ประวัติ ของ การคิดแบบติดกลุ่ม

วิลเลียม ไวท์ (William Whyte) ปรับใช้คำนี้จากนิยายดิสโทเปีย คือ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ของจอร์จ ออร์เวลล์ ต่อมาจึงกลายเป็นคำนิยมหลังจากที่ตีพิมพ์บทความในนิตยสารฟอร์ชูน ปี 1952

เพราะ Groupthink เป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยต้องยอมรับว่าเป็นคำก่ออารมณ์ จึงควรจะมีคำนิยาม นี่ไม่ใช่เพียงความคล้อยตามกันตามสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องปกติของมนุษย์อยู่แล้ว แต่เป็นความคล้อยตามกันที่มีการแก้ต่างเป็นหลักปรัชญาอย่างโต้ง ๆ ว่า ค่านิยมของกลุ่มไม่เพียงแค่มีประโยชน์ แต่ยังถูกต้องและดีอีกด้วย[9][15]

ไวท์ระบุว่า groupthink เป็นปัญหาในการศึกษาและการบริหาร (และโดยปริยายมีผลต่อสหรัฐอเมริกา) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950ไวท์ตกใจว่า ทำไมพนักงานบริษัทจึงได้ยอมตนต่ออำนาจกดขี่ของกลุ่ม ซึ่งทำลายความเป็นเอกเทศและทำตนเป็นศัตรูกับอะไรทุกอย่างและทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับ ความเห็นส่วนรวม[16]

นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เออร์วิง แจนิส ที่มหาวิทยาลัยเยล เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับ groupthink เขาไม่ได้อ้างอิงไวท์ แต่ใช้คำบัญญัตินี้โดยเปรียบเทียบกับคำว่า doublethink ที่เป็นศัพท์เฉพาะในนวนิยาย หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เขานิยาม groupthink โดยดั้งเดิมไว้ดังนี้

ผมใช้คำว่า groupthink เป็นวิธีง่าย ๆ และรวดเร็วเพื่อระบุวิธีการคิดที่บุคคลใช้ เมื่อการหาความเห็นพ้องกันกลายเป็นปัจจัยเด่นในกลุ่มใน (ingroup) ที่เป็นปึกแผ่น จนมักจะล้มล้างการประเมินวิธีแก้ปัญหาอันเป็นทางเลือกที่สมกับสถานการณ์ groupthink เป็นศัพท์แบบเดียวกับหมู่คำ newspeak ที่จอร์จ ออร์เวลล์ได้ใช้อย่างน่ากลัวในโลกดิสโทเปียของนิยาย 1984 ในบริบทนั้น groupthink จึงมีอรรถในเชิงดูถูก ซึ่งก็ตั้งใจอย่างนั้นจริง ๆ เพราะหมายถึงการเสื่อมลงของประสิทธิภาพทางจิตใจ ของการตรวจสอบความจริง ของการตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดีทางศีลธรรม โดยเป็นผลของความกดดันของกลุ่ม[10]: 43 

เขายังระบุต่อไปอีกว่า

หลักของ groupthink ซึ่งผมให้ในนัยเดียวกับกฎของพาร์คินสัน ก็คือ "ยิ่งมีความเป็นมิตรและความรักหมู่คณะเท่าไหร่ในบรรดาสมาชิกกลุ่มผู้ออกนโยบาย ก็มีอันตรายยิ่งขึ้นเท่านั้นที่การคิดวิเคราะห์อันเป็นอิสระจะถูกแทนที่ด้วย groupthink ซึ่งน่าจะให้ผลเป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุผลหรือไม่ถูกมนุษยธรรมต่อกลุ่มนอก[10]: 44 

แจนิสได้ตั้งรากฐานการศึกษา groupthink ด้วยงานวิจัยในโปรเจ็กต์ American Soldier Project ที่เขาศึกษาผลของความเครียดสุดโต่งที่มีต่อความเป็นปึกแผ่นนของกลุ่มหลังจากงานศึกษานี้ เขาก็ยังคงความสนใจในวิธีการตัดสินใจของบุคคลเมื่อมีภัยภายนอก ซึ่งทำให้เข้าศึกษาสิ่งที่เขาจัดว่าเป็น "เรื่องหายนะ" ในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ เช่นความล้มเหลวในการคาดว่าเพิร์ลฮาร์เบอร์จะถูกโจมตี (1941)การพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการบุกครองอ่าวหมู (1961)และการดำเนินการในสงครามเวียดนาม (1964-67) ของประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสันเขาสรุปว่าในแต่ละกรณีเหล่านี้ groupthink เป็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถแสดงความเห็นต่าง แล้วประเมินความเห็นต่างเหล่านั้นได้

