สาเหตุ ของ กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง

การปฏิบัติการของกองทัพพม่านั้นเกิดมาจากการจัดกำลังของกองทัพพม่าจากกองพันทหารราบเบาที่ 331[4] เพื่อเข้าปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังของกองทัพรัฐฉาน (SSA) ที่เป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ชายแดนไทย ในพื้นที่ฝั่งพม่าคือดอยก่อวัน ก่อเดือน ก่อคอม ตรงข้ามกับฝั่งไทยคือบ้านปางหัน และบ้านแม่หม้อ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เนื่องจากความเสียเปรียบด้านภูมิประเทศของทหารพม่าหากจะเข้าตีจากฝั่งประเทศตนเอง ทำให้ทหารพม่าได้นำกำลังประมาณ 200[3] - 500[5] นาย รุกล้ำเขตแดนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเข้าตียึดฐานปฏิบัติการปางหนุนที่เป็นที่ตั้งของกองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 963 และควบคุมตัวทหารพรานในฐานจำนวน 19 นายไว้ เพื่อใช้เป็นฐานในการโจมตีกองกำลังของไทยใหญ่ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544[2] เวลาประมาณ 17.00 น.[3] ประกอบกับมีกองกำลังทหารพม่าเข้ายึดครองบริเวณยอดเนินพิกัด 47 QNC 908600 ที่เรียกว่ากู่เต็งนาโย่งในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายและดัดแปลงเป็นที่มั่นสำหรับตรวจการณ์ทั้งฝั่งพม่าและฝั่งไทย[4]มาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543[5]

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส