การเปิดใช้งานท่าอากาศยาน ของ ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศจะเปิดใช้งานท่าอากาศยานภายในปีดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 เมษายน มีกลุ่มผู้คัดค้านออกมาชุนนุมประท้วงประมาณ 17,500 คนในสวนสาธารณะซันริซูกะ[6] ส่งผลให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้คัดค้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายครั้ง แต่การก่อสร้างก็ยังดำเนินต่อไป จนการเปิดใช้งานท่าอากาศยานในส่วนรันเวย์แรกต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 แต่ก่อนที่จะเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 26 มีนาคม กลุ่มผู้คัดค้านได้เข้าบุกยึดบริเวณหอบังคับการบินของท่าอากาศยาน รวมทั้งได้ทำลายอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากจนต้องเลื่อนการเปิดใช้งานท่าอากาศยานไปอีก พร้อมกันนั้นได้มีการใช้มาตรการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยภายในท่าอากาศยานอย่างเข้มงวด จนในที่สุดสามารถเปิดใช้งานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แต่ในขณะนั้นก็ยังมีกลุ่มผู้คัดค้านตั้งรกรากอาศัยอยู่ภายในบริเวณท่าอากาศยานเป็นจำนวนมาก[9][15]

หลังจากการเปิดใช้งานท่าอากาศยาน ก็ยังมีกระแสคัดค้านเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้มีการต่อรองกันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้คัดค้านในเบื้องหลังอยู่หลายครั้ง แต่การต่อรองก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากมีข่าวรั่วไหลไปยังสื่อมวลชน ส่งผลให้เกิดการปราบปรามกลุ่มผู้คัดค้านการก่อสร้างอย่างรุนแรง[4][14] โดยเกิดเหตุโจมตีท่าอากาศยานแบบกองโจรถึง 511 ครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 จนถึงปี พ.ศ. 2560[16]

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)