กรณีศึกษา ของ การคิดแบบติดกลุ่ม

การเมืองและการทหาร

groupthink อาจมีผลมากกับการตัดสินใจทางการเมือง หรือกับยุทธการทางทหาร มีผลให้เสียทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากรอื่น ๆ อย่างใหญ่หลวง นักการเมืองและนายทหารที่เก่งและมีประสบการณ์มาก บางครั้งอาจจะตัดสินใจอย่างไม่ดีมาก ๆ เมื่ออยู่ในกลุ่มที่ไม่ดีนักวิชาการได้โทษ groupthink เนื่องกับความล้มเหลวทางการเมืองและทางทหารบางอย่างเช่น การบุกครองอ่าวหมู สงครามเวียดนาม และคดีวอเตอร์เกต[12][34]การศึกษาปี 2010 อ้างว่า groupthink เป็นเหตุโดยมากที่เปลี่ยนแนวคิดรัฐบาลกลางสหรัฐเกี่ยวกับ ซัดดัม ฮุสเซน จนเกิดการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546[35]เพราะหลังจากวินาศกรรม 11 กันยายน "ความตึงเครียด ผู้นำที่ยืนยันความเห็นของตน และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ" เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ก่อ groupthink[35]: 283 กรณีศึกษาทางการเมืองในเรื่อง groupthink แสดงผลของปัญหานี้ที่เป็นไปได้ในการเมืองปัจจุบัน

การบุกครองอ่าวหมูและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

การบุกครองอ่าวหมูของสหรัฐในเดือนเมษายน 1961 เป็นกรณีศึกษาหลักที่แจนิสใช้สร้างทฤษฎี groupthink[10]เป็นแผนการที่ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์เป็นผู้ริเริ่ม โดยรัฐบาลของเคนเนดีได้นำแผนการของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐนี้ไปใช้อย่างไม่คิดพิจารณา[10]: 44 เมื่อมีคนพยายามคัดค้านแผนการนี้ (เช่น Schlesinger และ Fulbright) ทีมของเคนเนดีโดยรวม ๆ ก็ไม่ใส่ใจข้อคัดค้านเหล่านี้ โดยดำรงความเชื่อมั่นในความถูกต้องของแผนการของตน[10]: 46 จนกระทั่งคนที่คัดค้านก็พยายามล้มเลิกความสงสัยของตน แล้วเซ็นเซอร์ตัวเองไม่กล่าวอะไร ๆ[10]: 74 ทีมของเคนเนดีเห็น ฟิเดล กัสโตร กับบริวารแบบเหมารวม โดยไม่ได้ตั้งข้อสงสัยกับข้อสมมุติผิด ๆ ของสำนักข่าวกรองกลาง เช่นว่ากองทัพอากาศคิวบาไม่มีประสิทธิภาพ ว่ากองทัพคิวบาอ่อนแอ และว่ากัสโตรไม่สามารถผจญกับกบฏได้[10]: 46 

แจนิสอ้างว่า ความล้มเหลวที่เกิดสามารถป้องกันได้ถ้ารัฐบาลเคนเนดีได้ใช้วิธีป้องกัน groupthink ดังที่ทำในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาซึ่งเกิดในปีต่อมา ในวิกฤตการณ์นี้ ผู้นำทางการเมืองก็ยังคนเดียวกัน แต่คราวนี้ได้ใช้บทเรียนในเรื่องการดูถูกศัตรูอย่างผิด ๆ[10]: 76 

เพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เป็นตัวอย่างหลักอย่างหนึ่งของปัญหา groupthinkปัจจัยต่าง ๆ เช่น การคิดผิด ๆ และการให้เหตุผลผิด ๆ ที่มีร่วมกัน ทำให้นายทหารกองทัพเรือสหรัฐในรัฐฮาวายไม่เตรียมการระมัดระวังไว้ก่อนถึงสหรัฐจะได้ดักฟังข้อความการสื่อสารของญี่ปุ่นแล้วพบว่าญี่ปุ่นกำลังเตรียมตัวโจมตีฐานทัพ "บางแห่ง" ในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยรัฐบาลกลางก็ได้เตือนนายทหารในเพิร์ลฮาร์เบอร์ด้วย แต่ก็ยังไม่สนใจคำเตือนเพราะเชื่อว่าญี่ปุ่นกำลังเตรียมตัวในกรณีที่กงสุลของตนในประเทศศัตรูถูกยึดครอง

กองทัพเรือและกองทัพบกสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์มีเหตุผลเหมือน ๆ กันว่า ทำไมโอกาสการถูกโจมตีจึงไม่มีรวมทั้ง[12]: 83, 85 

  • "พวกญี่ปุ่นไม่มีทางจะพยายามโจมตีทำลายฮาวายอย่างเต็มตัวโดยไม่คาดฝัน เพราะย่อมรู้ว่าจะก่อสงครามเต็มตัว ซึ่งสหรัฐย่อมชนะอย่างแน่นอน"
  • "กองทัพเรือแปซิฟิกซึ่งรวมทัพอยู่ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นเครื่องกีดขวางการโจมตีทางอากาศและทางนาวีตัวสำคัญ"
  • "ถึงแม้พวกญี่ปุ่นจะโง่แล้วส่งเรือบรรทุกอากาศยานมาโจมตีพวกเรา ก็จะมีเวลาพอตรวจพบและทำลายพวกมันได้"
  • "เรือรบที่ทอดสมอในน้ำตื้น ๆ ของเพิร์ลฮาร์เบอร์ไม่สามารถจมได้ด้วยตอร์ปิโดหรือระเบิดที่เครื่องบินศัตรูมาส่ง"

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

ในวันที่ 28 มกราคม 1986 สหรัฐได้ยิงกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญมากสำหรับองค์กรนาซา เพราะมีครูไฮสกูลคนหนึ่งรวมอยู่ในลูกเรือ เป็นพลเรือนสหรัฐคนแรกที่จะไปในอวกาศ ทีมวิศวะและทีมปล่อยกระสวยปกติจะทำงานเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกจะต้องยืนยันว่าระบบแต่ระบบกำลังทำงานเป็นปกติ แต่จริง ๆ วิศวกรของบริษัท Thiokol ซึ่งออกแบบและสร้างจรวดบูสเตอร์ของแชลเลนเจอร์ได้เตือนมาก่อนแล้วว่า อุณหภูมิของวันที่ส่งกระสวยอาจมีผลให้จรวดล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงโดยลูกเรือจะตายทั้งหมด[36]อย่างไรก็ดี ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ก็ได้เกิดขึ้น โดยทำให้ไม่มีการบินกระสวยอวกาศอีกเป็นเวลานานเกือบ 3 ปี

งานศึกษาปี 1991 ได้ตรวจสอบการเกิด groupthink ในเชิงปริมาณ แล้วพบว่ามีปัจจัยเบื้องต้นอย่างชัดเจนที่มีผลต่อการตัดสินใจการยิงกระสวยอวกาศ[37]การยิงกระสวยถูกเร่งรีบด้วยเหตุผลทางสื่อสัมพันธ์เพราะนาซาต้องการความสนใจการมีครูมัธยมปลายคือ คริสตา แมคออลิฟ เพื่อถ่ายทอดการสอนสด และการได้ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ให้พูดถึงในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา เป็นโอกาสที่นาซาเห็นว่าสำคัญยิ่งเพื่อเพิ่มความสนใจในโปรแกรมอวกาศสำหรับพลเรือนดังนั้น กำหนดการจึงเป็นสิ่งที่นาซาตั้งเองจึงประหลาดว่าองค์กรที่มีประวัติการบริหารจัดการที่ประสบผลสำเร็จกลับล็อกตัวเองกับแผนการที่ไม่มีทางทำได้[38]

โลกธุรกิจ

ในโลกธุรกิจ การตัดสินใจโดยกลุ่มที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ดีพอ อาจมีผลลบต่อบริษัทและทำให้ขาดทุนมาก

สวิสแอร์

งานศึกษาปี 2010 แสดงปัญหา groupthink ในการล่มของบริษัทสวิสแอร์ ซึ่งเป็นสายการบินของสวิตเซอร์แลนด์ที่เชื่อว่ามั่นคงทางการเงินจนกระทั่งได้ชื่อว่า "ธนาคารบินได้"[39]นักวิชาการอ้างว่าสวิสแอร์มีอาการสองอย่างของ groupthink คือความเชื่อว่าล้มเหลวไม่ได้ และความเชื่อในความถูกต้องของสิ่งที่ทำ[39]: 1056 อนึ่ง ก่อนจะเกิดความล้มเหลว คณะกรรมการบริษัทได้ถูกลดจำนวน เป็นการทิ้งความเชี่ยวชาญทางธุรกิจซึ่งอาจเพิ่มโอกาสการเกิด groupthink[39]: 1055 เพราะกรรมการบริษัทไม่เชี่ยวชาญในด้านสายการบิน มีพื้นเพประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน และมีค่านิยมธรรมเนียมประเพณีที่เหมือน ๆ กัน ดังนั้น ความกดดันเพื่อให้คล้อยตามกันอาจมีเพิ่มขึ้น[39]: 1057 ความคล้าย ๆ กันเช่นนี้เป็นปัจจัยเบื้องต้นของ groupthinkปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันอาจทำให้คณะกรรมการตัดสินใจได้ไม่ดีซึ่งในที่สุดก็ทำให้บริษัทล้มเหลว

มาร์กแอนด์สเปนเซอร์และบริติชแอร์เวย์

ตัวอย่างปัญหา groupthink ในโลกธุรกิจอื่น ๆ เป็นบริษัทสหราชอาณาจักรคือ มาร์กสแอนด์สเปนเซอร์และบริติชแอร์เวย์ซึ่งเกิดในช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อบริษัททั้งสองขยายตัวแบบโลกาภิวัตน์งานศึกษาปี 2000 ได้วิเคราะห์ข่าวแจกของบริษัททั้งสอง แล้วพบอาการทั้ง 8 อย่างของ groupthinkที่เด่นที่สุดก็คือความรู้สึกว่าตนล้มเหลวไม่ได้ บริษัททั้งสองล้วนแต่ดูถูกความล้มเหลวมากเกินไปเนื่องจากได้กำไรมาเป็นหลาย ๆ ปีแม้แต่ในตลาดที่มีปัญหาและจนกระทั่งประสบกับผลลบที่ได้จาก groupthink บริษัททั้งสองก็ได้จัดว่าเป็นบริษัทบลูชิปโดยได้ความนิยมมากในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแต่ในระหว่างปี 1998-1999 ราคาหุ้นของมาร์กแอนด์สเปนเซอร์ได้ตกลงจาก 590 จนเหลือน้อยกว่า 300 และของบริติชแอร์เวย์จาก 740 เหลือแค่ 300[40]

กีฬา

มีงานศึกษาเกี่ยวกับ groupthink นอกโลกธุรกิจและการเมืองเช่นในเรื่องกีฬา งานศึกษาปี 2003 ตรวจสอบเหตุการณ์ลาออกเป็นหมู่ของกรรมการเบสบอลของสมาคมอัมไพร์เมเจอร์ลีก (MLUA) ในปี 1999ที่ใช้เป็นการต่อรองกับเมเจอร์ลีกเบสบอล (MLB)[41]: 21 แต่ไม่ได้ผลเพราะเมเจอร์ลีกเบสบอลยอมรับการลาออกทั้งหมดแล้วนำกรรมการจากไมเนอร์ลีกมาแทนนักวิชาการพบอาการ 3 อย่างของ groupthink ในการตัดสินใจลาออก คือ 1) ประเมินอำนาจที่ตนมีเหนือลีกเบสบอลมากเกินไป และประเมินกำลังใจสู้ของสมาชิกมากเกินไป 2) สมาคมมีใจปิดโดยส่วนหนึ่งเพราะเห็น MLB เป็นศัตรู 3) สมาชิกของสมาคมเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะแม้จะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจแต่ก็ไม่พูดอะไร ๆ[41]: 25 ปัจจัยเหล่านี้รวมทั้งข้อบกพร่องอื่น ๆ ทำให้ตัดสินใจอย่างไม่ได้ผลและไม่สมบูรณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การคิดแบบติดกลุ่ม https://www.docsity.com/en/organisational-behaviou... https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/groupt... https://web.archive.org/web/20171019203019/https:/... https://web.archive.org/web/20190403033229/https:/... https://web.archive.org/web/20100401033524/http://... https://web.archive.org/web/20130618194044/http://... https://web.archive.org/web/20110409153959/http://... https://web.archive.org/web/20121018163559/http://... https://web.archive.org/web/20130618201511/http://... https://web.archive.org/web/20120707230400/http://...