หลังจากการพิมพ์หนังสือ Victims of Groupthink ของแจนิสในปี 1972[11]และหนังสือฉบับปรับปรุงใหม่โดยใช้ชื่อ Groupthink: Psychological Studies of Policy Decisions and Fiascoes ในปี 1982[12]ก็มีการใช้แนวคิดนี้เพื่ออธิบายการการตัดสินใจที่บกพร่องอื่น ๆ ทางประวัติศาสตร์ เช่น การตัดสินใจของนาซีเยอรมนีเพื่อโจมตีบุกรุกสหภาพโซเวียตในปี 1941, คดีวอเตอร์เกต และอื่น ๆ แม้แนวคิดนี้จะได้ความนิยม แต่ก็มีงานศึกษาในเรื่องนี้น้อยกว่าสองโหลในระหว่างปี 1972-1998[4]: 107 ซึ่งน่าแปลกใจเพราะแนวคิดกระจายไปในสาขาต่าง ๆ รวมทั้ง การสื่อสาร รัฐศาสตร์ การจัดการ การศึกษาองค์การ จิตวิทยาสังคม ยุทธศาสตร์ การให้คำปรึกษา และการตลาด เพราะอาจเป็นไปได้ว่าศึกษาได้ยาก เพราะมีตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต่าง ๆ มากมาย จึงไม่ชัดเจนว่า "จะแปลทฤษฎีให้เป็นตัวแปรเชิงจำนวนซึ่งสามารถตรวจสอบได้อย่างไร"[4]: 107–108 อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานวิจัยทางจิตวิทยาและสังคมวิทยา สังคมทั่วไปก็ได้ประสบกับ groupthink ในสถานการณ์ที่มองเห็นได้อย่างเช่น

  • " [...] ผู้วิจารณ์ทวิตเตอร์ได้ชี้ความทรงอิทธิพลของความคิดกลุ่มในสื่อสังคมเช่นนี้ เป็น groupthink ที่กดทับความคิดเห็นอิสระโดยยกย่องความเข้ากับกลุ่มกับสังคมได้"[17]
  • "[...] ผู้นำมักมีความเชื่อซึ่งอยู่ไกลจากความจริงมาก โดยยังอาจสุดโต่งยิ่งขึ้นเมื่อได้การสนับสนุนจากสาวก เจ้าลัทธิจำนวนมากมักจะชอบใจแนวคิดที่เป็นนามธรรม คลุมเครือ และดังนั้น จึงค้านไม่ได้ ซึ่งอาจลดโอกาสการตรวจสอบความจริงลงไปอีก โดยเฉพาะเมื่อมีการควบคุมสมาชิกแบบ milieu control ของลัทธิ ซึ่งหมายความว่าความจริงโดยมากที่นำมาทดสอบได้ คนในกลุ่มเองจะเป็นคนชี้ความจริงนั้น นี่เห็นได้ในปรากฏการณ์ groupthink ซึ่งเชื่อว่าปรากฏอย่างฉาวโฉ่ในเหตุการณ์การบุกครองอ่าวหมู"[18]
  • "groupthink โดยบังคับ [...] groupthink อย่างน้อยยังหมายความว่าต้องอาสาสมัคร แต่ถ้านี้ไม่ได้ผล องค์กรอาจจะใช้วิธีข่มขู่แบบโต้ง ๆ [...] ใน [บริษัทโทรคมนาคมระดับชาติ] พนักงานใหม่ที่ไม่ยอมเชียร์ตามคำสั่งจะได้ผลลบที่ไม่ต่างกับเทคนิคการปลูกฝังความเชื่อและการล้างสมองที่พบในค่ายกูลักสมัยสหภาพโซเวียต[19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การคิดแบบติดกลุ่ม https://www.docsity.com/en/organisational-behaviou... https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/groupt... https://web.archive.org/web/20171019203019/https:/... https://web.archive.org/web/20190403033229/https:/... https://web.archive.org/web/20100401033524/http://... https://web.archive.org/web/20130618194044/http://... https://web.archive.org/web/20110409153959/http://... https://web.archive.org/web/20121018163559/http://... https://web.archive.org/web/20130618201511/http://... https://web.archive.org/web/20120707230400/http://...