ลูกผสมตามธรรมชาติ ของ Nepenthes_rajah

Nepenthes rajah เป็นที่รู้กันว่ามันสามารถผสมข้ามชนิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากมันออกดอกตลอดทั้งปี Charles Clarke บันทึกไว้ว่า

N. rajah ประสบความสำเร็จมากกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ ในการแพร่กระจายเกสรไปได้ไกลมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำกล่าวที่ว่า ที่ ๆ มีลูกผสมของ N. rajah อยู่นั้นไม่มีพ่อหรือแม่ขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย

อย่างไรก็ตามละอองเกสรสามารถไปได้ไกลสุดประมาณ 10 กิโลเมตร[68]เท่านั้น ลูกผสมระหว่าง N. rajah กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นบนภูเขากีนาบาลูที่ถูกบันทึก[2]มีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก แบบไม่มีลูกผสมชนิดไหนเหมือน (ยกเว้นลูกผสม N. lowii)

ปัจจุบันลูกผสมตามธรรมชาติที่ได้มีการบันทึกไว้มีดังนี้ :[19]

ในสวนภูเขาของอุทยานกีนาบาลู มีลูกผสมที่หายากระหว่าง N. fallax และ N. rajah ลูกผสมชนิดนี้มีใบเหมือน N. fallax แต่มีฝาหม้อและปีกคล้าย N. rajah มีปากแข็งที่ได้มาจาก N. fallax และขนแข็งที่ริมฝาหม้อ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของลูกผสมชนิดนี้[69] พบได้ที่ความสูง 1500–2600 เมตร

ลูกผสม 2 ชนิดของ N. rajah ที่มีชื่อว่า : N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ 2 ของไซเตส และชนิดหลังถูกจัดอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ (EN (D) ) โดย IUCN[70]

Nepenthes × alisaputrana

Nepenthes × alisaputrana

N. × alisaputrana (ชื่อเดิม : "Nepenthes × alisaputraiana") [71] ถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ดาทูต แลมรี อารี (Datuk Lamri Ali) ผู้อำนวยการของอุทยานแห่งซาติรัฐซาบะฮ์ พบในอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูในที่เปิดโล่งบนดินเซอเพนทีนเหนือระดับน้ำทะเล 2000 เมตร บ่อยครั้งพบอยู่ท่ามกลาง N. burbidgeae หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีชื่อเสียงจากการรวมลักษณะเด่นที่เกิดจากพ่อแม่ไว้ด้วยกัน โดยได้หม้อขนาดใหญ่จาก N. rajah (สูง ≤35 เซนติเมตร, กว้าง ≤20 เซนติเมตร) [72] ซึ่งไม่มีลูกผสมอื่นของ N. rajah จะเทียบเท่าได้ และได้ความสวยเด่นจาก N. burbidgeae มีเพอริสโตมกว้าง ฝาขนาดใหญ่ โค้งที่เหมือนกัน แต่กระนั้น N. × alisaputrana ก็คล้ายกับ N. rajah มากกว่า N. burbidgeae แต่สามารถแยกชนิดออกจาก N. rajah ได้ โดยต่างกันตรงรูปทรงของฝาหม้อ มีขนสีน้ำตาลสั้นปกคลุม มีสันแคบทรงกระบอกรอบปาก สีของหม้อมีสีเหลือง-เขียว มีจุดแดงหรือน้ำตาล และด้วยเหตุนี้ฟิลลิปซ์และแลมบ์ (ค.ศ. 1996) จึงให้ชื่อสามัญว่า Leopard pitcher-plant หรือ หม้อข้าวหม้อแกงลิงเสือดาว แม้ว่าชื่อนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เพอริสโตมมีสีเขียวถึงแดงดำมีแถบสีม่วง ใบบางรูปโล่ ต้นเลื้อยไต่ได้ดีและผลิตหม้อบนได้บ่อยและง่ายกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อก่อนก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในรูปวาดใน Insect Eating Plants & How To Grow Them (พืชกินแมลงและการปลูกเลี้ยง) โดยอันเรียน แสลก (Adrian Slack) ปี ค.ศ. 1986) ในรูปวาดหม้อของ N. rajah กลับวาดเป็นหม้อของ N. burbidgeae × N. rajah[73][74]

