การป้องกัน ของ การคิดแบบติดกลุ่ม

ข้อมูลหรือความเห็นที่ได้จากบุคคลภายนอกอาจจะป้องกัน groupthink

งานศึกษาปี 1993 ระบุว่า ปรากฏการณ์ groupthink ดูเหมือนจะอาศัยข้อสมมุติบางอย่างที่ไม่ได้ระบุรวมทั้ง[22]

  • เป้าหมายของการมีกลุ่มแก้ปัญหา โดยหลักก็เพื่อเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ
  • การแก้ปัญหาของกลุ่มจัดว่าเป็นการใช้เหตุใช้ผล
  • ประโยชน์ของการแก้ปัญหาโดยกลุ่มก็คือ
    • มีทัศนะหลากหลาย
    • มีทางเลือกและข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกหลากหลาย
    • ได้การตัดสินใจที่ดีกว่า เชื่อถือได้มากกว่า
    • ลดอคติ
    • ผลดีที่ได้เกี่ยวเนื่องกับการอยู่ในสังคม
  • groupthink ขัดขวางประโยชน์เหล่านี้เพราะความบกพร่องทางโครงสร้างและสถานการณ์
  • การป้องกัน groupthink จะทำให้ได้การตัดสินใจที่ดีกว่า
  • ความรู้สึกว่ามีสวัสดิภาพที่เป็นภาพลวง สมมุติว่า ทำให้ทำกิจได้ไม่ดีโดยธรรมชาติ
  • ความกดดันในกลุ่มให้มีมติร่วมกัน สร้างนิสัยให้หาความเห็นตรงกัน

ดั้งเดิมเชื่อกันว่า กลุ่มที่ทำงานร่วมกันได้ดี จะสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคนคนเดียว เพราะกลุ่มมีทรัพยากรมากกว่า จึงทำให้ได้ข้อมูลดีกว่า และเห็นวิธีแก้ปัญหาได้หลายอย่างกว่า แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างคือ ใช้เวลาตัดสินใจนานกว่า และบุคคลต้องยอมกันและกันเพื่อให้ได้ข้อยุติ ต่อมางานวิจัยของแจนิสจึงแสดงว่า กลุ่มที่เหนียวแน่นกันมากอาจทำให้ตัดสินใจได้ไม่ดี

กลุ่มที่เหนียวแน่นอาจปรากฏว่าตัดสินใจได้ดีกว่า เพราะได้มติร่วมกันเร็วกว่าโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาก แต่ในระยะยาว กระบวนการตัดสินใจเช่นนี้อาจลดสมรรถภาพการคิดวิเคราะห์ของสมาชิกดังนั้น จึงอาจต้องป้องกันผลลบจาก groupthink[21]ตามแจนิส การมีกลุ่มตัดสินใจไม่ใช้หมายความว่าจะต้องเกิด groupthinkเขาได้ระบุวิธีป้องกันไว้คือ[11]: 209–215 

  • ผู้นำควรให้หน้าที่แก่สมาชิกแต่ละคนให้เป็น "ผู้ประเมินอย่างคิดวิเคราะห์" เพื่อให้สมาชิกสามารถขัดแย้งและตั้งข้อสงสัยได้อย่างเป็นอิสระ
  • ผู้นำไม่ควรระบุความเห็นของตนเมื่อให้งานกับกลุ่ม
  • ผู้นำไม่ควรเข้าประชุมทุกครั้ง เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลมากเกินไปกับการตัดสินใจหรือผลที่ได้
  • องค์กรสามารถมีกลุ่มอิสระหลายกลุ่มเพื่อหาวิธีแก้ปัญหา
  • ควรตรวจสอบการแก้ปัญหาที่เป็นทางเลือกและได้ผลทั้งหมด
  • สมาชิกแต่ละคนควรปรึกษาคนนอกกลุ่มที่ไว้ใจได้ในเรื่องแนวคิดของกลุ่ม
  • ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญนอกกลุ่มให้เข้าร่วมประชุม สมาชิกควรปรึกษาและถามคำถามต่อผู้เชี่ยวชาญนอกกลุ่มได้
  • สมาชิกอย่างน้อยคนหนึ่งควรจะได้หน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งควรจะเป็นคนละคนในการประชุมแต่ละครั้ง

เมื่อกลุ่มมีความคิดเห็นอย่างหนึ่ง ฝ่ายค้านควรจะมีจุดยืนที่ไม่เหมือนกัน โดยอาจเป็นจุดยืนทางเลือก นี่เป็นมุขในการอภิปราย เพื่อตรวจสอบแนวคิดโดยให้สมาชิกต้องให้เหตุผลที่มีมุมมองต่าง ๆ กัน ฝ่ายค้านควรจะตั้งคำถามและให้เหตุผลซึ่งไม่เหมือนกับสมาชิกโดยมาก เป็นการกันไม่ให้ตัดสินใจแบบ groupthink[23]งานศึกษาปี 2007 ยืนยันแล้วว่าเทคนิคนี้มีประโยชน์มากสำหรับกลุ่มแก้ปัญหา[24]เพราะใช้ความขัดแย้งให้เป็นประโยชน์ ได้ผลมากที่สุดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เพื่อสมาชิกจะได้ไม่ต้องกลับไปหาวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ ถ้าวิธีแรกใช้ไม่ได้ นักวิชาการของงานนี้ยังเสนอไปด้วยว่า วิธีนี้ควรใช้กับโมเดลกลุ่มแก้ปัญหาอื่น ๆ เพื่อสืบหาและประเมินวิธีการแก้ปัญหา แนวคิดหลักก็คือความขัดแย้งที่เป็นโครงสร้าง ไม่เพียงแต่ลดการเกิด groupthink เท่านั้น แต่ยังช่วยหาวิธีแก้ปัญหาอีกด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การคิดแบบติดกลุ่ม https://www.docsity.com/en/organisational-behaviou... https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/groupt... https://web.archive.org/web/20171019203019/https:/... https://web.archive.org/web/20190403033229/https:/... https://web.archive.org/web/20100401033524/http://... https://web.archive.org/web/20130618194044/http://... https://web.archive.org/web/20110409153959/http://... https://web.archive.org/web/20121018163559/http://... https://web.archive.org/web/20130618201511/http://... https://web.archive.org/web/20120707230400/http://...