ประวัติ ของ กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

กรณีแรกสุดที่รับการกล่าวถึงในเอกสารทางการแพทย์ปรากฏในรายงานที่ละเอียดละออพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันในปี ค.ศ. 1908 โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันที่โด่งดังคือ ดร.เคิรต์ โกลด์สตีน[6] ในรายงานนั้น ดร.โกลด์สตีนได้พรรณนาถึงหญิงถนัดมือขวาคนหนึ่งที่ประสบกับโรคหลอดเลือดสมองที่มีผลเสียหายต่อกายด้านซ้ายของเธอ ที่เธอได้ฟื้นตัวเป็นบางส่วนแล้วเมื่อเขาได้พบกับเธอถึงแม้กระนั้น แขนซ้ายของเธอดูเหมือนว่าจะเป็นของ ๆ อีกบุคคลหนึ่งและมักจะทำกิริยาต่าง ๆ ที่เป็นอิสระจากเจตนาของเธอ

เธอบ่นถึงความรู้สึกแปลกปลอมที่มีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมายของมือซ้ายของเธอ และยืนยันว่า "คนอื่น" เป็นคนขยับมือซ้ายนั้น และเธอเองไม่ได้เคลื่อนมือนั้นดร.โกลด์สตีนรายงานว่า "เพราะเหตุนั้น ในตอนแรก คนไข้จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทแบบระแวง (paranoia)"

เวลาที่มือซ้ายของเธอฉวยจับสิ่งของ เธอก็ไม่สามารถที่จะปล่อยมือตามใจได้ความรู้สึกทางกายด้านซ้ายของเธอมีความบกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความรู้สึกเกี่ยวข้องกับตำแหน่งทิศทางของแขนขาเธอมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมากบางอย่างในมือซ้าย เช่นการเช็ดหน้าหรือขยี้ตา แม้ว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยแต่ปกติเธอต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งเพื่อที่จะทำอะไรที่เป็นของง่าย ๆ ด้วยแขนข้างซ้ายเพื่อทำตามคำสั่งที่ให้กับเธอถึงอย่างนั้น การเคลื่อนไหวอย่างนั้นก็เป็นไปอย่างช้า ๆ และบางครั้งก็ไม่สมบูรณ์ แม้ว่าการเคลื่อนไหวแบบเดียวกันจะเป็นไปอย่างง่ายดายแต่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจในขณะที่ควบคุมโดย "มนุษย์ต่างดาว" (หรือคนอื่น)

โดยใช้สังเกตการณ์เหล่านี้เป็นฐาน ดร.โกลด์สตีนได้ค้นคิด "หลักของภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ" (doctrine of motor apraxia) ซึ่งเขากล่าวถึงกระบวนการเกิดขึ้นของการกระทำที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และได้อธิบายสังเกตการณ์เหล่านี้ โดยใช้หลักเกณฑ์ที่ค้นคิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เวลาสถานที่และแผนที่ในสมองที่เป็นแบบจำลองของเวลาสถานที่ รวมประเด็นเกี่ยวกับความทรงจำ เจตนาความจงค์ใจ และกระบวนการรับรู้ระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างอื่น ๆ

ดร. โกลด์สตีนเชื่อว่า องค์รวมที่มาสัมพันธ์กันทั้งหมดเกี่ยวกับกาลเวลาสถานที่ที่มีการรับรู้ทั้งหมดทั้งจากภายในกาย (โดย interoception) และทั้งจากภายนอกกาย (โดย exteroception) มีความสำคัญทั้งในการรับรู้วัตถุต่าง ๆ ทั้งในการกระทำต่าง ๆ ทางกายที่มีเป้าหมาย โดยสัมพันธ์กับพื้นที่รอบ ๆ ตัวและวัตถุที่รับรู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้น.ในเอกสารคลาสสิกที่สำรวจกลุ่มอาการหลงผิดมากมายหลายอย่างที่เกิดขึ้นเพราะพยาธิในสมองโดยเฉพาะ นอร์แมน เกชวินด์ ได้กล่าวไว้ว่า ดร.โกล์ดสไตน์ "อาจจะเป็นบุคคลแรกที่เน้นความไม่เป็นเอกภาพของบุคลิกภาพในคนไข้ที่ได้รับการตัด corpus callosum[2] ออก และผลทางจิตใจที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการผ่าตัดนั้น"[7]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการมือแปลกปลอม http://www.demneuropsy.com.br/imageBank/PDF/dnv01n... http://jnnp.bmjjournals.com/cgi/content/full/68/1/... http://www.damninteresting.com/?p=203 http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true... http://health.howstuffworks.com/alien-hand2.htm http://science.howstuffworks.com/life/inside-the-m... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://emedicine.medscape.com/article/1136037-over... http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://bcn.sagepub.com/cgi/content/abstract/2/4/26...