Nepenthes × kinabaluensis

Nepenthes × kinabaluensis

N. × kinabaluensis เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกชนิดหนึ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีหม้อขนาดใหญ่ถึงจะไม่เท่ากับ N. rajah หรือ N. × alisaputrana เป็นลูกผสมทางธรรมชาติของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่โดดเด่น 2 ชนิดบนเกาะบอร์เนียว นั่นก็คือ N. rajah และ N. villosa N. × kinabaluensis สามารถพบได้ที่ภูเขากีนาบาลูเพียงที่เดียวเท่านั้น (จึงเป็นที่มาของชื่อ) และในภูเขาตัมบูยูกอนที่อยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นที่พ่อและแม่ของมันอยู่ร่วมกัน[75] เราสามารถพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จากทางเดินใกล้ถ้ำพากา (Paka) และ หลาย ๆ สถานที่ตามเส้นทางบนสันเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ ที่วางตัวอยู่ทางด้านตะวันตกของส่วนบนของแม่น้ำโกโลปิส (Kolopis) [76] สถานที่ที่เดียวที่เข้าถึงได้จากสถานที่ข้างต้นหรือที่รู้จักกันในชื่อเส้นทางสู่ยอดกีนาบาลู พบได้ระหว่างลายัง-ลายัง (Layang-Layang) และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สถานที่ที่มันขึ้นสูงประมาณ 2900 เมตรโดยไม่มีต้น Dacrydium gibbsiae และต้น Leptospermum recurvum ปกคลุม N. × kinabaluensis กระจายตัวที่ความสูง 2420 - 3030 เมตรจากระดับน้ำทะเล[20] มันขึ้นในที่โล่งของป่าเมฆ ลูกผสมชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่ได้จาก N. rajah คือสันที่ยกสูงที่ด้านในขอบเพอริสโตมและฟันที่ยาว มีปุ่มมากกว่าที่พบใน N. rajah และมีรูปร่างคล้ายแม่ของมัน (N. villosa มีสันปากที่ยกสูง) เพอริสโตมหยาบและแผ่ออก (แต่ไม่เป็นจักเหมือน N. rajah) ฝาหม้อกลมหรือรูปไตและแบน โดยทั่วไปหม้อมีขนาดใหญ่กว่าหม้อของ N. villosa และสายดิ่งต่อจากใต้ปลายใบห่างจากยอดประมาณ 1–2 เซนติเมตร คล้ายกับ N. rajah[77] ในต้นที่มีอายุมากสายดิ่งจะมีลักษณะคล้ายไม้ N. × kinabaluensis มีขนอุยปกคลุมหม้อและขอบใบกลาง ๆ ระหว่างพ่อและแม่ หม้อล่างมีปีกชายครุย 2 ปีก ส่วนหม้อบนปีกจะหายไป สีของหม้อมีความหลากหลายจากสีเหลืองถึงสีเลือดหมู N. × kinabaluensis ผลิตหม้อบนได้ง่ายกว่าพ่อและแม่ ลักษณะทั่วไปจะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ทำให้ง่ายต่อการระบุบมันออกจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นของเกาะบอร์เนียว อย่างไรก็ตามก็ยังเกิดความสับสนขึ้นได้ เมื่อมันถูกระบุบเป็น N. rajah ใน Letts Guide to Carnivorous Plants of the World (Cheers, 1992) [78]

N. × kinabaluensis ถูกเก็บได้ครั้งแรกใกล้กับกัมบารังโอะห์ (Kambarangoh) โดยลิเลียน กิบบส์ (Lilian Gibbs) ในปี ค.ศ. 1910 และถูกจัดจำแนกโดยแมกฟาร์แลนเป็น "Nepenthes sp." ในปี ค.ศ. 1914[79] ถึงแม้ว่าแมกฟาร์แลนจะไม่ตั้งชื่อให้ต้นไม้ แต่เขาบันทึกไว้ว่า "จากรูปร่างลักษณะที่เห็นแสดงว่ามันเป็นลูกผสมระหว่าง N. villosa และ N. rajah"[80] มันได้ถูกจัดจำแนกครั้งสุดท้ายโดยคุระตะในปี ค.ศ. 1976 ว่า N. × kinabaluensis แต่ชื่อของมันกลับถูกเผยแพร่ในชื่อของ "หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู (Nepenthes of Mount Kinabalu) " เพราะ "kinabaluensis" เป็นชื่อตั้งไร้คำบรรยายจากการที่มันมีรายละเอียดไม่เพียงพอและข้อมูลที่ขาดคลานในตัวอย่าง ต่อมาชื่อถูกเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งโดยคุระตะในปี ค.ศ. 1984[81] และโดยอดัมและวิลคักในปี ค.ศ. 1996[82]

