ทฤษฎีที่ใช้อธิบาย ของ กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

องค์ประกอบที่เหมือนกันในอาการมือต่างดาวก็คือ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของมือถูกแยกออกจากคอร์เทกซ์ก่อนสั่งการ (premotor cortex) แต่ไม่มีความเสียหายในการปฏิบัติการเคลื่อนไหวของมือ

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 ที่ใช้ fMRI ในการสังเกตลำดับการทำงานของเครือข่ายคอร์เทกซ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจของคนปกติพบ "ลำดับการทำงานจากหน้าไปหลัง จาก supplemental motor area, ผ่าน premotor cortex และ motor cortex, ไปยัง posterior parietal cortex"[35] ดังนั้น ในการเคลื่อนไหวแบบปกติ ความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency[36]) ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับการทำงานไปตามลำดับที่ในตอนแรกเกิดขึ้นที่สมองกลีบหน้าส่วนหน้าด้านใน (anteromedial ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับ supplementary motor complex ในผิวด้านในของซีกสมองส่วนหน้า)ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการทำงานของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิที่รอยนูนก่อนร่องกลาง (pre-central gyrus ที่ด้านข้างของซีกสมอง) ซึ่งเป็นที่ที่การสั่งการเคลื่อนไหวของมือเกิดขึ้นหลังจากการทำงานของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ ที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติการ (การเคลื่อนไหว) โดยส่งพลังประสาทเข้าไปในลำเส้นใยประสาทคอร์เทกซ์-ไขสันหลัง (corticospinal tract[37])ก็จะมีการติดตามด้วยการทำงานใน posterior parietal cortexซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการรับสัญญาณป้อนกลับของความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นที่ปลายประสาทเพราะการเคลื่อนไหว และจะมีการแปลผลประสานกับก๊อปปี้สัญญาณ efference copy[38] ที่ได้รับมาจากคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ จึงมีผลให้การเคลื่อนไหวนั้นปรากฏว่าเป็นของตน ไม่ใช่เป็นการเคลื่อนไหวมีเหตุจากปัจจัยภายนอก

นั่นก็คือ efference copy ยังสมองให้สามารถแยกแยะความรู้สึกทางกายที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่มีกำเนิดจากภายใน และความรู้สึกที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่มีปัจจัยภายนอกความล้มเหลวของกลไกนี้ อาจส่งผลให้ไม่สามารถแยกแยะระหว่างการเคลื่อนไหวแขนขาที่มีกำเนิดในตน และที่เกิดจากเหตุภายนอกสถานการณ์ที่ผิดปกติเช่นนี้สามารถนำไปสู่การแปลผลที่ผิดพลาดจากความจริงว่า การเคลื่อนไหวที่มีกำเนิดจากภายในจริง ๆ เป็นเหมือนกับการเคลื่อนไหวที่เกิดจากภายนอกซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวในการสร้างความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency[36]) สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวที่มีกำเนิดในตน

ส่วนงานวิจัยปี ค.ศ. 2007 ซึ่งสำรวจความแตกต่างกันของแบบการทำงานในสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวต่างดาวเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติในคนไข้คนหนึ่งที่มีอาการมือต่างดาว พบว่า การเคลื่อนไหวต่างดาวมีการทำงาน "เป็นต่างหาก" อย่างผิดปกติของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิในซีกสมองที่มีความเสียหายซึ่งอยู่ในด้านตรงข้ามกับมือต่างดาวในขณะที่การเคลื่อนไหวปกติมีกระบวนการทำงานเป็นลำดับดังที่ได้กล่าวมาแล้วคือ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิในซีกสมองที่ไม่เสียหายมีการทำงานร่วมกับ premotor cortex ที่อยู่ข้างหน้า และ posterior parietal cortex (ที่อยู่ข้างหลัง)โดยสันนิษฐานว่า premotor cortex ส่งสัญญาณเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ต้องการให้กับคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (ที่ทำการสั่งการเคลื่อนไหว) และระบบรับความรู้สึกทางกายส่งสัญญาณเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนั้นให้กับ posterior parietal cortex อย่างทันที

