ประเภทย่อย ของ กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

มีประเภทย่อย ๆ ที่แตกต่างกันหลายประเภทของอาการนี้ที่ปรากฏสัมพันธ์กับความบาดเจ็บของสมองส่วนต่าง ๆ

Corpus callosum

ความเสียหายต่อ corpus callosum[2] อาจจะก่อให้เกิดการกระทำมีเป้าหมายในมือที่ไม่ถนัดของคนไข้ คือ คนไข้ที่ถนัดขวามีสมองด้านซ้ายเป็นหลักก็จะประสบอาการนี้ในมือซ้าย และคนไข้ที่ถนัดซ้ายมีสมองด้านขวาเป็นหลักก็จะประสบอาการนี้ในมือขวา

ในประเภทย่อยนี้ มือต่างดาวของคนไข้ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อมือดีที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ อาการอื่นที่มักจะพบในคนไข้ประเภทย่อยนี้ก็คือ agonistic dyspraxia และ diagonistic dyspraxia

Agonistic dyspraxia มีอาการเป็นการเคลื่อนไหวอัตโนมัติอย่างบังคับไม่ได้ของมือหนึ่งเมื่อบอกให้คนไข้ทำการด้วยอีกมือหนึ่งตัวอย่างเช่น เมื่อบอกคนไข้ที่มี Corpus callosum เสียหายให้ดึงเก้าอี้มาข้างหน้า มือที่มีปัญหาก็จะผลักเก้าอี้ไปข้างหลังอย่างไม่ลังเลและบังคับไม่ได้[20]ดังนั้น Agonistic dyspraxia จึงมองได้ว่าเป็นการกระทำแข่งขันกันที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจจิตใจระหว่างมือสองมือมีเป้าหมายในการทำการงานที่ต้องการให้สำเร็จ โดยที่มือที่มีปัญหาแข่งกับมือที่ไม่มีปัญหาเพื่อทำงานมีจุดมุ่งหมายที่ตอนแรกตั้งใจให้มือที่ไม่มีปัญหาทำ

โดยเปรียบเทียบกันแล้ว Diagonistic dyspraxia เป็นการทำการขัดแย้งกันระหว่างมือที่ดีและมือที่มีปัญหาที่ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อจุดประสงค์ของการงานที่มุ่งหมายให้มือที่ไม่มีปัญหาทำตัวอย่างเช่น เมื่อคนไข้ได้รับการผ่าตัดที่ corpus callosum เพื่อที่จะลดระดับการชักเหตุโรคลมชัก มือต่างดาวข้างซ้ายของคนไข้คนหนึ่งมักจะทำการเป็นปฏิปักษ์กับมือขวาเช่น ในขณะที่กำลังจะพลิกหน้าหนังสือไปยังหน้าต่อไปด้วยมือขวา มือซ้ายก็พยายามที่จะปิดหนังสือ[21]

ในอีกกรณีหนึ่งของมือต่างดาวที่เกิดจาก corpus callosum คนไข้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ของมือทั้งสอง แต่ว่ามีปัญหาจากมือที่มีปัญหาเคลื่อนไหวเลียนแบบมือที่ดีอย่างไม่ได้ตั้งใจ[22] คือ เมื่อบอกคนไข้ให้เคลื่อนไหวมือข้างหนึ่งมืออีกข้างหนึ่งก็จะทำการเลียนแบบมืออีกข้างหนึ่งอย่างไม่มีเจตนา และเป็นไปอย่างนี้จนกระทั่งเตือนสติคนไข้ให้รับทราบถึงกิริยาของมือที่มีปัญหาแล้วให้คนไข้เลิกทำอาการเลียนแบบนั้นคนไข้คนนี้มีหลอดเลือดโป่งพองที่แตกออก (ruptured aneurysm) ใกล้กับหลอดเลือดแดง anterior cerebral artery ซึ่งมีผลให้มือซ้ายทำการเคลื่อนไหวเลียนแบบมือขวาคนไข้เล่าว่า มือซ้ายมักจะทำการเป็นปฏิปักษ์และเข้าไปควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างที่คนไข้พยายามจะทำด้วยมือขวายกตัวอย่างเช่น เมื่อพยายามที่จะจับแก้วน้ำด้วยมือขวาจากด้านขวา มือซ้ายก็จะยื่นออกไปจับแก้วจากด้านซ้าย

