การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง
การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง

การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง

การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง เป็นการระงับข้อพิพาททางดินแดนที่เกิดขึ้นระหว่างฮังการีและเชโกสโลวาเกียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1938 โดยบรรลุผลการไกล่เกลี่ยจากนาซีเยอรมนี ซึ่งการอนุญาโตตุลาการนี้เป็นการแก้ไขพรมแดนระหว่างฮังการีและเชโกสโลวาเกียตามบรรทัดฐานของการกระจายทางชาติพันธุ์ อันมีผลสืบเนื่องมาจากการลงนามในสนธิสัญญาทรียานง ค.ศ. 1920 ที่ทำให้ฮังการีสูญเสียดินแดนในอดีตประมาณ 70 % และส่งผลให้เกิดชนกลุ่มน้อยฮังการีในเชโกสโลวาเกียเป็นจำนวนมาก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง การอนุญาโตตุลาการนี้จึงถือเป็นโมฆะและฮังการีต้องส่งคืนดินแดนที่ได้มาจากคำตัดสินให้กับเชโกสโลวาเกียดังเดิมจากการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้รูทีเนียและดินแดนที่มีประชากรฮังการีอาศัยอยู่จำนวนมากถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกีย ชนกลุ่มน้อยรูซึนรู้สึกพึงพอใจต่อการอยู่ในรัฐเชโกสโลวาเกียใหม่ แม้ว่าพวกเขาต้องการจะปฏิรูปปกครองตนเอง แต่สำหรับชาวฮังการี พวกเขาต้องการกลับไปรวมกับประเทศแม่มากกว่า แม้ว่าสถานะทางเศรษฐกิจของพวกเขาจะดีขึ้นก็ตาม ประกอบกับนโยบายต่างประเทศของฮังการีในช่วงระหว่างสงครามที่เน้นการกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียไปวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาแวร์ซายเริ่มในช่วงปลายทศวรรษ 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความตึงเครียดระหว่างเชโกสโลวาเกียและเยอรมนีในเรื่องชนกลุ่มน้อยเยอรมันในเชโกสโลวาเกีย ทำให้รัฐบาลฮังการีเห็นถึงความหวังที่จะบรรลุการเปลี่ยนแปลงพรมแดนที่รอคอยมานาน อย่างไรก็ตาม ด้วยความกังวลว่าประเทศจะพึ่งพาเยอรมนีมากเกินไป และความอ่อนแอทางทหารของฮังการีเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประเทศจึงพยายามสร้างพันธมิตรทางเลือกกับโปแลนด์และอิตาลีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวความตกลงมิวนิกที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938 ยังคงไม่สามารถยุติข้อพิพาทระหว่างฮังการีและเชโกสโลวาเกีย แต่ด้วยการยืนยันจากมุสโสลินี จึงมีการรวมข้อปัญหาของชนกลุ่มน้อยชาวฮังการีและจัดให้ทั้งสองฝ่ายเจรจากันโดยไม่มีอำนาจแทรกแซงเป็นเวลาสามเดือน ซึ่ง การเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศมีขึ้นในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 แต่ไม่บรรลุผลสำเร็จ และในท้ายที่สุดทั้งสองประเทศได้ร้องขอการอนุญาโตตุลาการจากอิตาลีและเยอรมนี โดยได้รับการอนุมัติโดยปริยายจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสด้วย จากคำตัดสิน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ส่งผลให้ดินแดนทั้งหมด 11,000 ตารางกิโลเมตร และผู้คนราวหนึ่งล้านคนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวฮังการี ถูกส่งมอบให้แก่ฮังการี แม้ว่าจะไม่ได้ทุกเมืองที่ต้องการหรือทั้งหมดของรูทีเนียก็ตาม ดินแดนนี้ยังคงอยู่ในอำนาจของฮังการีตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เมื่อสิ้นสุดสงคราม คำชี้ขาดของการอนุญาโตตุลาการถูกยกเลิก ทำให้สโลวาเกียกลับสู่เชโกสโลวาเกียอีกครั้ง และรูทีเนียถูกรวมเข้ากับสหภาพโซเวียต

ใกล้เคียง

การอนุมาน การอนุรักษ์ทางทะเล การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สอง การอนุรักษ์นก การอนุรักษ์และบูรณะทรัพย์สินทางวัฒนธรรม การอนุมานแบบอุปนัย การอนุรักษ์ธรรมชาติ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่ง http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/0959229... //doi.org/10.1080%2F09592299908406126 http://www.jstor.org/stable/2495494 http://www.jstor.org/stable/40392004 http://www.jstor.org/stable/40866831 http://www.jstor.org/stable/41036397 http://id.worldcat.org/fast/1918049/ http://www.worldcat.org/oclc/51889 http://www.worldcat.org/oclc/744230 https://aleph.nkp.cz/F/?func=find-c&local_base=aut...