โดยประมวลผลงานวิจัยที่ใช้ fMRI ทั้งสองนี้ ก็จะสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า พฤติกรรมต่างดาวที่ไม่เป็นไปพร้อมกับความรู้สึกว่าเป็นตน[36] เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานที่เกิดขึ้นเองของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ ที่เป็นอิสระจากอิทธิพลก่อนการสั่งการเคลื่อนไหวของ premotor cortex ที่ปกติมีความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของความรู้สึกว่าเป็นตน[36]เกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวนั้น

และดังที่กล่าวไว้แล้วด้านบน สมมุติฐานนี้ก็สามารถเชื่อมกับความคิดเกี่ยวกับ efference copy และข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวคือ efference copy เป็นสัญญาณที่มีสมมุติฐานว่า เกิดใน premotor cortex (ที่ปกติเกิดขึ้นในกระบวนการเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายใน) ที่ส่งไปสู่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายในสมองกลีบข้างก่อนที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายจะรับสัญญาณป้อนกลับเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ที่มาจากอวัยวะที่รับสัญญาณสั่งการเคลื่อนไหวนั้น

โดยทั่วไปแล้ว เชื่อกันว่า สมองสามารถรู้จำการเคลื่อนไหวหนึ่งว่าตนเป็นต้นกำเนิด เมื่อสัญญาณ efference copy มีค่าเท่ากับสัญญาณป้อนกลับที่ส่งมาจากอวัยวะคือ สมองสามารถสัมพันธ์สัญญาณป้อนกลับที่มาจากอวัยวะกับสัญญาณของ efference copy เพื่อที่จะแยกแยกสัญญาณป้อนกลับที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตนและสัญญาณที่เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยภายนอกและถ้าสมองไม่สร้าง efference copy ไว้ สัญญาณป้อนกลับที่มากจากอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของตนก็จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เพราะว่า สมองไม่สามารถสัมพันธ์การเคลื่อนไหวนั้นกับ efference copyดังนั้น ความรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้เกิดจากตนแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเกิดขึ้นในตน (คือการไม่มีความรู้สึกว่าเป็นของตน[36]สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวนั้น) อาจจะเป็นตัวชี้ว่า มีความล้มเหลวในการสร้างสัญญาณ efference copy ที่ปกติแล้วเกิดขึ้นในกระบวนการก่อนการสั่งการ (premotor process) ที่ที่จะมีการวางแผนการเคลื่อนไหวก่อนที่จะเกิดการปฏิบัติการ

เนื่องจากว่า ความรู้สึกว่าเป็นอวัยวะของตนไม่มีความเสียหายในกรณีนี้และไม่มีคำอธิบายที่ดีว่า อวัยวะของตนนั้นเคลื่อนไหวไปเองอย่างมีเป้าหมายโดยที่ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตน[36]ได้อย่างไรความไม่ลงรอยกันทางปริชาน (cognitive dissonance[39]) ก็จะเกิดขึ้นซึ่งสามารถแก้ได้โดยสมมุติว่า การเคลื่อนไหวมีเป้าหมายนั้น เกิดจากพลังของมนุษย์ต่างดาว (หรือของคนอื่น) ที่ไม่สามารถจะกำหนดได้ เป็นพลังภายนอกที่สามารถอำนวยการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายในอวัยวะของตนได้