งานวิจัยเร็ว ๆ นี้ของเกชวินและคณะ[23]เล่ากรณีของหญิงคนหนึ่งที่มีโรคหัวใจจากหลอดเลือดแดงแข็ง (ICD-10 I25.1) ขั้นรุนแรงคือ ภายในอาทิตย์หนึ่งที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจแบบ bypass[24] เธอสังเกตว่า มือซ้ายของเธอเริ่มจะ "มีชีวิตของมันเอง"มือนั้นบางครั้งพยายามปลดกระดุมเสื้อของเธอ บางครั้งพยายามจะบีบคอเธอเมื่อกำลังนอนหลับ และจะทำการต่อสู้กับมือขวาในการตอบโทรศัพท์อย่างไม่มีเจตนาเธอต้องยับยั้งมือที่มีปัญหาด้วยมือขวาโดยใช้กำลังเพื่อป้องกันอันตรายนอกจากนั้นแล้ว มือซ้ายของเธอยังมีอาการ ideomotor apraxia[25] ที่รุนแรงอีกด้วยคือมันยังสามารถที่จะลอกเลียนแบบการกระทำอยู่แต่ต้องทำพร้อมกับมือขวาที่ทำการลอกเลียนแบบไปพร้อม ๆ กันโดยใช้เครื่อง MRI เกชวินและคณะพบความเสียหายที่ครึ่งหลังของ corpus callosum โดยเว้นครึ่งหน้าและ splenium และยื่นเข้าไปเล็กน้อยใน white matter ของ cingulate cortex ในสมองซีกขวา

สมองกลีบหน้า (สมองด้านหน้า)

ความเสียหายด้านใน (medial) ต่อสมองกลีบหน้าซีกเดียวอาจมีผลเป็นการยื่นมือ การจับ และการเคลื่อนไหวมีเป้าหมายอย่างอื่น ๆ ในมือด้านตรงข้ามถ้าเป็นความเสียหายส่วนหน้าด้านใน (anteromedial) ต่อสมองกลีบหน้า การเคลื่อนไหวมักจักเป็นแบบยื่นไปเพื่อสำรวจ โดยมักจะจับวัตถุภายนอกและใช้วัตถุนั้นตามกิจทั้ง ๆ ที่คนไข้ไม่มีความรู้สึกว่าตนเองกำลัง "ควบคุม" การเคลื่อนไหวนั้น ๆ[26] เมื่อจับวัตถุนี้ไว้ในมือแล้ว คนไข้ประเภทมีความเสียหายต่อ "สมองด้านหน้า" นี้ มักมีปัญหาในการปล่อยวัตถุจากมือและบางครั้งอาจจะใช้มืออีกข้างหนึ่งที่ควบคุมได้ในการดึงนิ้วของมือต่างดาวออกจากวัตถุเพื่อที่จะปล่อยวัตถุนั้น[27]นักวิชาการบางพวก (เช่นประสาทแพทย์ชาวนิวซีแลนด์ชื่อว่า เดเร็ก เด็นนี่-บราวน์) เรียกพฤติกรรมนี้ว่า magnetic apraxia (แปลว่า ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติแบบแม่เหล็ก)[28]

โกลด์เบอร์กและบลูม[29]กล่าวถึงหญิงผู้หนึ่งซึ่งมีเนื้อตายเหตุขาดเลือด (infarction) ขนาดใหญ่ด้านหน้าของผิวด้านใน (medial) ของสมองกลีบหน้าซีกซ้าย ที่มีผลเป็นมือต่างดาวข้างขวาคนไข้ไม่ปรากฏว่ามี corpus callosum ที่ขาดหรือที่เสียหายใด ๆคนไข้มี grasp reflex[18] บ่อย ๆ คือ มือขวาของเธอจะยื่นออกไปแล้วจับวัตถุโดยที่ไม่สามารถจะปล่อยคนไข้ยิ่งพยายามที่จะปล่อยมือเท่าไร มือก็จะจับแน่นขึ้นเท่านั้นแต่ด้วยความพยายามที่มีสมาธิ ในที่สุดคนไข้ก็จะสามารถปล่อยวัตถุนั้นได้ แต่ถ้าไม่ใส่ใจเมื่อไร พฤติกรรมอย่างนี้ก็จะเริ่มขึ้นอีกคนไข้จะปล่อยมือโดยดึงนิ้วของตนเองออกจากวัตถุด้วยมือที่ไม่มีปัญหาโดยใช้กำลังก็ยังได้นอกจากนั้นแล้ว มือที่มีปัญหาก็จะเกาขาของคนไข้จนกระทั่งว่าต้องใส่เครื่องป้องกันไม่ให้เกิดแผล[29] ส่วนคนไข้อีกคนหนึ่งไม่เพียงแจ้งถึงการจับสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ โดยไม่ปล่อย แต่ว่ามือต่างดาวนั้นก็ยังจับองคชาตของคนไข้แล้วเริ่มทำการให้สำเร็จความใคร่ต่อหน้าคนอื่น[30]

สมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย (สมองด้านหลัง)

