รถไฟทางไกล ของ การขนส่งระบบรางในประเทศไทย

รถไฟทางไกลในปัจจุบัน ให้บริการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

เส้นทางเดินรถ

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร เส้นทางหลักที่สำคัญ มีดังนี้

นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง - สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาชัย) หรือเรียกรวม ๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงรางที่สำคัญมาก ๆ ต่อการพัฒนารางคือ ขยาย ทางให้เป็นทางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้นลดเวลาการเดินทาง จุโบกี้สินค้าได้มากขึ้น จุผู้โดยสารได้มาก และประหยัดพลังงานมากขึ้นเนื่องจาก การขนส่ง เที่ยวหนึ่ง สามารถจุคนสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาปรับปรุงการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและดีขึ้นซึ่งปัจจุบันรางเดี่ยวไม่เหมาะที่จะขนส่งอีกต่อไป ซึ่งทางเดี่ยวจะเสียต้นทุนมาก โครงการที่สำคัญ ๆ ที่จะสร้าง คือ

  • ลพบุรี – ปากนำโพ: 118 กิโลเมตร
  • นครปฐม – หัวหิน: 165 กิโลเมตร
  • มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ: 132 กิโลเมตร
  • ชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น: 185 กิโลเมตร
  • ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร: 167 กิโลเมตร

รวมโครงการระยะแรก 767 กิโลเมตร

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ขณะทำขบวนนำเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ ผ่านสะพานถ้ำกระแซ, จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2541

ประเภทขบวนรถ

รถโดยสาร

ประเภทของขบวนรถโดยสารจะแตกต่างกันโดยจำนวนสถานีที่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร และชนิดของรถโดยสารที่ให้บริการ ดังตารางต่อไปนี้

ประเภทเลขขบวนจำนวนสถานีที่หยุดชั้น 1ชั้น 2ชั้น 3
นั่ง/นอน ป.นั่ง/นอน ป.นั่ง/นอนนั่ง ป.นั่งนั่ง
ด่วนพิเศษ1–50น้อยมีมี--มี[lower-alpha 1]มี[lower-alpha 1]
ด่วน51–100น้อยมี[lower-alpha 2]มีมีมี[lower-alpha 3]มีมี
เร็ว1xxปานกลาง-มีมีมี[lower-alpha 4]มีมี
ธรรมดา2xxเกือบทุกสถานี
(เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาค)
-----มี
ชานเมือง3xx[lower-alpha 5]เกือบทุกสถานี
(กรุงเทพฯ และปริมณฑล)
-----มี
ท้องถิ่น4xxเกือบทุกสถานี
(ภูมิภาค)
-----มี
นำเที่ยว/พิเศษ9xxขึ้นอยู่กับภารกิจของแต่ละขบวน

หมายเหตุ

  1. 1 2 เฉพาะรถด่วนพิเศษทักษิณที่ 37/38 กรุงเทพ – สุไหงโก-ลก – กรุงเทพ
  2. ยกเว้นรถด่วนที่ 51/52
  3. เฉพาะรถด่วนที่ 83/84, 85/86 และรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  4. เฉพาะรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ
  5. ยกเว้นรถชานเมือง ศาลายา – ธนบุรี – ศาลายา ใช้รหัส 47x

รถสินค้า

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 291 ขณะทำขบวนรถสินค้า บนทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง-กันตัง, จังหวัดนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2516

ขบวนรถสินค้า ประกอบด้วยรถสินค้าเท่านั้น ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าประเภทเหมาคันทั้งภายในประเทศ และเพื่อส่งออกประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟชายแดนอย่าง สุไหงโก-ลก และปาดังเบซาร์

ประเภทของขบวนรถสินค้า ได้แก่

รถจักรและรถดีเซลราง

อัลสธอม เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่มีจำนวนมากที่สุด โดยมีรุ่นย่อยทั้งหมด 4 รุ่น

ในปัจจุบัน รถจักรดีเซลไฟฟ้า ถือเป็นรถจักรที่มีส่วนช่วยในการทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้ามากที่สุด โดยรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้งานบ่อย ๆ ได้แก่ จีอี อัลสธอม (มี 4 รุ่นย่อย ได้แก่ เอแอลเอส เอเอชเค เอแอลดี และเอดีดี) ฮิตาชิ จีอีเอ และซีเอสอาร์ นอกจากนี้ยังมีรถจักรดีเซลไฮดรอลิก ซึ่งมีบทบาทในการทำขบวนรถโดยสารน้อยลงกว่าในอดีต แต่จะทำขบวนรถโดยสารหรือรถสินค้าในกรณีพิเศษ เช่น กรุปป์ทำขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารในช่วงอุทกภัย และเฮนเชล ทำขบวนรถบำรุงทางเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เป็นต้น

นอกจากรถจักรแล้ว ยังมีรถดีเซลราง ซึ่งมีทั้งห้องโดยสารและห้องขับภายในคันเดียวกัน โดยมีเครื่องยนต์อยู่ข้างใต้ ทำให้ขบวนรถออกตัวได้ดีกว่าการใช้รถจักรลาก รถดีเซลรางหลัก ๆ ที่ยังคงใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่

  • ฮิตาชิ ใช้ทำรถท้องถิ่นสายตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นรถเสริมให้กับรถด่วนดีเซลรางในช่วงเทศกาล
  • ทีเอชเอ็นและเอ็นเคเอฟ ใช้ทำรถธรรมดา รถชานเมือง รถท้องถิ่นสายเหนือ และรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เอทีอาร์ เป็นรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ไม่มีห้องขับ พ่วงในรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ รถเร็วที่ 105/106 รถนำเที่ยวน้ำตก/สวนสนประดิพัทธ์ และรถชานเมืองวงเวียนใหญ่–มหาชัย บางขบวน
  • สปรินเทอร์ ใช้ทำรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 3/4 ในสายเหนือ และรถเร็วที่ 997/998 ในสายตะวันออก
  • แดวู ใช้ทำรถด่วนพิเศษดีเซลรางในสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขนส่งระบบรางในประเทศไทย http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://travel.trueid.net/detail/83956 http://www.bts.co.th/corporate/th/01-about-history... http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx... https://wekorat.com/2017/04/04/korat-lrt-mass-tran... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Rail_t...