ทฤษฎีการขาดความเชื่อมต่อ

มีสมมุติฐานว่า อาการมือต่างดาวเกิดขึ้นเมื่อมีการขาดความเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย[29] คือ เขตต่าง ๆ ในสมองสามารถที่จะสั่งการเคลื่อนไหว แต่ไม่สามารถที่จะสร้างความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้นดังนั้น จึงเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียของความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency[36]) ที่ปกติเกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ คือ มีการแยกออกระหว่างกระบวนการที่ทำการปฏิบัติการเคลื่อนไหวอวัยวะทางกายภาพจริง ๆ และกระบวนการที่สร้างความรู้สึกภายในว่า เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้นโดยเจตนาโดยที่กระบวนการหลังนี้ปกติก่อให้เกิดความรู้สึกภายในใจว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่มีการเกิดขึ้น การควบคุม และการปฏิบัติการโดยตนเองที่กำลังกระทำการเคลื่อนไหวนั้นอยู่[40]

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้สำรวจความสัมพันธ์ทางประสาทของการเกิดความรู้สึกว่าเป็นตน (sense of agency[36]) ในกรณีปกติ[41] และดูเหมือนว่า จะมีความสอดคล้องกันระหว่างสัญญาณที่เกิดขึ้นแล้วส่งไปทางประสาทนำออกสู่กล้ามเนื้อในร่างกาย กับสิ่งที่รู้สึกได้ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลในประสาทส่วนปลายที่สืบเนื่องมาจากสัญญาณนำออกที่เป็นตัวสั่งการนั้นแต่ในกลุ่มอาการมือต่างดาว กลไกประสาทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความสอดคล้องนี้อาจจะเกิดความเสียหายนี้อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกลไกทางสมองที่แยกแยะระหว่างสัญญาณป้อนกลับที่เกิดจากการเคลื่อนไหว (re-afference) (คือ ความรู้สึกป้อนกลับเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ตนเองเป็นผู้ให้เกิดขึ้น)และความรู้สึกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวของอวัยวะเพราะปัจจัยภายนอกเป็นเหตุโดยที่ตนเองไม่ได้ทำอะไร

มีการเสนอว่า กลไกทางสมองอย่างนี้ เป็นไปพร้อมกับการสร้างก๊อปปี้ของสัญญาณสั่งการที่เรียกว่า efference copy (ก๊อปปี้ของสัญญาณส่งออก) แล้วส่งไปในเขตสมองที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกทางกาย แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณที่เรียกว่า corollary discharge (ผลที่ควรจะขจัดออก) ซึ่งควรจะมีความสัมพันธ์กับสัญญาณนำเข้าจากประสาทส่วนปลายที่เกิดขึ้นจากการกระทำการตามการสั่งการของสัญญาณที่ส่งออกดังนั้น สหสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณ corollary discharge กับสัญญาณนำเข้าจริงที่ป้อนกลับมาจากประสาทส่วนปลาย ก็จะสามารถใช้ในการตัดสินว่า การกระทำที่ต้องการได้เกิดขึ้นตามที่คาดหวังหรือไม่เมื่อผลจริงของการกระทำที่ได้รับทางความรู้สึกมีความสอดคล้องกันกับผลที่คาดหวัง การกระทำนั้นก็จะได้รับการระบุว่า เป็นสิ่งที่ตนทำให้เกิด และได้รับการสัมพันธ์กับความรู้สึกว่าเป็นตน[36]

แต่ว่า ถ้ากลไกทางประสาทที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบสั่งการและระบบความรู้สึกเกี่ยวกับการกระทำที่ตนก่อให้เกิดขึ้นมีความเสียหาย ก็จะหวังได้ว่า ความรู้สึกว่าเป็นตน[36]ในการกระทำนั้น จะไม่เกิดขึ้นดังที่กล่าวไว้แล้วในส่วนก่อน ๆ

ทฤษฎีการสูญเสียการควบคุมแบบยับยั้งของผู้กระทำ

อีกทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการเสนอเพื่ออธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ เสนอว่า มีระบบประสาทส่วน premotor และส่วน "ผู้กระทำ" ที่แยกออกจากกัน ที่มีส่วนในกระบวนการแปลความตั้งใจในการกระทำไปเป็นการกระทำจริง ๆ[29] คือ ระบบสมองกลีบหน้าส่วนหน้าด้านใน (anteromedial) ส่วนที่เป็น premotor ร่วมการทำงานในกระบวนการอำนวยการกระทำแบบสำรวจหรือเข้าไปหาวัตถุ ที่อาศัยความผลักดันภายในเป็นฐาน โดยการปล่อยหรือลดการควบคุมแบบยับยั้งต่อการกระทำเหล่านั้น

