อาการ ของ กลุ่มอาการมือแปลกปลอม

คนไข้ที่มีอาการมือต่างดาวยังมีความรู้สึกปกติในมือและขา แต่มีความเชื่อว่า ถึงแม้ว่ามือนั้นจะยังเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของตน แต่มีความประพฤติที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากความประพฤติปกติของตนคือ คนไข้สูญเสียความรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวมีเป้าหมายของมือนั้นเป็นของตน แม้ว่าจะยังรู้สึกว่ามือนั้นยังเป็นของตนอยู่และคนไข้รู้สึกว่า ตนไม่สามารถจะควบคุมการเคลื่อนไหวของมือต่างดาวได้ คือรู้สึกว่า มือนั้นสามารถทำการได้โดยตนเอง เป็นอิสระจากการควบคุมใต้อำนาจจิตใจของคนไข้ มือนั้นเหมือนกับว่า มีเจตนาความจงใจที่เป็นของตนเอง

"ความประพฤติต่างดาว" สามารถแยกได้จากรีเฟล็กซ์ (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางกายนอกอำนาจจิตใจ) คือความประพฤติต่างดาวนั้นสามารถมีเป้าหมายหลายหลาก แต่รีเฟล็กซ์เกิดขึ้นแบบเดียวเป็นแบบบังคับบางครั้ง คนไข้จะไม่รู้ว่ามือต่างดาวนั้นกำลังทำอะไรอยู่จนกระทั่งคนอื่นบอกคนไข้ หรือว่า จนกระทั่งมือนั้นทำอะไรที่เรียกร้องให้คนไข้สนใจพฤติกรรมของมือนั้นคนไข้มีความรู้สึกแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างพฤติกรรมของมือทั้งสอง คือคนไข้พิจารณามือที่มีปัญหาว่า "เอาแต่ใจ" และบางครั้ง "ดื้อ" และโดยทั่ว ๆ ไปไม่ได้อยู่ในอำนาจจิตใจ ในขณะที่มือที่ไม่มีปัญหาเป็นปกติเป็นมือที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจของตนบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่มีความเสียหายที่ไม่มีการฟื้นฟูใน corpus callosum[2] ที่เชื่อมต่อซีกสมองซ้ายขวา มือทั้งสองจะปรากฏว่า ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกัน

ประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า ฟราซัว เรอร์มิตต์ ได้พรรณนาถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกันที่คนไข้ไม่มีความยับยั้งใจในการใช้วัตถุต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว[10][11] คือ คนไข้ไม่สามารถระงับตนเองจากพฤติกรรมการใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวตามที่ของนั้นจะใช้ได้ (เช่นเมื่อคนไข้เห็นลูกบิดประตู ก็จะต้องบิดลูกบิดนั้นโดยที่ห้ามตนเองไม่ได้)

กลุ่มอาการนี้ ซึ่งเรียกว่า utilization behavior[12] มักเกิดขึ้นเมื่อคนไข้มีความเสียหายในสมองกลีบหน้าอย่างกว้างขวาง และอาจจะคิดได้ว่า เป็นกลุ่มอาการมือต่างดาวที่เกิดขึ้นทั้งในสองด้านของร่างกายคือคนไข้ถูกควบคุมพฤติกรรมอย่างไม่สามารถระงับใจได้โดยตัวแปรในสิ่งแวดล้อม (เช่นมีแปรงผมอยู่บนโต๊ะข้างหน้าทำให้คนไข้เริ่มแปรงผม) และไม่สามารถยับยั้งหรือห้ามโปรแกรมปฏิบัติการในสมองที่สัมพันธ์กับวัตถุภายนอกที่อยู่รอบ ๆ ตัวยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นในสมองกลีบหน้าทั้งสองซีก และเกิดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกคนไข้อาจสูญเสียความสามารถในการกระทำที่มีความตั้งใจที่เกิดขึ้นในตน และต้องอาศัยตัวแปรต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมอย่างสิ้นเชิงเพื่อที่จะช่วยนำการกระทำของคนไข้ในสังคมสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปซึ่งเป็นอาการที่เรียกว่า กลุ่มอาการต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Dependency Syndrome)[13]

เพื่อที่จะรับมือกับอาการมือต่างดาว คนไข้บางพวกจะเริ่มตั้งชื่อให้กับมือที่มีปัญหา[14] ชื่อเหล่านี้มักเป็นชื่อที่ไม่ดี จากชื่อย่อม ๆ เช่น "ไอ้ตัวทะลึ่ง" จนกระทั่งถึงชื่อที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปเช่น "ไอ้สัตว์ประหลาดจากดวงจันทร์"[15] ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยดูดี้และแจงโควิกพรรณนาถึงคนไข้คนหนึ่งซึ่งเรียกมือต่างดาวของเธอว่า "ทารกโจเซ็ฟ" เมื่อมือนั้นกระทำการแบบขี้เล่นแต่สร้างปัญหาเช่นบีบหัวเต้านมของเธอ (ซึ่งเหมือนกับทารกกัดนมแม่เมื่อกำลังดูดนม ดังนั้น เธอจึงเรียกมือของเธอด้วยชื่อนั้น) เธอก็จะรู้สึกขำและจะบอกทารกโจเซ็ฟว่า "หยุดซนนะ"[15] ส่วนนักวิจัยโบเก็นเสนอว่า บุคลิกภาพบางอย่างของคนไข้เช่น บุคลิกหรูหราที่มีสีสัน มักจะนำไปสู่การตั้งชื่อของมือที่มีปัญหานั้น[16]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการมือแปลกปลอม http://www.demneuropsy.com.br/imageBank/PDF/dnv01n... http://jnnp.bmjjournals.com/cgi/content/full/68/1/... http://www.damninteresting.com/?p=203 http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true... http://health.howstuffworks.com/alien-hand2.htm http://science.howstuffworks.com/life/inside-the-m... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://emedicine.medscape.com/article/1136037-over... http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://bcn.sagepub.com/cgi/content/abstract/2/4/26...