สถาบันการเมือง ของ การเมืองเนเธอร์แลนด์

สถาบันการเมืองหลังของเนเธอร์แลนด์ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล นอกจากนี้ยังมีองค์กรอิสระของรัฐที่สำคัญเช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีอำนาจเกือบเทียบเท่ากับรัฐสภาในการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ และยังมีองค์กรบริหารระดับภูมิภาคอื่นๆอีกเช่น เทศบาล ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ และจังหวัด

รัฐสภาและรัฐบาล (พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน การออกกฎหมายจะต้องผ่านการปรึกษากับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนในในเรื่องการเมือง และคณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจ รัฐบาลมีอำนาจในการบริหาร แต่คณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจมีอำนาจในการแทรกแซงในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ส่วนระบบศาลนั้นแบ่งออกเป็นสองศาลหลัก ได้แก่ ศาลสูงสุดที่จะตัดสินคดีพลเมืองและคดีอาญา และศาลปกครองที่จะตัดสินคดีของข้าราชการ

สถาบันพระมหากษัตริย์

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปกครองในระบอบราชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1815 โดยราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศเนเธอร์แลนด์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มีองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรง คือ เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

รัฐธรรมนูญระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลและตรากฎหมาย กฎหมายทุกฉบับจะต้องได้รับการลงพระปรมาภิไทยจากพระองค์ พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นประธานของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในทางนิติบัญญัติทุกเรื่อง และยังทรงเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจเต็ม แต่พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันมักจะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมืองและทรงวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการจัดตั้งคณะรัฐบาลหลังการเลือกตั้งหรือในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีล้มเหลว นายกรัฐมนตรีต้องทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงยุบคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี

รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลเท่านั้นและทรงไม่แทรกแซงการตัดสินใจของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ในการตรากฎหมายและออกนโยบายต่างๆ มีการประชุมกันทุกวันศุกร์ที่อาคารบินเนินโฮฟในนครเดอะเฮก รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะประจำอยู่ที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 มีการยินยอมให้มีรัฐมนตรีที่ไม่สังกัดกระทรวงใดๆ นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

กระทรวงในคณะรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้แก่

รัฐสภา

รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร (สภาสองหรือ Tweede Kamer) และวุฒิสภา (สภาหนึ่งหรือ Eerste Kamer) ทั้งสองสภาประชุมกันที่บินเนินโฮฟ ในนครเดอะเฮก เพื่ออภิปรายข้อเสนอกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย ส่วนวุฒิสภามีอำนาจในการอภิปรายเห็นชอบหรือปฏิเสธข้อเสนอ โดยเนเธอร์แลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปีในระบบสัดส่วนตัวแทน ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง โดยประชาชนเป็นผู้เลือกตามชื่อที่ปรากฎในบัตรเลือกตั้ง หากผู้แทนราษฎรลาออก ตำแหน่งที่ว่างลงจะตกเป็นของพรรคที่อดีตผู้แทนคนนั้นสังกัด รัฐบาลผสมอาจจะถูกยุบเลิกได้ก่อนครบวาระ ซึ่งมักจะนำมาสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรก่อนถึงวาระและมีการจัดการเลือกตั้งใหม่

ส่วนสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมจากสมาชิสภาจังหวัด ที่มีการเลือกตั้งทุก 4 ปีเช่นกัน โดยสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในระบบพรรคการเมืองเช่นเดียวกัน ระบบนี้มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ที่แต่ละภูมิภาคจะส่งตัวแทนมาประชุมในสภากลางของประเทศ ปัจจุบัน วุฒิสภาเป็นดั่งองค์กรอาวุโสที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อกฎหมายโดยอิสระ ปราศจากแรงกดดันใดจากสังคมและสื่อ มีการประชุมหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

พรรคการเมือง

เนเธอร์แลนด์มีระบบการเมืองที่มีหลายพรรค เกิดจากการที่สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา(อาทิ คาทอลิก โปรเตสแตนท์) และความแตกต่างทางแนวคิดการเมือง(สังคมนิยมหรือเสรีนิยม) พรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันได้แก่

ระบบยุติธรรม

ระบบยุติธรรมของเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วยศาลเขต 11 แห่ง ศาลอุทธรณ์ 4 แห่ง ศาลปกครอง 3 แห่ง และศาลสูงสุด รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดชีพจนกว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 70 ปี

ใกล้เคียง

การเมืองไทย การเมือง การเมืองกัมพูชา การเมืองเบลเยียม การเมืองสเปน การเมืองฝ่ายขวา การเมืองเนเธอร์แลนด์ การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา การเมืองลิทัวเนีย การเมาเหตุเคลื่อนไหว