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้งานหนึ่งที่รายงานการบันทึกสัญญาณประสาทระดับนิวรอนในสมองกลีบหน้าด้านในในมนุษย์แสดงการทำงานของนิวรอนที่ระบุในบริเวณนี้ก่อนการเคลื่อนไหวจริง ๆ ของนิ้วที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ ก่อนถึง 2-3 ร้อยมิลลิวินาทีและผู้เขียนสามารถตั้งแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ (computational model)ที่สามารถพยากรณ์เจตนาของการกระทำเมื่อความเปลี่ยนแปลงของอัตราการยิงสัญญาณของกลุ่มนิวรอนในสมองเขตนี้ข้ามขีดเริ่มเปลี่ยน[42] ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบสมองส่วนนี้ ทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมแบบยับยั้งและนำไปสู่การกระทำเกี่ยวกับการสำรวจและการถือเอาวัตถุที่เป็นไปอย่างอิสระ

ส่วนระบบประสาท premotor ที่ตั้งอยู่ที่จุดเชื่อมระหว่างสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง และสมองกลีบท้ายทอย ส่วนหลังด้านข้าง (posterolateral) ก็มีทั้งการควบคุมแบบยับยั้งคล้าย ๆ กันต่อการกระทำที่ถอยออกจากวัตถุในสิ่งแวดล้อม และทั้งการควบคุมแบบเร้าให้เกิดการกระทำที่อาศัยความผลักดันจากสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากความผลักดันที่เกิดขึ้นในภายในระบบสองระบบที่อยู่ในสมองซีกเดียวกันนี้ (คือสมองกลีบหน้าและกลีบสมองส่วนหลัง) แต่ละระบบก่อให้เกิดการทำงานแบบตรงกันข้ามกัน ทำงานร่วมกันโดยการยับยั้งการกระทำตรงกันข้ามกัน โดยสร้างเสถียรภาพระหว่างการเข้าไปหาวัตถุ (คือความตั้งใจที่จะถือเอา ที่จะแตะต้องและจับเอาวัตถุที่กำลังใส่ใจ)กับการถอยออกจากวัตถุ (คือความตั้งใจที่จะหลีกออก ที่จะหนีห่างออกจากวัตถุที่กำลังใส่ใจ)อันเป็นโปรแกรมพฤติกรรมของอวัยวะด้านตรงข้ามของซีกสมอง[43][44] และโดยร่วมกันแล้ว ระบบเหล่านี้ประกอบประสานกันเป็นระบบ "ผู้กระทำ" ที่ควบคุมอวัยวะทั้งสองข้าง

เมื่อระบบสมองกลีบหน้าส่วนหน้าด้านใน (anteromedial) มีความเสียหายการเคลื่อนไหวที่ประกอบด้วยจุดมุ่งหมายแต่ไม่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ ที่เข้าไปสำรวจ เข้าไปจับ (เป็นพฤติกรรมที่ นักวิจัยเด็นนี่-บราวน์เรียกว่า "positive cortical tropism ความเบนแบบบวกของคอร์เทกซ์")ก็ถูกปล่อยออก (คือไม่มีการยับยั้ง) ในอวัยวะด้านตรงกันข้ามของซีกสมอง[43][44] นี้เรียกว่า positive cortical tropism เพราะว่าสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสเช่นความรู้สึกสัมผัสที่เกิดขึ้นที่ด้านหน้าของนิ้วหรือฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของการเคลื่อนไหวที่เพิ่มหรือยกระดับการเร้าผ่านการเชื่อมต่อป้อนกลับแบบบวก (ดูที่กล่าวมาแล้วด้านบนเกี่ยวกับ "สมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย")

แต่ถ้าระบบประสาทที่จุดเชื่อมระหว่างสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง และสมองกลีบท้ายท้อย ส่วนหลังด้านข้าง (posterolateral) เกิดความเสียหายการเคลื่อนไหวประกอบด้วยจุดมุ่งหมายที่อยู่นอกอำนาจจิตใจที่เป็นไปในลักษณะของการปล่อยและการดึงออก เช่นการยกขึ้นหรือการหลีกเลี่ยงโดยสัญชาตญาณ (เป็นพฤติกรรมที่เด็นนี่-บราวน์เรียกว่า "negative cortical tropism ความเบนแบบลบของคอร์เทกซ์") ก็ถูกปล่อยออก (คือไม่มีการยับยั้ง) ในอวัยวะด้านตรงกันข้ามของซีกสมอง[44] นี้เรียกว่า negative cortical tropism เพราะว่าสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสเช่นความรู้สึกสัมผัสที่เกิดขึ้นเนื่องจากด้านหน้าของนิ้วหรือฝ่ามือมีความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของการเคลื่อนไหวที่ลดหรือกำจัดการเร้าผ่านการเชื่อมต่อป้อนกลับแบบลบ (ดูที่กล่าวมาแล้วด้านบนเกี่ยวกับ "สมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย")

ระบบผู้กระทำในแต่ละซีกสมองมีความสามารถในการควบคุมแขนขาในด้านตรงข้ามอย่างเป็นอิสระ (จากกันและกัน)แม้ว่า การควบคุมที่มีการประสานงานกันของมือทั้งสองจะเป็นไปโดยปกติเพราะมีการสื่อสารกันระหว่างซีกสมองทั้งสองโดยการส่งแอกซอนข้าม corpus callosum[2] ในระดับเปลือกสมอง และข้ามเส้นประสาทเชื่อมโยง (commissures) อื่น ๆ ในระดับใต้เปลือกสมอง (subcortical)

ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง ก็คือการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างระบบผู้กระทำของซีกสมองหลัก (คือซีกสมองด้านตรงข้ามกับมือที่ถนัด) กับระบบการเข้ารหัส[45]ซึ่งตั้งอยู่โดยหลักในซีกสมองหลักที่เชื่อมการกระทำกับกำเนิดของการกระทำ และการกระทำกับการแปลผลเป็นภาษาและความคิดที่ใช้ภาษานั่นก็คือ ระบบผู้กระทำหลักในสมองที่ไม่มีปัญหาอยู่ในซีกสมองหลักซึ่งมีการเชื่อมต่อกับระบบภาษามีการเสนอว่า แม้ว่าระบบสั่งการจะได้รับการพัฒนาก่อนระบบภาษาในช่วงพัฒนาการแต่ว่า ก็จะมีกระบวนการในช่วงพัฒนาการที่ระบบภาษาจะรับการเชื่อมต่อกับระบบสั่งการ เพื่อที่จะสร้างสมรรถภาพการเข้ารหัสความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำโดยใช้ภาษา

เมื่อมีการขาดการเชื่อมต่อกันอย่างสำคัญระหว่างซีกสมองทั้งสองข้างที่เกิดจากความเสียหายที่ corpus callosum[2]ระบบผู้กระทำในซีกสมองหลักที่เชื่อมต่อกับระบบภาษา ซึ่งยังสามารถควบคุมแขนขาที่ถนัดก็จะสูญเสียโดยระดับหนึ่งซึ่งความสามารถในการควบคุมโดยตรงและโดยอ้อมซึ่งผู้กระทำที่อยู่ในซีกสมองที่ไม่เป็นใหญ่ และซึ่งแขนขาที่ไม่ถนัดเป็นแขนขาที่ก่อนหน้านั้นตอบสนองและ "เชื่อฟัง" ผู้กระทำหลักดังนั้น การกระทำมีจุดมุ่งหมายที่เกิดขึ้นนอกเหนืออิทธิพลของผู้กระทำหลัก ก็สามารถเกิดขึ้นได้และสมมุติฐานพื้นฐาน (ที่สมองมีอยู่) ว่า มือทั้งสองนั้นมีการควบคุมโดยผู้กระทำหลัก ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องความรู้สึกว่าเป็นตน[36]ที่ปกติเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวของแขนขาที่ไม่ถนัด ก็จะไม่เกิดขึ้นในกรณีนี้ หรือว่า เกิดขึ้นแต่ไม่ปรากฏให้รับรู้ได้ดังนั้น คนไข้จึงต้องสร้างคำอธิบายใหม่ เพื่อที่จะเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ผู้กระทำในซีกสมองที่ไม่เป็นหลักสามารถที่จะก่อให้เกิดการทำงานในแขนขาที่ไม่ถนัด