ส่วนประเภทอีกอย่างหนึ่งของกลุ่มอาการมือต่างดาวมีความเกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อสมองกลีบข้างหรือ/และสมองกลีบท้ายทอย คือเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจาก "สมองด้านหลัง"อาการแบบนี้มักจะดึงฝ่ามือออกไม่ให้กระทบสัมผัสอะไรนาน ๆ มากกว่าที่จะยื่นออกไปจับวัตถุเพื่อจะให้เกิดการเร้าที่ฝ่ามือเหมือนในอาการที่เกิดจาก สมองด้านหน้าคือ ในกลุ่มอาการที่เกิดจากสมองด้านหน้า การกระทบสัมผัสที่ฝ่ามือหรือหน้านิ้วมีผลเป็นการงอนิ้วกำวัตถุโดยผ่านกระบวนการสัญญาณป้อนกลับเชิงบวก (คือ ตัวกระตุ้นก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริม เพิ่มกำลัง และทรงไว้ซึ่งสัญญาณกระตุ้นที่เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่ทีแรก)

ในนัยตรงกันข้าม ในอาการที่เกิดจากสมองด้านหลัง จะมีการหลีกเลี่ยงการกระทบสัมผัสที่ฝ่ามือหรือหน้านิ้วโดยการคลายนิ้วและถอนฝ่ามือออก เป็นกระบวนการสัญญาณป้อนกลับเชิงลบ(นั่นก็คือ ตัวกระตุ้นก็ดี หรือแม้แต่การคำนึงถึงตัวกระตุ้นก็ดี ที่ฝ่ามือ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวมือและนิ้วที่ลด ขัดขวาง และกำจัดตัวกระตุ้นที่เริ่มกระบวนการนั้นหรือ ในกรณีที่เป็นเพียงแต่การคำนึงถึงการกระทบที่ฝ่ามือหรือนิ้ว ก็จะลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการกระทบสัมผัสอย่างนั้น)

การเคลื่อนไหวต่างดาวในกลุ่มอาการที่เกิดจากสมองด้านหลังมักจะมีการประสานงานกันในระดับที่ต่ำกว่า และมักจะปรากฏการเคลื่อนไหวแบบไม่ละเมียดละไมที่กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานงานกันที่ปกติไม่พบในกลุ่มอาการที่เกิดจากสมองด้านหน้าเชื่อกันว่าอาการอย่างนี้เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) ที่เกี่ยวข้องกับการเห็นเนื่องจากว่า อาการจะเกิดขึ้นเพราะมีการเห็นวัตถุทางตาและมีการใส่ใจในวัตถุนั้นอาการเคลื่อนไหวที่ไม่ประสานกันอาจจะเกิดขึ้นเพราะการทำงานขัดแย้งกันระหว่างความโน้มเอียงในการหลีกเลี่ยงการกระทบสัมผัสวัตถุที่นำไปสู่การถอยออกจากวัตถุ และการจับตาที่วัตถุซึ่งมักจะนำไปสู่การเข้าไปหาวัตถุ

แขนขาต่างดาวที่เกิดจากสมองด้านหลังอาจมีอาการ "ลอยขึ้นไปในอากาศ" คือมีการดึงแขนขาออกจากการสัมผัสพื้นผิวของวัตถุโดยการใช้กล้ามเนื้อที่ต่อต้านแรงโน้มถ่วงและมือต่างดาวที่เกิดจากสมองด้านหลังอาจจะปรากฏท่าทางที่เป็นแบบอย่างอย่างหนึ่งคือ จะมีการยืดนิ้วทั้งหมดออกไปโดยมีการยืดข้อระหว่างนิ้ว (interphalangeal)[31] ออก, มีการยืดในระดับสูง (hyper-extension) ซึ่งข้อที่โคนนิ้ว (metacarpophalangeal) ออก,และมีการดึงฝ่ามือออกจากผิววัตถุต่าง ๆ ที่เข้ามาใกล้หรือดึงขึ้นมาไม่ให้กระทบกับผิวของพื้นถึงอย่างนั้น การเคลื่อนไหวแบบต่างดาวก็ยังปรากฏโดยมีเป้าหมาย ซึ่งเป็นอาการที่แยกกลุ่มอาการนี้จากการเคลื่อนไหวแขนขานอกอำนาจจิตใจอย่างอื่น ๆ เช่น athetosis[32], chorea[33], หรือกล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus[34])

ความคล้ายคลึงกันระหว่างอาการที่เกิดจากสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลัง

ในอาการที่เกิดจากทั้งสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลัง การตอบสนองของคนไข้ต่อการที่มือสามารถทำการงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นอิสระจากอำนาจจิตใจมีความคล้ายคลึงกันและในกรณีทั้งสองนั้น อาการมือต่างดาวเกิดขึ้นที่มือตรงข้ามกับซีกสมองที่มีความเสียหาย

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการมือแปลกปลอม http://www.demneuropsy.com.br/imageBank/PDF/dnv01n... http://jnnp.bmjjournals.com/cgi/content/full/68/1/... http://www.damninteresting.com/?p=203 http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true... http://health.howstuffworks.com/alien-hand2.htm http://science.howstuffworks.com/life/inside-the-m... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://emedicine.medscape.com/article/1136037-over... http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://bcn.sagepub.com/cgi/content/abstract/2/4/26...