ลูกผสมหรือสปีชีส์?

หม้อล่างของ N. × kinabaluensis

N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis สามารถสืบพันธุ์ได้ และเหตุนี้อาจมีการผสมระหว่างพวกมันเอง ไคลฟ์ เอ. สทีซ (Clive A. Stace) เขียนไว้ว่า

ลูกผสมที่เสถียรเมื่อมันมีการพัฒนาการกระจายพันธุ์, รูปร่างลักษณะ หรือพันธุกรรมของลักษณะจนห่างไกลที่จะเชื่อมโยงเข้ากับพ่อและแม่ของมัน, ... ถ้าลูกผสมกลายเป็นอิสระ, จำได้, สืบพันธุ์ด้วยตัวเอง, มันเป็น de facto (แท้จริง) คนละชนิดกัน[83]

N. hurrelliana และ N. murudensis เป็น 2 ชนิดตัวอย่างที่คาดกันว่าเป็นลูกผสมดั้งเดิม ส่วน N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis จะเสถียรเพียงพอที่จะเป็นชนิดใหม่หรือไม่ยังต้องมีการพิจารณา[20]กันต่อไป อันที่จริง N. kinabaluensis ถูกพรรณนาลักษณะเป็นสปีชีส์โดยเจ.เอช. อด้ม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) ในปี ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะรองรับและก็ยังไม่มีการตีพิมพ์ในผลงานอื่น ๆ อีกเลย

เพราะดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นของมันในธรรมชาติ ลูกผสมระหว่างหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่เข้าคู่กัน สามารถแสดงออกมาเหมือนพ่อหรือแม่หรือทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับชนิดไหนเป็นแม่ชนิดไหนเป็นพ่อ เมื่อมีการผสมเพศเมีย (หรือฝัก) จะถูกอ้างอิงเป็นอันดับแรก ตามด้วยเพศผู้ (หรือเรณู) นี้คือความแบ่งแยกที่สำคัญมาก ลูกผสมปกติจะแสดงรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดที่ถูกผสม ฝักของแม่จะมีอำนาจเหนือกว่าในแทบทุก ๆ เรื่องและในกรณีลูกผสมจะคล้ายแม่มากกว่าพ่อที่ได้เรณูมา N. × kinabaluensis ในป่าส่วนมากจะแสดงลักษณะเกี่ยวดองกับ N. rajah มากกว่า N. villosa และเหตุนี้จึงคิดว่าน่าจะเป็น N. rajah × N. villosa อย่างไรก็ตามยังมีตัวอย่างที่พบว่าคล้าย N. villosa มากกว่า แสดงให้เห็นว่าอาจมีการผสมกลับกัน (ดู ภาพ) เหมือนกับลูกผสม N. rajah อื่น ๆ ที่ไม่รู้ว่าลูกผสมนี้สืบพันธุ์ได้หรือไม่และนี้เป็นรากฐานความไม่แน่นอนที่เพิ่มในสับสนในความแตกต่างระหว่างลูกผสมที่เสถียรและชนิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: Nepenthes_rajah http://homepage.univie.ac.at/christian.puff/AS_Bor... http://borneoexotics.com/aspx/guides.aspx http://www.borneoexotics.com/Species%20Data/rajah.... http://www.captiveexotics.com/rajah.htm http://www.cpjungle.com/nucraj.htm http://www.cpzine.com/article.aspx?cid=13&y=2002&m... http://www.discover.com/issues/oct-01/features/fea... http://www.omnisterra.com/botany/cp/pictures/nepen... http://www.plantswithattitude.com/rajah.html http://www.scarnivores.com/showphotos.asp?id=N%7C~...