กรณีสีน้ำเงิน
กรณีสีน้ำเงิน

กรณีสีน้ำเงิน

ค.ศ. 1942ค.ศ. 1943ค.ศ. 1944ค.ศ. 1945การสงครามทางเรือ:กรณีสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Case Blue; เยอรมัน: Fall Blau) ภายหลังเปลี่ยนชื่อปฏิบัติการ Braunschweig [7] เป็นชื่อแผนการของกองทัพเยอรมันสำหรับการรุกทางยุทธศาสตร์ช่วงฤดูร้อนในปี ค.ศ. 1942 ในทางตอนใต้ของรัสเซีย ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน และ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการสืบเนื่องของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาในปีที่แล้ว ด้วยความตั้งใจที่จะโค่นล่มสหภาพโซเวียตออกจากสงคราม มันได้มีความเกี่ยวข้องกับการโจมตีแบบสองง่ามของฝ่ายอักษะ: หนึ่งคือกองทัพปีกขวาจะเข้าโจมตีแหล่งบ่อน้ำมันที่บากู ที่เป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการเอดดัลไวส์ (Operation Edelweiss) และสองคือกองทัพปีกซ้ายจะเคลื่อนทัพตรงเข้าไปสู่เมืองสตาลินกราดตามแนวแม่น้ำวอลกา ที่เป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการฟิชไชเออร์ (Operation Fischreiher)[8]กองทัพกลุ่มใต้(Heeresgruppe Süd) ของกองทัพบกเยอรมันได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นกองทัพกลุ่มเอและบี (Heeresgruppe A and B) กองทัพกลุ่มเอได้รับมอบหมายให้ข้ามเทือกเขาคอเคซัสไปยังแหล่งบ่อน้ำมันที่บากู ในขณะที่กองทัพกลุ่มบีจะปกป้องปีกตามแนวแม่น้ำวอลกา ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องบินรบจากลุฟท์วัฟเฟอ 2,035 ลำ และรถถังและปืนใหญ่จู่โจมจำนวน 1,934 คัน ทหารจำนวน 1,370,287 นายของกองทัพกลุ่มใต้ได้เข้าโจมตีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน รุกไปได้ถึง 48 กิโลเมตรของวันแรกและกวาดล้างอย่างง่ายดายต่อทหารฝ่ายตรงข้ามของกองทัพแดงจำนวน 1,715,000 นายที่คาดการณ์ผิดว่าเยอรมันจะรุกเข้าสู่กรุงมอสโก แม้ภายหลังจากกรณีสีน้ำเงินจะเริ่มขึ้น โซเวียตล่มสลายในทางตอนใต้ทำให้เยอรมันเข้ายึดครองทางด้านตะวันตกของเมืองโวโรเนช เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และได้มาถึงและก้าวข้ามแม่น้ำดอนใกล้กับเมืองสตาลินกราด เมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม การเข้าประชิดเมืองสตาลินกราดของกองทัพกลุ่มบีได้ล่าช้าในปลายเดือนกรกฏาคมและต้นเดือนสิงหาคม เนื่องจากถูกตีโต้กลับอย่างต่อเนื่องโดยกองกำลังสำรองของกองทัพแดงที่เพิ่งจัดทัพขึ้นมาใหม่ๆ และสายส่งเสบียงของเยอรมันที่เกินขีดความสามารถ เยอรมันได้เอาชนะต่อโซเวียตในยุทธการที่คาลัสและการสู้รบที่เปลี่ยนมาเป็นในตัวเมืองในปลายเดือนสิงหาคม  การโจมตีทางอากาศอย่างไม่หยุดหย่อนของลุฟท์วัฟเฟอ การยิงปืนใหญ่ และการสู้รบบนถนนต่อถนนทำให้เมืองถูกทำลายอย่างสมบูรณ์และก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อกองกำลังฝ่ายตรงข้าม หลังสามเดือนของการสู้รบ เยอรมันได้เข้าควบคุมเมืองสตาลินกราดเพียง 90% เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ในทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มเอได้เข้ายึดเมืองรอสตอฟ เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม และกวาดล้างทางตอนใต้จากแม่น้ำดอนไปจนถึงเทือกเขาคอเคสัส เข้ายึดครองแหล่งบ่อน้ำมันที่ถูกทำลายที่ไมคอฟ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม และอิลิซตา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ใกล้กับชายฝั่งทะเลแคสเปียน การต่อต้านอย่างหนักของโซเวียต ปฏิบัติการก่อวินาศกรรมของชาวโปแลนด์ในเขตยึดครองโปแลนด์ และระยะทางไกลจากแหล่งส่งเสบียงของฝ่ายอักษะได้ลดทอนต่อการรุกของฝ่ายอักษะที่เข้าไปในแค่พื้นที่ท้องถิ่นเท่านั้น และขัดขวางไม่ให้เยอรมันเข้าถึงเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในการเข้ายึดบ่อน้ำมันหลักบนเทือกเขาคอเคซัสที่บากู เครื่องทิ้งระเบิดของจากลุฟท์วัฟเฟอได้ทำลายบ่อน้ำมันที่กรอซนี แต่การโจมตีที่บากูนั้นได้ถูกขัดขวางโดยระยะพิสัยที่ไม่เพียงพอต่อเครื่องบินขับไล่เยอรมันฝ่ายสัมพันธมิตรได้กังวลเกียวกับความเป็นไปได้ที่กองทัพเยอรมันยังดำเนินต่อไปในทางตอนใต้และตะวันออกและเชื่อมโยงกับกองทัพญี่ปุ่น(เมื่อได้เข้ารุกในพม่า)ในอินเดีย อย่างไรก็ตาม กองทัพแดงได้เอาชนะเยอรมันที่เมืองสตาลินกราดด้วยปฏิบัติการยูเรนัสและลิตเติลแซเทิร์น ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ได้บีบบังคับให้ฝ่ายอักษะต้องถอนกำลังออกจากคอเคซัส มีเพียงภูมิภาคคูบานที่ยังคงถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารฝ่ายอักษะ[9][10]

กรณีสีน้ำเงิน

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่28 มิถุนายน – 24 พฤศจิกายน 1942
สถานที่โวโรเนซ,รอสตอฟไปตลอดถึงสตาลินกราด, คูบาน, คอเคซัส, ทางตอนใต้ของรัสเซีย สหภาพโซเวียต
ผลลัพธ์อักษะล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
สถานที่ โวโรเนซ,รอสตอฟไปตลอดถึงสตาลินกราด, คูบาน, คอเคซัส, ทางตอนใต้ของรัสเซีย สหภาพโซเวียต
ผลลัพธ์ อักษะล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
วันที่ 28 มิถุนายน – 24 พฤศจิกายน 1942

ใกล้เคียง

กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553 กรณีสีน้ำเงิน กรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 กรณีสีขาว กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรีสซี คาเฟ กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร กรณีตากใบ กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล