนั่นหล่ะ (รวมทั้ง Sedna, Quaoar, และอื่น ๆ) บางดวงมีบริวารรอบ ๆ ด้วยซ้ำ (เช่น Xena, 2003EL61)

การปราศจากกลไกการทำงานที่พิสูจน์ได้

มีการวิจารณ์โหราศาสตร์ว่า ไม่ได้ให้กลไกทางกายภาพ ที่เชื่อมโคจรของดาวกับผลที่อ้างในพฤติกรรมมนุษย์ในบรรยายปี ค.ศ. 2001 ดร.สตีเฟน ฮอว์คิงกล่าวว่า "เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์โดยมากไม่เชื่อเรื่องโหราศาสตร์ก็เพราะว่า มันไม่สอดคล้องกับทฤษฎีของเราที่ทดสอบโดยการทดลองมาแล้ว"[35]ในปี ค.ศ. 1975 เมื่อโหราศาสตร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น วารสารมนุษยนิยม The Humanist พิมพ์บทความคัดค้านโหราศาสตร์ที่เรียบเรียงโดยนักวิทยาศาสตร์และนักมนุษยนิยมหลายท่าน[7]โดยมีชื่อบทความว่า ข้อคัดค้านโหราศาสตร์ และลงชื่อโดยนักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์แนวหน้าอื่น ๆ รวมกัน 186 ท่านพวกเขากล่าวว่า ไม่มีมูลฐานทางวิทยาศาสตร์อะไรเลยสำหรับความเชื่อทางโหราศาสตร์ และเตือนสาธารณชนไม่ให้ยอมรับคำแนะนำทางโหราศาสตร์อย่างไม่มีเงื่อนไข คำวิจารณ์ของพวกเขาชี้ความจริงว่า มันไม่มีกลไกอะไรที่จะให้เกิดผลทางโหราศาสตร์ คือ

เราสามารถเห็นได้ว่า ผลทางแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาวเคราะห์ที่ห่างไกลและดาวฤกษ์ที่ห่างไกลยิ่งกว่านั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงไร

เป็นความผิดพลาดแท้ ๆ ที่จะจินตนาการว่า พลังแห่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในช่วงเวลาเกิด จะมีผลอะไรต่ออนาคตของเรา[7]

แต่ว่านักดาราศาสตร์ ดร.คาร์ล เซแกน ปฏิเสธที่จะลงชื่อสำหรับบทความนี้โดยกล่าวว่า มีจุดยืนเช่นนี้ไม่ใช่เพราะตนคิดว่า โหราศาสตร์สมเหตุสมผล แต่เพราะคิดว่า บทความฟังดูจะเผด็จการ และการปฏิเสธแบบไม่แยแสต่อโหราศาสตร์เพียงเพราะว่า ไม่มีกลไก (แม้ว่า "จะเป็นเรื่องในประเด็นอย่างหนึ่งแน่นอน") ไม่น่าเชื่อถือในจดหมายที่เขาพิมพ์ตามหลังในฉบับต่อมาของวารสาร The Humanist ดร.เซแกนยืนยันว่า เขายินดีที่จะเซ็นชื่อกับบทความเช่นที่ว่า ถ้ามันได้อธิบายและปฏิเสธหลักต่าง ๆ ที่เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์เขาเชื่อว่า การกระทำเช่นนั้นน่าเชื่อถือกว่า และจะทำให้เกิดการโต้เถียงน้อยกว่า[7]

การใช้สุนทรภาพในแนวคิดของกรีกโบราณที่เรียกว่า "macrocosm and microcosm" หรือที่กล่าวว่า "ข้างบนเป็นเช่นไร ข้างล่างก็เป็นเช่นนั้น" เพื่อหาความหมายในโลกโดยลักษณะดาว ดังที่นักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ ยกตัวอย่างไว้ว่า "ดาวอังคารเบื้องบนมีสีแดง ดังนั้น ดาวอังคารเบื้องล่างจึงหมายถึงเลือดและสงคราม" เป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุที่ผิด (false cause fallacy)[22]:26

มีโหรเป็นจำนวนที่อ้างว่า โหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์[36]แต่ว่าถ้าต้องอธิบายโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ต้องจำกัดคำอธิบายว่ามีพลังทางธรรมชาติโดยหลักแค่ 4 อย่าง ซึ่งจำกัดกลไกการทำงานเกี่ยวกับโหราศาสตร์[10]:65ดังนั้น โหรบางท่านจึงเสนอว่ากลไกของโหราศาสตร์เป็นเรื่องที่รับรองโดยวิทยาศาสตร์ เช่น สภาวะแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วง[36][37]แต่ว่า เพราะกำลังของพลังเหล่านี้ลดลงไปตามระยะทาง[10]:65ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงปฏิเสธว่า กลไกที่เสนอเหล่านี้เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เกิดผลทางโหราศาสตร์[36]ยกตัวอย่างเช่น กำลังสนามแม่เหล็กที่วัดบนโลกจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่แต่ไกลเช่นดาวพฤหัสบดี ความจริงน้อยกว่าที่เกิดจากเครื่องใช้ในบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ[37]มีนักดาราศาสตร์ท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า ถ้าจะพูดถึงกำลังแล้ว พระอาทิตย์เป็นวัตถุเดียวบนท้องฟ้าที่มีกำลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพอจะพูดถึงได้ แต่ว่า โหราศาสตร์ไม่ใช่แค่อาศัยพลังของพระอาทิตย์อย่างเดียว[10]:65[38]แต่ถ้าโหรจะเสนอพลังธรรมชาติอย่างที่ 5 นี่ก็จะไม่เข้ากับแนวโน้มในฟิสิกส์ที่จะรวมพลังแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับ weak force รวมเป็น electroweak forceและถ้าโหรยืนยันที่จะใช้ทฤษฎีที่ไม่เข้ากับความเข้าใจปัจจุบันที่มีรากฐานมาจากฟิสิกส์ที่อิงหลักฐาน นี่ก็จะเป็นข้ออ้างวิสามัญ (extraordinary claim)[10]:65และก็จะไม่เข้ากับพลังธรรมชาติอย่างอื่น ๆ ที่มีกำลังลดลงตามระยะทาง[10]:65และถ้าระยะทางไม่สำคัญ วัตถุทั้งหมดในอวกาศก็ควรจะรวมเข้าเพื่อการทำนายด้วย[10]:66

นักจิตบำบัดและจิตวิทยาคาร์ล ยุง ตั้งแนวคิดที่เรียกว่า synchronicity ที่อ้างว่า สามารถมีเหตุการณ์ 2 อย่างที่มีความเชื่อมต่อกันหรือเป็นการแสดงความมุ่งหมาย แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันโดยเหตุและผล เพื่ออธิบายความปราศจากผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติในงานศึกษาโหราศาสตร์งานเดียวที่เขาทำแต่ว่า แนวคิดเรื่อง synchronicity เป็นเรื่องที่พิจารณาว่า ทดสอบไม่ได้ และพิสูจน์ว่าเป็นเท็จไม่ได้[39]งานศึกษานั้นต่อมาจึงได้รับคำวิจารณ์อย่างหนักว่า ไม่ใช้ตัวอย่างสุ่ม ใช้วิธีการทางสถิติที่ไม่ดี และเข้ากับโหราศาสตร์เองก็ไม่ได้[39][40]

แม้ว่าจะมีหลักฐาน[41]ที่แสดงว่าฤดูกาลที่เกิด อาจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางบุคลิกภาพและลักษณะทางจิตอย่างอื่น ๆ ของบุคคล และฤดูก็มีสหสัมพันธ์กับตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้า แต่นี่ก็เป็นข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างจากของโหราศาสตร์ โดย ศ. หัวหน้าทีมนักวิจัยที่พบหลักฐานนั้นกล่าวไว้ว่า"เป็นเรื่องสำคัญที่จะเน้นว่า แม้นี่จะฟังดูเหมือนกับโหราศาสตร์ แต่มันก็ไม่ใช่ มันเป็นเรื่องชีวภาพตามฤดู"[41]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ http://astrology-and-science.com/ http://www.badastronomy.com/bad/misc/astrology.htm... http://www.beliefnet.com/story/63/story_6346_1.htm... http://www.nature.com/nature/journal/v467/n7319/fu... http://scx.sagepub.com/content/early/2010/12/04/10... http://www.sciencedaily.com/releases/2010/12/10120... http://www.sixtysymbols.com/videos/declination.htm http://journal.telospress.com/content/1974/19/13.s... http://www.theguardian.com/science/the-lay-scienti... http://www.washingtonpost.com/wp-srv/aponline/2001...