กฎการเคลื่อนที่ ของ การเคลื่อนที่_(ฟิสิกส์)

ดูบทความหลักที่: กลศาสตร์

ในวิชาฟิสิกส์อธิบายการเคลื่อนที่ผ่านกฎของกลศาสตร์สองชุดที่ดูขัดแย้งกัน การเคลื่อนที่ของวัตถุใหญ่และวัตถุที่คล้ายกันในเอกภพ (เช่น ขีปนาวุธ ดาวเคราะห์ เซลล์และมนุษย์) อธิบายด้วยกลศาสตร์ดั้งเดิม ขณะที่การเคลื่อนที่ของบรรจงวัตถุระดับอะตอมและอนุภาคย่อยของอะตอมถูกอธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัม

กลศาสตร์ดั่งเดิม

กลศาสตร์ดั้งเดิม
F → = m a → {\displaystyle {\vec {F}}=m{\vec {a}}}

กลศาสตร์ดั่งเดิมถูกใช้อธิบายการเคลื่อนที่วัตถุมหภาค ตั้งแต่ขีปนาวุธไปจนถึงชิ้นส่วนของเครื่องจักร เช่นเดียวกับวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ยานอวกาศ ดาวเคราะห์และกาแลคซี ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากในการอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุเหล่านี้ และเป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุด

กลศาสตร์ดั่งเดิมมีรากฐานมาจากกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎเหล้าอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่มากระทำต่อวัตถุกับการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น โดยการรวบรวมของไอแซก นิวตัน ในหนังสือ Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1687 โดยกฎการเคลื่อนที่มีดังนี้

กฎข้อที่หนึ่ง:ทุกวัตถุจะรักษาภวะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง เว้นแต่จะมีแรงมากระทำให้เปลี่ยนภาวะนั้นไป
กฎข้อที่สอง:ความเร่งของวัตถุจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่มากระทำ และมีทิศทางอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับแรงที่มากระทำนั้น
กฎข้อที่สาม:ทุกแรงกิริยาจะมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้ามกันเสมอ

กฎการเคลื่อนที่ทั้งสามข้อของนิวตันนี้ เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แรก สำหรับการทำความเข้าใจการโคจรของวัตถุในอวกาศ ซึ่งเป็นการอธิบายภาพรวมการเคลื่อนที่ของเทห์ฟ้าและการเคลื่อนที่ของวัตถุบนผิวโลก

กลศาสตร์ดั่งเดิมได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โดยสัมพัทธภาพพิเศษเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร็วสูงเข้าใกล้ความเร็วของแสง ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงในระดับลึก

เคลื่อนที่แบบสม่ำเสมอ

เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในทิศทางใด ๆ เป็นระยะ ๆ ปกติจะเรียกว่า "การเคลื่อนที่แบบสม่ำเสมอ" ตัวอย่างเช่นจักรยานเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงโดยมีความเร็วคงที่

สมการของเคลื่อนที่แบบสม่ำเสมอ

ถ้า v → {\displaystyle {\overrightarrow {v}}} คือ ความเร็วสุดท้าย u → {\displaystyle {\overrightarrow {u}}} คือ ความเร็วเริ่มต้น a → {\displaystyle {\overrightarrow {a}}} คือ ความเร่ง t {\displaystyle t} คือ เวลา s → {\displaystyle {\overrightarrow {s}}} คือ การกระจัด

v → = u → + a → t {\displaystyle {\overrightarrow {v}}={\overrightarrow {u}}+{\overrightarrow {a}}t} s → = u → t + 1 2 a → t 2 {\displaystyle {\overrightarrow {s}}={\overrightarrow {u}}t+{\frac {1}{2}}{\overrightarrow {a}}t^{2}} v 2 → = u 2 → + 2 a → s → {\displaystyle {\overrightarrow {v^{2}}}={\overrightarrow {u^{2}}}+2{\overrightarrow {a}}{\overrightarrow {s}}}

ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่นั้นหมายความว่าความเร็วเริ่มต้นเป็นศูนย์จะได้ว่า

v → = a → t {\displaystyle {\overrightarrow {v}}={\overrightarrow {a}}t} s → = 1 2 a → t 2 {\displaystyle {\overrightarrow {s}}={\frac {1}{2}}{\overrightarrow {a}}t^{2}} v 2 → = 2 a → s → {\displaystyle {\overrightarrow {v^{2}}}=2{\overrightarrow {a}}{\overrightarrow {s}}}

กลศาสตร์ควอนตัม

ดูบทความหลักที่: กลศาสตร์ควอนตัม

กลศาสตร์ควอนตัมคือชุดของหลักการที่อธิบายถึงความจริงทางกายภาพในระดับอะตอมของสสาร (โมเลกุลและอะตอม) และอนุภาคย่อยของอะตอม (อิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอนและแม้แต่อนุภาคมูลฐานที่เล็กกว่าเช่นควาร์ก) คำอธิบายเหล่านี้รวมถึงพฤติกรรมที่เหมือนคลื่นและเหมือนอนุภาคของทั้งสสารและการแผ่รังสีตามที่อธิบายไว้ในความเป็นทวิภาคของคลื่น–อนุภาค[ต้องการอ้างอิง]

ในกลศาสตร์ดั่งเดิม การวัดและการทำนายสถานะของวัตถุสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ เช่น ตำแหน่ง และ ความเร็ว ในกลศาสตร์ควอนตัมเนื่องจากหลักความไม่แน่นอน สถานะที่สมบูรณ์ของอนุภาคย่อย เช่น ตำแหน่งและความเร็วไม่สามารถกำหนดได้พร้อม ๆ กัน[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากการอธิบายการเคลื่อนที่ในระดับอะตอมแล้วกลศาสตร์ควอนตัมยังเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่มีขนาดใหญ่เช่น ของไหลยวดยิ่ง สภาพนำยวดยิ่ง และระบบชีวภาพรวมทั้งการทำงานของเซลล์รับกลิ่นและโครงสร้างของโปรตีน[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) การเคลื่อนที่แบบบราวน์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีที การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนย้ายเรลิก การเคลื่อนถอยของวิษุวัต การเคลื่อนไหวเอง การเคลื่อนลงตามความชัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเคลื่อนที่_(ฟิสิกส์) http://www.britannica.com/eb/article-9028448/cytop... http://www.colutron.com/download_files/chapt9.pdf http://hypertextbook.com/facts/1997/ZhenHuang.shtm... http://www.physlink.com/education/askexperts/ae118... http://www.colorado.edu/UCB/AcademicAffairs/ArtsSc... http://www.vivo.colostate.edu/hbooks/pathphys/dige... http://adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-bib_query?bi... http://www.rpi.edu/dept/bcbp/molbiochem/MBWeb/mb2/... http://www-odp.tamu.edu/publications/170_SR/chap_0... http://zebu.uoregon.edu/~imamura/123/lecture-2/mas...