ผลที่ตามมา ของ กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง

ทหารไทยและทหารพม่าชาตละ 1 นายที่ถูกจับกุมจากฝ่ายตรงข้ามในปฏิบัติการดังกล่าว ได้รับการปล่อยตัวภายหลังจากการเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศหลังจากถูกคุมขังเป็นระยะเวลาเกือบปี[3]

ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังถือเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้มีการตกลงเส้นเขตแดนที่ชัดเจน เนื่องจากการถือแผนที่คนละฉบับและอัตราส่วนต่างกัน ทำให้มีการถือแนวสันปันน้ำตามข้อตกลงคนละส่วนกัน จึงมีการวางกำลังทหารของทั้งสองประเทศเผชิญหน้ากันอยู่ในส่วนของทางทหาร แต่ความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ยังอยู่ในระดับดี[2]

วาสนา นาน่วม นักหนังสือพิมพ์และนักข่าวสายทหารของไทย ได้ออกมาระบุในคลิปวีดีโอบนยูทูบของตนที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ว่าการปะทะและปฏิบัติการดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิบัติการครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของกองทัพไทยและเป็น "สงครามที่กอบกู้ศักดิ์ศรีของทหารไทย เนื่องจากทหารพม่าได้บุกเข้ามายึดฐานปางหนุนของฝ่ายไทยก่อน"[3]

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งปฏิบัติการที่ไม่ถูกพูดถึงอย่างเป็นทางการในช่วงแรกหลังเหตุการณ์ เนื่องจากยังถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ทำให้มีกระแสข่าวลือในเหตุการณ์ดังกล่าวในรูปแบบที่หลากหลาย[3] จนกระทั่งปัจจุบันกองทัพบกจึงได้มีการเปิดเผยเรื่องราวการปะทะในปฏิบัติการดังกล่าวต่อสี่อมวลชนในการบรรยายสรุปที่ฐานปฏิบัติการกู่เต็งนาโย่ง[2] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 หลังจากผ่านไปกว่า 22 ปี[3]

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส