คำอธิบาย ของ การคิดแบบติดกลุ่ม

groupthink มักระบุว่าเกิดกับกลุ่มปกติในสังคม เช่น อาจใช้แนวคิดนี้เพื่ออธิบายความคิดอ่านตลอดชีวิตที่กลุ่มมีต่าง ๆ กันในด้านการเมือง เช่นพวกอนุรักษนิยมและเสรีนิยม[7]อาจใช้อธิบายผลดีผลเสียของของการทำงานเป็นทีมเทียบกับเมื่อต่างคนต่างทำ[8]แต่จริง ๆ ความเห็นที่คล้อยตามกันในกลุ่มเหล่านี้ ก็ไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจที่ร่วมกันทำ ดังนั้น จึงอาจอธิบายด้วยปรากฏการณ์ความเอนเอียงเพื่อยืนยันโดยรวม ๆ ได้ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง]

นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน วิลเลียม ไวท์ บัญญัติคำภาษาอังกฤษนี้ขึ้นในปี 1952[9] ส่วนนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเยล เออร์วิง แจนิส เป็นผู้ทำงานวิจัยเบื้องต้นในเรื่องนี้[10]แล้วพิมพ์หนังสืออันทรงอิทธิพลในปี 1972 ซึ่งต่อมาปรับปรุงในปี 1982[11][12]แจนิสได้ใช้เหตุการณ์บุกรุกประเทศคิวบาที่ล้มเหลวของสหรัฐในปี 1961 คือ การบุกครองอ่าวหมู และการบุกโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของญี่ปุ่น เป็นกรณีศึกษาหลักสองกรณีต่อมางานศึกษาหลัง ๆ จึงได้ตรวจสอบแล้วปรับปรุงแนวคิดนี้ใหม่[13][14]

สภาวะ groupthink กดดันให้บุคคลเลี่ยงการขัดแย้งหรือวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ ดังนั้น จึงทำให้เสียความสร้างสรรค์ ความเป็นเอกลักษณ์ และความคิดอันเป็นอิสระของแต่ละบุคคลพลวัตกลุ่มที่ไม่ดีเพราะการมี "กลุ่มใน" ทำให้เชื่อผิด ๆ ว่าข้อตัดสินใจต้องถูกต้องแน่นอน (illusion of invulnerability)ดังนั้น "กลุ่มใน" ก็จะประเมินสมรรถภาพในการตัดสินใจของตนดีเกินไป โดยประเมินสมรรถภาพของอีกฝ่ายคือกลุ่มนอกแย่เกินไป อนึ่ง groupthink อาจทำให้ดูถูกกลุ่มนอกสมาชิกกลุ่มจะรู้สึกถูกกดดันจากคนรอบข้างให้ไปตามน้ำ เพราะกลัวจะชักใบให้เรือเสีย เพราะกลัวว่าเพื่อนจะเห็นตนในทางลบ ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มมักโน้มไปหาข้อตกลงที่ชัดเจนและลงรอยกัน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหา เพราะจะไม่มีนวัตกรรมหรือเหตุผลใหม่ ๆ เพื่อให้ได้นโยบายที่ดีกว่า ผลที่ดีกว่า หรือโครงสร้างรูปแบบที่ดีกว่า

วิธีการแก้ปัญหา groupthink ที่เคยใช้มาก่อนก็คือ ให้เลือกสมาชิกที่มีพื้นเพต่าง ๆ กัน อาจมีทั้งผู้ชายผู้หญิง groupthink อาจจัดว่าเป็นปัญหาต่อบริษัท ต่อองค์กร หรือต่อสภาพการทำงานต่าง ๆ เพราะผู้เป็นหัวหน้าปกติจะต้องคิดเองทำเองได้ โดยสมรรถภาพของผู้บริหารก็สัมพันธ์กับการตัดสินใจเองได้groupthink ยังเป็นอุปสรรคไม่ให้องค์กรก้าวหน้าหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ถ้าไม่มีใครออกความเห็นหรือเสนอสิ่งที่อาจทำต่างได้

ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม (group cohesiveness) โครงสร้างกลุ่มบกพร่อง และสถานการณ์ที่มีในกลุ่ม (เช่นความกลัวที่ระบาดในสังคม) มีส่วนตัดสินว่า groupthink จะมีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มหรือไม่

แหล่งที่มา

WikiPedia: การคิดแบบติดกลุ่ม https://www.docsity.com/en/organisational-behaviou... https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/groupt... https://web.archive.org/web/20171019203019/https:/... https://web.archive.org/web/20190403033229/https:/... https://web.archive.org/web/20100401033524/http://... https://web.archive.org/web/20130618194044/http://... https://web.archive.org/web/20110409153959/http://... https://web.archive.org/web/20121018163559/http://... https://web.archive.org/web/20130618201511/http://... https://web.archive.org/web/20120707230400/http://...