ในกรณีเช่นนี้ ผู้กระทำที่แยกออกเป็นสองพวกสามารถควบคุมการกระทำที่เกิดขึ้นได้อย่างพร้อม ๆ กันในแขนขาทั้งสองข้างแต่กลับทำการมีจุดมุ่งหมายที่ตรงกันข้ามกันแม้ว่ามือที่ถนัดก็ยังมีความสืบเนื่องจากผู้กระทำหลัก ที่เชื่อมต่อกับระบบภาษา ที่สามารถจะเข้าถึง (คือรับรู้) ได้และที่ปรากฏว่า "ยังอยู่ใต้อำนาจจิตใจ" และยังเชื่อฟังต่อเจตนาความมุ่งหวัง คือยังสามารถควบคุมได้โดยความคิด

แต่ในขณะเดียวกัน มือที่ไม่ถนัดกลับได้รับการอำนวยการโดยผู้กระทำที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบภาษา ที่มีเจตนาความจงใจที่ผู้กระทำหลักสามารถรู้ได้โดยอ้อมหลังเหตุการณ์เท่านั้นคือมือนั้นขาดการเชื่อมต่อและไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้กระทำหลักอีกต่อไปและดังนั้น มือนั้นจึงได้รับการระบุจากผู้กระทำหลักที่เชื่อมต่อกับระบบภาษา ที่สามารถควบคุมได้ ว่ามีผู้กระทำต่างดาว (หรือผู้กระทำอื่น) อีกพวกหนึ่งที่เข้าถึงไม่ได้ และมีความเป็นไปแยกอยู่ออกต่างหาก

เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้ จึงสามารถอธิบายการเกิดขึ้นของพฤติกรรมต่างดาวในแขนขาที่ไม่ถนัด และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันระหว่างแขนขาทั้งสอง เมื่อมีความเสียหายต่อ corpus callosum[2]และอาการมือต่างดาวที่ต่าง ๆ กันที่เกิดจากความเสียหายในสมองกลีบหน้าส่วนหน้าด้านใน, และ/หรือในส่วนเชื่อมต่อของสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง และสมองกลีบท้ายทอย ส่วนหลังด้านข้าง สามารถอธิบายได้โดยความเสียหายในซีกสมองเฉพาะส่วนซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบผู้กระทำส่วนหน้า หรือส่วนหลัง โดยที่อาการต่าง ๆ ของมือต่างดาวที่สัมพันธ์กับความเสียหาย ที่เฉพาะเจาะจง ย่อมเกิดขึ้นที่แขนขาด้านตรงกันข้ามของซีกสมองที่มีความเสียหาย

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการมือแปลกปลอม http://www.demneuropsy.com.br/imageBank/PDF/dnv01n... http://jnnp.bmjjournals.com/cgi/content/full/68/1/... http://www.damninteresting.com/?p=203 http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true... http://health.howstuffworks.com/alien-hand2.htm http://science.howstuffworks.com/life/inside-the-m... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://emedicine.medscape.com/article/1136037-over... http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://bcn.sagepub.com/cgi/content/abstract/2/4/26...